Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77818
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุจ ศิริสัญลักษณ์-
dc.contributor.advisorจุฑาทิพย์ เฉลิมผล-
dc.contributor.advisorชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย-
dc.contributor.authorพัชรินทร์ พานทองen_US
dc.date.accessioned2022-11-05T08:28:53Z-
dc.date.available2022-11-05T08:28:53Z-
dc.date.issued2564-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77818-
dc.description.abstractThis study aimed at investigating the following issues: 1) to study some basic, personal, economic, social, physical and environmental and farming characteristics of farmers in Pang Ma pha District, Mae Hong Son Province, 2) to analyze the factors affecting farmers' decisions on integrated farming, and 3) to study problems, obstacles and recommendations of farmers in integrated farming. This research is a correlation research design. The sample used was farmers who attended the training transfer knowledge in the course integrated farming system. Under the project to promote the cessation of burning in agricultural areas in 2014 of 100 people. The data collection was carried by interviewing and data was analyzed using descriptive statistics, i.e. percentage, frequency, mean, minimum, maximum, standard, deviation, and weight mean score. Inferential statistics (Logistic Regression Analysis) was use to analyze factors affecting farmer's decision to practice integrated agriculture. The results revealed that 38 percent of the farmers have an age 31 - 40 years old with secondary school education. The total family income in the past year was an average of 147, 140.57 baht. In terms of expenses, it was found that farmers had family expenses in the past year an average of 85,484.08 baht. Farmers exchange agricultural information with other farmers on average 3.90 times per month and exchange agricultural information with agricultural scholars working in the area or consultation at the unit location, on average, 1.28 times per month. In the area of perception of information about integrated farming of farmers, it was found that 28.6 percent of farmers received agricultural information from academics and promoters, while 26 percent of farmers received support for inputs or funding for integrated farming. 68 percent of farmers do not record agricultural expenditures. It relies on how to remember and base on past experiences. From an analysis of logistic regression, it was found that there were 6 factors that were statistically significant to the decision of integrated farming among farmers. This including of the total family income in the past year, total family expenses in the past year, frequency of exchanging agricultural information with other farmers. Frequency of exchanging agricultural information with scholars, contribution of factors or funding from the public or private sectors and taking agricultural records. The positively correlated factors were Total family income in the past year Total family expenses in the past year Frequency of exchanging agricultural information with scholars. Contribution of factors or funding from the public or private sectors, and taking agricultural records. The negative correlation factors were frequency of exchanging agricultural information with other farmers. Problems and obstacles in making decisions on integrated farming, it was found that 34.11 percent of farmers had problems with water resources. In terms of recommendations for making decisions on integrated farming, it was found that 29.09 percent of farmers would like to have training, transfer knowledge, and study visits on integrated farming.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกร ในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativeFactors affecting farmer's decision to practice integrated agriculture in Pang Ma Pha District, Mae Hong Son Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashเกษตรกรรมแบบผสมผสาน-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกร -- ปางมะผ้า (แม่ฮ่องสอน)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานบางประการส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม กายภาพและสิ่งแวดล้อม และลักษณะการทำการเกษตรของเกษตรกรในอำเภอปางมะผ้า จังหวัด แม่ฮ่องสอน 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกร และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการทำเกษตรแบบผสมผสาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation research design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ เกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมถ่ายทอดความรู้ในหลักสูตร ระบบการทำเกษตรแบบผสมผสาน ภายให้ โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรปีงบประมาณ 2557 จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าต่ำสุด (Minimum) ค่าสูงสุด (Maximum) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weight Mean Score) และใช้ สถิติอ้างอิงในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกร โดยการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติค (Logistic Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรร้อยละ 38 มีอายุ 31-40 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ ปาช. มีรายได้รวมของครอบครัวในรอบปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 147,140.57 บาท ด้านรายจ่าย พบว่า เกษตรกรมีรายจ่ายของครอบครัวในรอบปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 85,484.08 บาท เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรกับเกษตรกรรายอื่น โดยเฉลี่ย 3.90 ครั้งต่อเดือน และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรกับนักวิชาการด้านการเกษตรที่เข้าไป ปฏิบัติงานในพื้นที่ หรือเข้าไปรับคำปรึกษายังที่ตั้งหน่วยงาน โดยเฉลี่ย 1.28 ครั้งต่อเดือน ในด้านการ รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรร้อยละ 28.6 ได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรจากนักวิชาการและเจ้าหน้าที่ส่งเสริม เกษตรกรร้อยละ 26 ได้รับการ สนับสนุนปัจจัยการผลิตหรือเงินทุนสำหรับดำเนินการทำเกษตรแบบผสมผสาน และเกษตรกรร้อยละ 68 ไม่มีการจดบันทึกรายรับรายจ่ายในการทำเกษตร อาศัยวิธีการจดจำและยึดตามประสบการณ์ความ เคยชินที่ผ่านมา จากการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติคพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับการตัดสินใจทำเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกร มี 6 ปัจจัย ได้แก่ รายได้รวมของครอบครัวใน รอบปีที่ผ่านมา รายจ่ายรวมของครอบครัวในรอบปีที่ผ่านมา ความถี่ในการแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสาร ด้านการเกษตรกับเกษตรกรรายอื่น ความถี่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรกับ นักวิชาการ การสนับสนุนปัจจัยหรือเงินทุนจากภาครัฐหรือเอกชน และการจดบันทึกการทำ เกษตรกรรม โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวก คือ รายได้รวมของครอบตรัวในรอบปีที่ผ่านมา รายจ่ายรวมของครอบครัวในรอบปีที่ผ่านมา ความถี่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตร กับนักวิชาการ การสนับสนุนปัจจัยหรือเงินทุนจากภาครัฐหรือเอกชน และการจดบันทึกการทำ เกษตรกรรม ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงลบถือ ความถี่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้าน การเกษตรเกษตรกรรายอื่น ปัญหา อุปสรรค ในการตัดสินใจทำเกษตรแบบผสมผสาน พบว่าเกษตรกรร้อยละ 34.11 มีปัญหาด้านแหล่งน้ำ ด้านข้อเสนอแนะในการตัดสินใจทำเกษตรแบบผสมผสาน พบว่า เกษตรกร ร้อยละ 29.09 ต้องการให้มีการอบรม ถ่ายทอดความรู้ และสึกษาดูงานเกี่ยวกับการทำเกษตร แบบผสมผสานen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600832007 พัชรินทร์ พานทอง.pdf4.57 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.