Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78051
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปฐมาวดี จงรักษ์-
dc.contributor.authorภัทราวดี วัฒนศัพท์en_US
dc.date.accessioned2023-06-15T00:49:45Z-
dc.date.available2023-06-15T00:49:45Z-
dc.date.issued2023-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78051-
dc.description.abstractThis research aims to 1) study building network pattern for Community - Based Tourism of 3 groups in the Wang Riverside Communities, Mueang District, Lampang Province. 2) study methods to maintain network for Community - Based Tourism of 3 groups in the Wang Riverside Communities, Mueang District, Lampang Province. 3) study ways to develop collaboration network of 3 groups in the Wang Riverside Communities, Mueang District, Lampang Province. This is qualitative research using a case study. The specific data is collected from 24 purposive samples who have duties relating to Community - Based Tourism of the Wang Riverside Communities, Mueang District, Lampang Province. It includes 3 community groups by the adjoining areas which are Ta Ma O community group, Baan Pong Sanuk community group and Kad Kong Ta community group. Moreover, the collecting data is separated into 3 groups which are 12 public sector informants, 10 government sector informants, and 2 private sector informants. The result shows that there are 2 overlapping patterns of building network for Community - Based Tourism of 3 groups in the Wang Riverside Communities, Mueang District, Lampang Province which are formal community network and Community - Based Tourism network. In terms of community network, all 3 groups in the Wang Riverside Communities have the same formal community network pattern according to Lampang City Municipality law.However, there are differences in terms of Community - Based Tourism network. Ta Ma O community, for example, is a Community – Based Tourism network which is concrete. Its main purpose is especially for tourism. Another 2 communities are just Community - Based Tourism network. For instance, Baan Pong Sanuk community group is a network for preservation. Their main purpose is for preserve Pong Sanuk temple. For Kad Kong Ta community group, it is a network for managing Kad Kong Ta walking street. Their main purpose is to manage Kad Kong Ta walking street. In addition, for local operation, they do not use academic methodology, but they use informal agreement. And main elements of all community network are local government organization (in this case is Lampang City Municipality) and community members. By the way, other elements contain different significance depending on each community’s contexts. At any rate, there are 2 models of network which are collaborative model and decentralized model. Furthermore, the result shows that 3 groups in the Wang Riverside Communities usually participate in many activities in order to maintain their relationships. They meet each other through traditional activities, religious activities, and cultural activities. They also maintain their relationships through a social media communication such as “Line Application”. They use different patterns of motivation for keeping members and getting new members. Moreover, all communities are mainly supported by local government organization. Nevertheless, they still encounter with a lack of new generation leader problem. However, there are 2 opinions about Network Development for Community - Based Tourism of the Wang Riverside Communities which are connectable and unconnectable between the groups. Apparent result illustrates that there are initial capitals which can connect all 3 groups which are nature capital and cultural capital despite their different working styles. They should organize a meeting to exchange an information, making benefit agreement, and making rules. Especially, they should participate in “Long Sapao Chao Lakorn (Loy Krathong)” event and held special tourism activities in circulating pattern. Government agency that involves should be a middleman to coordinate, monitor, and support.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการพัฒนาเครือข่ายการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนen_US
dc.subjectการสร้างเครือข่ายen_US
dc.subjectการรักษาเครือข่ายen_US
dc.subjectNetwork Development for Community - Based Tourismen_US
dc.subjectBuilding networken_US
dc.subjectMaintaining networken_US
