Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78296
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีรภัทร วรรณฤมล-
dc.contributor.authorวรวีร์ ฉิมพลีย์en_US
dc.date.accessioned2023-07-04T00:44:04Z-
dc.date.available2023-07-04T00:44:04Z-
dc.date.issued2021-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78296-
dc.description.abstractThe aims of this study “Rebranding and Consumer Response on Brand Image of Chatramue and Srichand” were 1) to study rebranding of Cha Tra Mue and Srichand 2) to study brand response and consumption behavior of Cha Tra Mue and Srichand. The research methodology was divided in two parts which were 1) qualitative research by literature review to study Cha Tra Mue and Srichand rebranding 2) quantitative research by survey research using questionnaire to collect Cha Tra Mue and Srichand’s customer data. According to the qualitative research, the goal of Cha Tra Mue’s rebranding was creating new brand image awareness and getting more closer to customer. There were four parts of rebranding process 1) organizing exhibition desk to provide tasting, the beginning of the Cha Tra Mue’s brand revitalization 2) expanding new channels both delivery channel including GrabFood, Foodpanda, LineMan and shopee channel 3) launching new menus for each seasoning and new product on a regular basis to keep the brand image and allow customers to see the brand's evolution over time 4) packaging redesign, a crucial strategy to improve the brand image. Srichand rebranding communicated under the concept of “Quality is the real image”. The aim was being Thai product which make proud potential to Thai people and held in their hearts. As a result, this vision has been passed down to the organization's employees in order to expand it to the regional level. The qualitative study indicated that the sample group had the most responses to Cha Tra Mue perception as reputable and well-known brand. The sample group had the most responses to Srichand perception as new logo. Promotional activities (buy 1 get free 1 or discounted prices) were the most customer response contribute to the purchase decision on both of Cha Tra Mue and Srichand products. As a behavioral response, the majority of the sample group consumed Cha Tra Mue during the day due to its pleasant flavor, on average 2-3 times per week. On average, the sample group consumed Srichand 3-4 times per year. The spending ranged from 100 to 500 baht and 501 to 1,000 baht. The quality of Srichand products was the main reason for purchase decision. This research aimed to study the relationship between consumer behavioral responses, image perception, and attitude responses to Cha Tra Mue products. The response of consumer behavior in terms of reasons for consumption, frequency of consumption, and time of consumption, which was related to the perception of Cha Tra Mue’s brand image, was statistically significant at the 0.05 level. The consumer behavior response in terms of their recommendation to their close people, consumer motivation, frequency of consumption, and the reason for consumption was correlated to the Cha Tra Mue brand image's attitude response, statistically significant at the 0.05level. The relationship between consumer behavioral responses, image perception, and attitude responses to Srichand products was also studied. The response of consumer behavior in terms of reasons for consumption, frequency of consumption, and time of consumption, which was related to the perception of Srichand’s brand image, was statistically significant at the 0.05 level. The consumer behavior response in terms of their recommendation to their close people, consumer motivation, frequency of consumption, and the reason for consumption was correlated to the Srichand brand image's attitude response, statistically significant at the 0.05 level.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการปรับภาพลักษณ์และการตอบสนองของผู้บริโภคต่อตราสินค้าชาตรามือและศรีจันทร์en_US
dc.title.alternativeRebranding and consumer response on brand image of Chatramue and Srichanden_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมผู้บริโภค-
thailis.controlvocab.thashชา--การบริโภค-
thailis.controlvocab.thashชื่อตราผลิตภัณฑ์-
