Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77930
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพลิน ภู่จีนาพันธุ์-
dc.contributor.authorปณต เจ้ยจูen_US
dc.date.accessioned2022-12-18T03:51:28Z-
dc.date.available2022-12-18T03:51:28Z-
dc.date.issued2022-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77930-
dc.description.abstractThis research aims to present the role of community leaders or village headmen in managing diversity and inclusion in the Temporary Shelter for Displaced Persons from Myanmar in Ban Mae Lama Luang, Sop Moei Subdistrict, and Ban Mae La Oon, Mae Sam Lap Subdistrict, Sop Moei District, Mae Hong Son Province. Focuses on (1) studying and explaining the role of community leaders in the Temporary Shelter for Displaced Persons from Myanmar management in Ban Mae Lama Luang and Ban Mae La Oon, (2) studying the problems and obstacles affecting how the leaders manage the shelters’ area in Ban Mae Lama Luang and Ban Mae La Oon, and (3) presenting solutions to leaders in Ban Mae Lama Luang and Ban Mae La Oon, Sop Moei District, Mae Hong Son Province. The methodology of this study uses qualitative research studies by participatory observation and non-participatory observation. With the focus-group discussion interviews; a total of 20 informants in 5 groups, consisting of 4 village headmen, 1 civil servant under the Department of Provincial Administration, Ministry of Interior, 8 representatives of the people in 4 villages, and 3 representatives of international organizations and private charities; and descriptive analysis of data by a triangular data analysis method (Triangulation) The results indicated that the community leaders or village headmen played a crucial role; both formal and informal administration; in supporting the work of the administration and help solving various problems that occurred between the Thai civilian community and the Displaced Persons, by being middlemen communicating and seeking for mutual benefit between the two communities. This requires the village headmen in the related areas to have unique communication skills of solving problems in Karen language and ethnic, understanding human rights and humanitarian principles, in order to make both the community of Thai citizens and the Displaced Persons be able to live together happily. The problems and obstacles; affecting the role of the leaders in the shelters’ area management in Ban Mae Lama Luang and Ban Mae La Oon; are security issue and legal concern of forming a shelters’ committees to support the work of the village headmen. The solutions are (1) reducing the number of Displaced Persons fleeing the conflict, (2) encouraging The TBC (Thailand Burma Border Consortium) and other NGOs to support enough consumer goods to meet the requirements of the refugees, and (3) forming various committees to help community leaders or village headmen in communicating and resolving disputes.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectRole of community leaderen_US
dc.subjectManagement of diverse areasen_US
dc.subjectTemporary shelter for Displaced Personsen_US
dc.titleบทบาทของผู้ใหญ่บ้านในการบริหารจัดการพื้นที่ที่มีความหลากหลาย กรณีศึกษาพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยจากการสู้รบจาก ประเทศเมียนมา บ้านแม่ลามาหลวง ตำบลสบเมย และบ้านแม่ละอูน ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativeThe roles of the village headman in managing diverse areas : a case study of the temporary shelter for displaced persons from Myanmar Ban Mae La Ma Luang, Sop Moei subdistrict and Ban Mae La Oon, Mae Sam Lab subdistrict, Sop Moei district, Mae Hong Son provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashผู้ใหญ่บ้าน -- แม่ฮ่องสอน-
thailis.controlvocab.thashไทย -- พื้นที่-
thailis.controlvocab.thashผู้ลี้ภัย-
thailis.controlvocab.thashศูนย์อพยพ -- แม่ฮ่องสอน-
thailis.controlvocab.thashการจัดการที่อยู่อาศัย -- แม่ฮ่องสอน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทของผู้นำชุมชนหรือผู้ใหญ่บ้านในการบริหารจัดการพื้นที่ที่มีความหลากหลายการอยู่ร่วมกันของคนในพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบจากประเทศเมียนมา บ้านแม่ลามาหลวง ตำบลสบเมยและบ้านแม่ละอูน ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมุ่งเน้น 1. ศึกษาและอธิบายบทบาทของผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการพื้นที่พักพิงฯ บ้านแม่ลามาหลวงและบ้านแม่ละอูน 2. เพื่อศึกษา วิคราะห์ปัญหาอุปสรรค์ที่มีผลต่อบทบาทในการบริหารจัดการชุมชนของผู้นำในพื้นที่พักพิงฯ บ้านแม่ลามาหลวงและบ้านแม่ละอูน และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อผู้นำในการบริหารจัดการพื้นที่พักพิงฯ บ้านแม่ลามาหลวงและพื้นที่พักพิงฯ บ้านแม่ละอูน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้วยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participatory Observation) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participatory Observation) การสัมภาษณ์การอภิปรายกลุ่ม (Focus-group discussion) โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 5 กลุ่ม รวม 20 คน ประกอบไปด้วย ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 4 คน ข้าราชการสังกัด กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จำนวน 1 คน ตัวแทนประชาชน 4 หมู่บ้าน จำนวน 8 คน ตัวแทนองค์การระหว่างประเทศและองค์กรการกุศลเอกชน จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ผลการศึกษาพบว่าผู้นำชุมชนหรือผู้ใหญ่บ้านมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารจัดการทั้งในรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการสำหรับการสนับสนุนการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครอง และ ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างชุมชนราษฎรชาวไทยและผู้หนีภัยการสู้รบฯ และยังทำหน้าที่ประสานประโยชน์ร่วมระหว่าง 2 ชุมชน จึงทำให้ผู้ใหญ่บ้านที่มีพื้นที่คาบเกี่ยวกับพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ ซึ่งเป็นพื้นที่พิเศษนั้น ต้องมีคุณสมบัติทักษะที่มากกว่าหรือแตกต่างออกไปจากพื้นที่หมู่บ้านทั่วไป ทั้งทักษะในการพูดคุย การประสานงาน การรับฟังปัญหาต่าง ๆ ทักษะการสื่อสารภาษากะเหรี่ยงและมีชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ทักษะในการเข้าใจถึงหลักสิทธิมนุษยชนและหลักมนุษยธรรม เพื่อให้ชุมชนราษฎรชาวไทยและผู้หนีภัยการสู้รบฯ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข ในส่วนของปัญหาอุปสรรค์ที่มีผลต่อบทบาทในการบริหารจัดการชุมชนของผู้นำในพื้นที่พักพิงฯ บ้านแม่ลามาหลวงและบ้านแม่ละอูน คือ 1. ปัญหาด้านความมั่นคง 2. ปัญหาด้านระเบียบกฎหมายสำหรับการรวมกลุ่มจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อสนับสนุนการทำการทำงานของผู้ใหญ่บ้านกับพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ ในส่วนของแนวทางการแก้ไขปัญหา 1. การลดจำนวนของผู้หนีภัยการสู้รบฯ ด้วยการหาช่องทางเจรจากับประเทศที่ 3 ให้มากขึ้น 2. องค์กรการกุศลเอกชนองค์กร TBC (Thailand Burma Border Consortium) ควรสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอต่อความต้องการของผู้หนีภัยการสู้รบฯ 3. การแต่งตั้งคณะกรรมการด้านต่าง ๆ เข้าไปช่วยเหลือผู้นำชุมชนหรือผู้ใหญ่บ้าน ในการดำเนินการประสานงานและแก้ไขปัญหาข้อพิพาทต่าง ๆen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621932076 นายปณต เจ้ยจู.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.