dc.titleการพัฒนาเครือข่ายการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนริมแม่น้ำวัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativeNetwork development for community - based tourism of the Wang riverside communities, Mueang District, Lampang Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยวโดยชุมชน -- ลำปาง-
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน -- ลำปาง-
thailis.controlvocab.thashลำปาง -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการสร้างเครือข่ายการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของทั้ง 3 กลุ่มชุมชนในชุมชนริมแม่น้ำวัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 2) ศึกษาวิธีการรักษาเครือข่ายการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้คงอยู่ของทั้ง 3 กลุ่มชุมชนในชุมชนริมแม่น้ำวัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมกันของทั้ง 3 กลุ่มชุมชนในชุมชนริมแม่น้ำวัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีกรณีศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์ โดยเลือกบุคคลที่มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนริมแม่น้ำวัง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็น 3 กลุ่มชุมชนซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกัน ได้แก่ กลุ่มชุมชนท่ามะโอ กลุ่มชุมชนบ้าน ปงสนุก และกลุ่มชุมชนกาดกองต้า ทั้งนี้ผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น ภาครัฐ จำนวน 10 คน ภาคประชาชน จำนวน 12 คน และภาคเอกชน จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้น 24 คน ผลการศึกษา พบว่า เครือข่ายการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนริมแม่น้ำวัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีรูปแบบการสร้างเครือข่ายที่มีลักษณะการเกิดขึ้นใน 2 รูปแบบ ซึ่งมีความทับซ้อนกัน ได้แก่ การสร้างกลุ่มหรือเครือข่ายในรูปแบบของเครือข่ายคณะกรรมการชุมชนและเครือข่ายการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้งนี้ในแง่ของเครือข่ายคณะกรรมการชุมชนทั้ง 3 กลุ่มมีรูปแบบของเครือข่ายที่เหมือนกันโดยเป็นรูปแบบที่เป็นทางการซึ่งกำหนดโดยเทศบาลนครลำปาง แต่สำหรับเครือข่ายการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คือ กลุ่มชุมชนท่ามะโอมีรูปแบบเป็นเครือข่ายการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีความเป็นรูปธรรม มีเป้าหมายในการดำเนินงานเพื่อการท่องเที่ยวโดยตรง ส่วนอีก 2 กลุ่มชุมชนมีรูปแบบเป็นเพียงเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ กลุ่มชุมชนบ้านปงสนุกเป็นเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์ มีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์วัดปงสนุกเป็นหลัก และกลุ่มชุมชนกาดกองต้าเป็นเครือข่ายคณะกรรมการบริหารจัดการถนนคนเดินกาดกองต้า มีเป้าหมายเพื่อบริหารจัดการถนนคนเดินเป็นหลัก ซึ่งในการลงมือปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยวจะไม่ได้ใช้เครื่องมือทางวิชาการ แต่ใช้วิธีการตกลงร่วมกัน ซึ่งองค์ประกอบหลักภายในเครือข่ายจะประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกชุมชน โดยตัวแสดงอื่นจะมีความสำคัญต่างกันตามบริบทของแต่ละกลุ่มชุมชน ทั้งนี้ลักษณะของเครือข่ายมีทั้งลักษณะเป็นเครือข่ายร่วมปฏิบัติการและเครือข่ายภาคประชาสังคม นอกจากนี้ผลการศึกษา เรื่อง วิธีการรักษาเครือข่าย ฯ พบว่า ทั้ง 3 กลุ่มชุมชนมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน เพื่อรักษาความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในรูปแบบงานประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนกิจกรรมทางศาสนา และสื่อสังคมออนไลน์ “Line” โดยมีรูปแบบการสร้างแรงจูงใจให้กับสมาชิกที่แตกต่างกัน ซึ่งทุกเครือข่ายมีที่ปรึกษาและผู้สนับสนุนหลักคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ยังคงประสบปัญหาขาดการสร้างผู้นำรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันทั้ง 3 กลุ่มชุมชน อย่างไรก็ตาม แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมกันของทั้ง 3 กลุ่มชุมชน มีความคิดเห็นที่หลากหลายใน 2 แนวทาง คือ เชื่อมโยงกันได้และเชื่อมโยงกันไม่ได้ แต่ที่เห็นได้เด่นชัด คือ ทั้ง 3 กลุ่มชุมชนมีปัจจัยพื้นฐานซึ่งเป็นทุนประเดิม ได้แก่ ทุนธรรมชาติและทุนวัฒนธรรมที่สามารถร้อยเป็นเรื่องราวเชื่อมโยงกันได้ แม้ว่าแต่ละชุมชนจะมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน แต่ในการจะทำงานร่วมกันนั้น ควรมีเวทีสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ตกลงเรื่องผลประโยชน์ สร้างกฎกติกา และจัดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวร่วมกันซึ่งควรมีการเข้าร่วมกิจกรรมประเพณี “ล่องสะเปาจาวละกอน (ลอยกระทง)” ร่วมกับการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวอื่นร่วมกัน ซึ่งมีลักษณะหมุนเวียนกันจัดงาน โดยมีหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเป็นคนกลางในการประสานความร่วมมือ และเป็นพี่เลี้ยง ผู้สนับสนุนให้กับทางกลุ่มen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641932035-ภัทราวดี วัฒนศัพท์.pdfการพัฒนาเครือข่ายการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนริมแม่น้ำวัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง3.69 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.