thailis.controlvocab.thashการสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์การสื่อสารทางการตลาด-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาวิจัยเรื่อง "การปรับภาพลักษณ์และการตอบสนองของผู้บริโภคต่อตราสินค้าชาตรามือและศรีจันทร์" มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการปรับภาพลักษณ์ของชาตรามือและศรีจันทร์ 2) เพื่อศึกษาการ ตอบสนองต่อตราสินค้ากับพฤติกรรมการบริโภคชาตรามือและศรีจันทร์ ซึ่งใช้วิธีการวิจัย 2 ส่วนคือ 1) การ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยทำการสืบค้นข้อมูลเพื่อศึกษาถึงการปรับภาพลักษณ์ ของชาตรามือและศรีจันทร์ 2) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยทำการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคของชาตรามือและศรีจันทร์ ผลวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ชาตรามือมีเป้าหมายในการปรับภาพลักษณ์คือสร้างการรับรู้ ภาพลักษณ์ใหม่ให้ดูทันสมัยใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากขึ้น โดยมีกระบวนการปรับภาพลักษณ์ 4 ส่วน ได้แก่ (1) จัดกิจกรรม ออกบูธชงชิม จุดนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของการ Revitalization ของแบรนด์ชาตรามือ (2) เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภคในส่วนของ Delivery ได้แก่ GrabFood Foodpanda และ LineMan และยังมีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ขายผ่านทาง Shopee (3) เพิ่มเมนูใหม่ในแต่ละ Seasoning การออกสินค้าใหม่เสมอ ๆ เพื่อให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ดูสดใหม่และผู้บริโภคได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของแบรนด์อยู่ตลอด (4) การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้ดูทันสมัย เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการปรับภาพลักษณ์ การปรับภาพลักษณ์ของศรีจันทร์ ศรีจันทร์ทำการสื่อสารภายใต้คอนเซ็ปต์ "Quality is the real image" คุณภาพคือภาพลักษณ์ที่แท้จริง หัวใจหลักของการปรับภาพลักษณ์คือมีจุดมุ่งหวังให้แบรนด์ศรีจันทร์เป็นแบรนด์ที่คนไทยภูมิใจในผลิตภัณฑ์ของไทยและอยู่ในใจคนไทย จึงทำให้ถ่ายทอดวิสัยทัศน์นี้ให้แก่คนขององค์กรเพื่อต่อยอดไปสู่ระดับภูมิภาค ผลวิจัยเชิงปริมาณพบว่า จากการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการตอบสนองด้านการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าชาตรามือมากที่สุดคือ ชาตรามือเป็นแบรนด์ชาที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก กลุ่มตัวอย่างมีการตอบสนองต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าศรีจันทร์มากที่สุดคือ ศรีจันทร์มีการปรับโลโก้ไหม่ กลุ่มตัวอย่างของศรีจันทร์และชาตรามือมีการตอบสนองทัศนคติของผู้บริโภคต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าศรีจันทร์และชาตรามือมากที่สุดคือ การจัดกิจกรรมการส่งเสริมการขาย (การมีโปรโมชั่น 1 แถม 1 หรือลดราคา) มีส่วนทำให้ตัดสินใจซื้อ การตอบสนองด้านพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความถี่ของการบริโภคชาตรามือโดยเฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ช่วงเวลาที่บริโภคชาตรามือในช่วงกลางวัน แรงจูงใจที่บริโภคชาตรามือด้วยตนเองเหตุผลที่บริโภคชาตรามือเพราะรสชาติถูกปาก และกลุ่มตัวอย่างบริโภคศรีจันทร์เฉลี่ยจำนวน 3-4 ครั้ง ในการเลือกซื้อสินค้าแบรนด์ศรีจันทร์ต่อปื จำนวนเงินในการซื้อสินค้าแบรนด์ศรีจันทร์ต่อครั้ง คือ 100-500 บาท และ 501-1,000 บาท เหตุผลที่เลือกซื้อสินค้าแบรนด์ศรีจันทร์เพราะคุณภาพของสินค้า ความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองด้านพฤติกรรมผู้บริโภคชาตรามือกับการตอบสนองด้านรับรู้ภาพลักษณ์และการตอบสนองด้านทัศนคติต่อตราสินค้าชาตรามือ การตอบสนองด้านพฤติกรรมผู้บริโภคในเรื่องของเหตุผลที่บริโภค ความถี่ในการบริโภค และช่วงเวลาที่บริโภคมีความสัมพันธ์กับการตอบสนองด้านรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าชาตรามือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการตอบสนองด้านพฤติกรรมบริโภคในเรื่องของความรู้สึกอยากบอกต่อกับคนใกล้ชิด แรงจูงใจบุคคลที่บริโภคชาตรามือ ความถี่ของการบริโภค และเหตุผลที่บริโภคมีความสัมพันธ์กับการตอบสนองด้านทัศนคติตราสินค้าชาตรามือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองด้านพฤติกรรมผู้บริโภคศรีจันทร์กับการตอบสนองด้านรับรู้ภาพลักษณ์และการตอบสนองด้านทัศนคติต่อตราสินค้าศรีจันทร์ การตอบสนองด้านพฤติกรรมผู้บริโภคในเรื่องของเหตุผลที่บริโภค ความถี่ในการบริโภค และช่วงเวลาที่บริโภคมีความสัมพันธ์กับการตอบสนองด้านรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าชาตรามือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการตอบสนองด้านพฤติกรรมผู้บริโภคในเรื่องของความรู้สึกอยากบอกต่อกับคนใกล้ชิด แรงจูงใจบุคคลที่บริโภคชาตรามือ ความถี่ของการบริโภค และเหตุผลที่บริโภคมีความสัมพันธ์กับการตอบสนองด้านทัศนคติตราสินค้าชาตรามือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en_US
Appears in Collections:MASSCOMM: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601832002 วรวีร์ ฉิมพลีย์.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.