Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78183
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชิดชนก เรือนก้อน-
dc.contributor.advisorหทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล-
dc.contributor.authorมัตติกา คุลีen_US
dc.date.accessioned2023-06-27T01:07:38Z-
dc.date.available2023-06-27T01:07:38Z-
dc.date.issued2022-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78183-
dc.description.abstractThis quasi-experimental research was designed to determine the effects of Self-efficacy and Social Support Enhancement Program by Pharmacists through Line Application (SSPLA) on antiretroviral adherence and patient satisfaction. The study samples were 34 HIV/AIDS patients with uncontrolled viral load who received antiretroviral drugs from the HIV/AIDS Clinic, Hua Hin Hospital. They were enrolled and were allocated by simple random sampling in to 2 groups,17 patients in study group individually received SSPLA for 8 weeks, and 17 patients in control group receiving usual care. The study measured medication adherence in the 1st,4th and 8th week by pill-count method and the Medication Taking Behavior in Thai (MTB-Thai) questionnaire. In addition, assess patient satisfaction in SSPLA outcomes by interview in the 8th week. Data were analyzed using descriptive statistics and inferential statistics. The study results revealed that the mean score of medication adherence when assessed by pill-count method and the MTB-Thai questionnaire in the study group at week 1 were 86.24±9.98 (out of 100) and 19.94±2.49 (out of 24), respectively, while those at week 4 were 93.12±4.01 and 22.06±1.52, respectively, and those at week 8 were 98.94±1.71 and 23.53±0.51, respectively, These two outcomes in study group were significantly higher than those of the control group at week 4 and at week 8 (P<0.05), 52.9% of patients receiving SSPLA had a high level of satisfaction. The study findings show that SSPLA developed in the study significantly increased antiretroviral medication adherence, and patients received SSPLA were highly satisfied with the intervention. Therefore, should be applied routine health service incorporated with SSPLA for HIV/AIDS patients to maximize the quality of care to this group of patients.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมโดยเภสัชกรผ่านไลน์แอพพลิเคชั่นต่อความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์ โรงพยาบาลหัวหินen_US
dc.title.alternativeEffects of the self-efficacy and social support enhancement program by pharmacists through Line Application on antiretroviral adherence in HIV / AIDS patients in Hua Hin Hospitalen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashโรคเอดส์ - - ผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashผู้ติดเชื้อเอชไอวี-
thailis.controlvocab.thashไลน์ (โปรแกรมคอมพิวเตอร์)-
thailis.controlvocab.thashเภสัชกร-
thailis.controlvocab.thashยาต้านไวรัส-
thailis.controlvocab.thashเอชไอวี (ไวรัส)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคม โดยเภสัชกรผ่านแอปพลิเศชั่นไลน์ (Self-efficacy and Social Support Enhancement Program through Line Application on Antiretroviral Adherence: SSPLA) ต่อความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัสและความพึงพอใจของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่มีต่อการเข้าร่วม SSPLA กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดเชื้อเอซไอวีเอดส์ที่ไม่สามารถควบคุมปริมาณไวรัสปริมาณไวรัสในเลือดได้ดี (viral load: VL> 50 copies/ml) ที่มารับยาต้านไวรัสจากคลินิกเอชไอวี/เอดส์ โรงพยาบาลหัวหิน จำนวน 34 ราย ตัวอย่างถูกสุ่มอย่างง่ายเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองได้รับ SSPLA แบบรายบุคคลเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ จำนวน 17 ราย และกลุ่มควบคุมได้รับบริการปกติของโรงพยาบาล จำนวน 17 ราย ประเมินความร่วมมือในการใช้ยา 3 ครั้ง ด้วยวิธีนับเม็ดยา และจากแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ยาสำหรับคนไทย (MTB-Thai) ในสัปดาห์ที่ 1,4 และ 8 ประเมินความพึงพอใจ โดยการสัมภาษณ์ในสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวร้สเมื่อประเมินด้วยวิธีนับเม็ดยาและแบบสอบถาม MTB-Thai ภายในกลุ่มทดลองสัปดาห์ที่ 1 เท่ากับ 86.24±9.98 (เต็ม 100) และ 19.94±2.49 (เต็ม 24) ตามลำดับ ในสัปดาห์ที่ 4 เท่ากับ 93.12±4.01 และ 22.06±1.52 ตามลำดับ และ สัปดาห์ที่ 8 เท่ากับ 98.94±1.71 และ 23.53±0.51 ตามลำตับ ตัวแปรทั้งสองในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 และในสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลอง ร้อยละ 52.9 มีคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับมากต่อ SSPLA การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า SSPLA ที่พัฒนาขึ้น สามารถเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัสได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจในระดับมากต่อ SSPLA จึงควรนำวิธีการนี้มาประยุกต์ใช้ในผู้คิดเชื้อเอชไอวีเอดส์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631031031 มัตติกา คุลี.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.