Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77788
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฑาทิพย์ เฉลิมผล-
dc.contributor.authorธนกฤต จันทรสมบัติen_US
dc.date.accessioned2022-11-05T06:31:30Z-
dc.date.available2022-11-05T06:31:30Z-
dc.date.issued2022-08-31-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77788-
dc.description.abstractThe objectives of this research were 1) to study the socioeconomic background of strawberry growers of the First Royal Factory (Fang) or FRF-Fang, Chang Mai Province, 2) to analyze factors affecting FRF-Fang strawberry grower membership retention, and 3) to recommend guidelines for retaining FRF-Fang strawberry grower membership. The research employed mixed methods research. Study samples consisted of 81 FRF-Fang strawberry growers, eight former FRF-Fang strawberry growers who resigned from their membership, and two strawberry growers who were not FRF-Fang members. The interview form was used as a tool for data collection. The data were analyzed using descriptive statistics, multiple regression, and quantitative data analysis. The results showed that 63% of strawberry farmers were female, an average age of 33.60 years old, and 95.10% had a marital status. Around half of the farmers (50.62%) completed primary school. They had 6.52 household members on average and an average of 2.67 household members as agricultural laborers. Most farmers (92.60%) did not employ strawberry production workers, and most (96.30%) had farming as a primary occupation. They earned an average income of 41,037.04 baht/per year from strawberry cultivation. Of this income, an average of 29,370.37 baht/year were gained from selling strawberry to FRF-Fang, and an average of12,986.11 baht/year were generated by selling strawberry themselves. In addition, farmers also earned income from selling other produce. For example, 60.49% of farmers gained an average income of 15,561.22 baht/year from lychee, while 55.56% of them had an average income of 23,553.33 baht/year from maize. Farmers' cost of strawberry cultivation was 18,185.19 baht/year on average. About half of the farmers (50.60%) had no household debt, and 66.70% used their own money to invest in strawberry cultivation. Farmers had household expenses of 4,858.02 baht/month on average. They had an agricultural area of 9.02 rai on average, with an average size of strawberry planting area of 0.66 rai. Farmers had an average strawberry cultivation experience of 4.91 years and had been FRF-Fang members for an average of 4.83 years. Many farmers (60.49%) joined FRF-Fang following an FRF-Fang agricultural extension officer's suggestion. Most farmers (87.65%) received information on strawberry production from an FRF-Fang agricultural extension officer. Farmers had a satisfaction of FRF-Fang at a high-level (x ̅= 3.97). They also agreed with various aspects of FRF-Fang operations and strawberry production (x ̅ = 3.83). It was found that the age of farmers, farmers' satisfaction with FRF-Fang, and farmers' opinions on FRF-Fang and strawberry cultivation significantly influenced FRF-Fang strawberry grower membership retention (p<0.05). To promote strawberry grower membership retention, FRF-Fang should simplify its strawberry cultivation system by focusing on reducing labor-intensive production; for example, use of a tractor for plowing and bed preparation and a drone for fertilizer and agrochemical spraying. It should also improve its extension system and policies to meet farmers' expectations to create satisfaction and a positive attitude. In addition, FRF-Fang should identify ways to reduce the costs of strawberry production.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการคงสมาชิกภาพผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีของ โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors affecting retention of strawberry grower membership of the First Royal Factory (Fang), Chiang Mai provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashเกษตรกร -- ฝาง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashสตรอว์เบอร์รี -- ฝาง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashสตรอว์เบอร์รี -- การปลูก -- ฝาง (เชียงใหม่)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมบางประการของผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รี โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการคงสมาชิกภาพผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รี โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่ 3) เสนอแนวทางในการส่งเสริมการคงสมาชิกภาพผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รี โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีในระบบส่งเสริมของโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) จำนวน 81 คน กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกในระบบส่งเสริมของโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) จำนวน 8 คน และกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกในระบบส่งเสริมของโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) จำนวน 2 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรร้อยละ 63 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 33.60 ปี เกษตรกรร้อยละ 95.10 มีสถานภาพสมรส เกษตรกรร้อยละ 50.62 จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา เกษตรกรมีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 6.52 คน มีแรงงานภาคเกษตรกรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.67 คน เกษตรกรร้อยละ 92.60 ไม่มีการจ้างแรงงานเพิ่มเพื่อช่วยผลิตสตรอว์เบอร์รี เกษตรกรร้อยละ 96.30 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีรายได้จากการปลูกสตรอว์เบอร์รีเฉลี่ย 41,037.04 บาท/ปี แบ่งเป็นรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตสตรอว์เบอร์รีให้กับโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) เฉลี่ย 29,370.37 บาท/ปี รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตสตรอว์เบอร์รีด้วยตนเองเฉลี่ย 12,986.11 บาท/ปี นอกจากนี้เกษตรกรยังมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตพืชชนิดอื่น เช่น ส้มเฉลี่ย 93,333.33 บาท/ปี และข้าวโพดเฉลี่ย 23,553.33 บาท/ปี เกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตสตรอว์เบอร์รีเฉลี่ย 18,185.19 บาท/ปี เกษตรกรร้อยละ 50.60 ไม่มีหนี้สินในครัวเรือน เกษตรกรร้อยละ 66.70 ใช้เงินของตนเองในการลงทุนผลิต สตรอว์เบอร์รี เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 4,858.02 บาท/เดือน มีจำนวนพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 9.02 ไร่ จำนวนพื้นที่ปลูกสตรอว์เบอร์รีเฉลี่ย 0.66 ไร่ มีประสบการณ์ในการปลูกสตรอว์เบอร์รีเฉลี่ย 4.91 ปี เป็นสมาชิกในระบบส่งเสริมของโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) เฉลี่ย 4.83 ปี เกษตรกรร้อยละ 61.73 ตัดสินใจเข้าร่วมในระบบส่งเสริมของโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) เนื่องจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) แนะนำ และเกษตรกรร้อยละ 87.65 ได้รับแหล่งข้อมูลในการผลิตสตรอว์เบอร์รีจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) ในระดับมาก (x ̅ = 3.97) และมีความคิดเห็นต่อโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) และการปลูก สตรอว์เบอร์รีในระดับเห็นด้วย (x ̅ = 3.83) ทั้งนี้พบว่า อายุของเกษตรกร ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) และความคิดเห็นของเกษตรกรต่อโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) และการปลูกสตรอว์เบอร์รี มีผลต่อการคงสมาชิกภาพผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการคงสมาชิกภาพเกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รี โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) ควรปรับปรุงระบบการผลิตสตรอว์เบอร์รีให้ง่ายขึ้น โดยมุ่งเน้นลดการใช้แรงงานในแปลงปลูกเช่น การใช้รถไถพรวนดิน การใช้รถไถยกแปลงปลูก การใช้โดรนในการฉีดพ่นปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตร เป็นต้น ปรับปรุงระบบการส่งเสริมและนโยบายบริษัทให้มีความทันสมัยตรงกับความต้องการของเกษตรกร เพื่อสร้างความพึงพอใจและทัศนคติที่ดีให้กับสมาชิกรวมถึงหาแนวทางลดต้นทุนในการผลิตสตรอว์เบอร์รีen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630832003_ธนกฤต จันทรสมบัติ.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.