Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77768
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทวรรณ กิติกรรณากรณ์-
dc.contributor.authorณิชากร พิริยะชนานุสรณ์en_US
dc.date.accessioned2022-10-31T09:49:55Z-
dc.date.available2022-10-31T09:49:55Z-
dc.date.issued2022-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77768-
dc.description.abstractThis action research aimed to improve and evaluate medication reconciliation (MR) at orthopedic wards of a tertiary care hospital using document review to analyze the problems within MR system. An in-depth group discussion among 11 multidisciplinary health personnel involving MR process was set up to determine how to improve the system, and to set indicators and goals. This led to the preparation of operating tools and guidelines for MR. The study evaluated results of MR in patients with chronic non-communicable diseases admitted to orthopedic wards after system improvement (April-June 2022). The MR process in the old system lacked adequate communication, and no establishment of criteria and specific function of each multidisciplinary team members. Existing performance indicator on drug related problems cannot be used to prevent medication errors (ME) when patients were transferred. This required the reformation of collecting medication history by pharmacist, the indication of drug allergy history using the color of prescription, the use of reminder sticker for drug review, monitoring and recording of MR results in pharmacist’s note and electronic database. From 184 hospital visits After improving the MR system, 162 visits (88.0%) underwent MR within 24 hours after admission and 179 (97.3%) underwent MR at hospital discharge, which was greater than the target (80%). The problems on insufficient amount of drugs for use up to next visit were corrected in all hospital visits. The study found a discrepancy between newly prescribed medicines and those currently taking by the patients in 17.1% and 6.2% of the number of prescription drugs prescribed while hospitalized during hospital admission and discharge, respectively. 27.4% of discrepancies, considered as ME, were unintended by physicians and could not be explained by clinical reasons. MEs were identified in 20.1% of hospital visits. The most common ME was patients not receiving medication they were taking. The majority of ME severity was B. Physicians accepted by 88.6% of the recommendations from pharmacists to prevent or reduce ME. This study shows that improving the MR system by enhancing inter-professional communication, streamlining operating procedures and the development of operational tools led to the identification of MEs caused by medication discrepancies, helped prevent drug related problems and enabled patients to receive continuous care.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectmedication reconciliationen_US
dc.subjectmedication discrepanciesen_US
dc.subjectmedication errorsen_US
dc.subjectinter-professional communicationen_US
dc.subjectการประสานรายการยาen_US
dc.subjectความแตกต่างของรายการยาen_US
dc.subjectความคลาดเคลื่อนทางยาen_US
dc.subjectการสื่อสารระหว่างวิชาชีพen_US
dc.titleการปรับปรุงและประเมินผลระบบงานประสานรายการยา ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งen_US
dc.title.alternativeImprovement and evaluation of medication reconciliation system at orthopedic wards in a tertiary care hospitalen_US
dc.title.alternativeการปรับปรุงและประเมินผลระบบงานประสานรายการยา ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashความคลาดเคลื่อนทางยา-
thailis.controlvocab.thashยา-
thailis.controlvocab.thashเภสัชกรรม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงและประเมินผลระบบงานประสานรายการยา (Medication reconciliation; MR) ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ด้วยการทบทวนเอกสารเพื่อวิเคราะห์ปัญหาของระบบงาน MR และการสนทนากลุ่มเชิงลึกในกลุ่มสหวิชาชีพผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการ MR 11 ราย เพื่อหาแนวทางปรับปรุงระบบ กำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายการดำเนินงาน ซึ่งนำไปสู่การจัดทำเครื่องมือปฏิบัติงานและ แนวปฏิบัติของการทำ MR การศึกษาประเมินผลการทำ MR ในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกหลังปรับปรุงระบบ (เมษายน-มิถุนายน พ.ศ.2565) ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการ MR ในระบบเดิมขาดการสื่อสารที่เพียงพอ ยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์และหน้าที่ในทีมสหวิชาชีพ และตัวชี้วัดในการดำเนินงาน คือ ปัญหาจากการใช้ยา ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้เพื่อป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา (medication error: ME) เมื่อมีการส่งต่อการรักษาได้ ทำให้ต้องปรับปรุงระบบ MR ด้วยการปรับขั้นตอนการสืบค้นประวัติยาเดิมของเภสัชกร การใช้ใบสั่งยาแยกสีตามประวัติแพ้ยา การใช้สติ๊กเกอร์แจ้งเตือนให้มีการทบทวนยา การติดตามและบันทึกผล MR ด้วยแบบบันทึกของเภสัชกรและฐานข้อมูลสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ หลังปรับปรุงระบบ MR พบว่า จากการเข้ารักษาในโรงพยาบาลทั้งหมด 184 ครั้ง มีผู้ป่วยได้รับการเปรียบเทียบรายการยาภายใน 24 ชั่วโมงแรกรับ 162 ครั้ง (ร้อยละ 88.0) และขณะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล 179 ครั้ง (ร้อยละ 97.3) ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่กำหนด (ร้อยละ 80) ผู้ป่วยได้รับการแก้ไขปัญหายาไม่เพียงพอถึงวันนัดทุกครั้ง พบความแตกต่างของจำนวนรายการยาที่แพทย์สั่งจ่ายใหม่เทียบกับจำนวนรายการยาเดิมของผู้ป่วยในขณะแรกรับร้อยละ 17.1 และขณะจำหน่ายร้อยละ 6.2 ของจำนวนรายการยาที่สั่งจ่ายขณะรักษาในโรงพยาบาลทั้งหมด ความแตกต่างฯ ที่พบร้อยละ 27.4 เกิดจากความไม่ได้ตั้งใจของแพทย์ในการสั่งจ่ายรายการยาที่แตกต่างนั้นและไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลทางคลินิก ซึ่งนับเป็น ME ร้อยละ 20.1 ของจำนวนครั้งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้ ME ที่พบมากที่สุดคือ ผู้ป่วยไม่ได้รับ ยาเดิมที่ได้รับ ความรุนแรงส่วนใหญ่อยู่ในระดับ B และแพทย์ยอมรับคำปรึกษาเพื่อป้องกันหรือ ลดการเกิด ME ร้อยละ 88.6 การปรับปรุงระบบ MR ด้วยการเพิ่มการสื่อสารระหว่างวิชาชีพ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการพัฒนาเครื่องมือปฏิบัติงาน ช่วยให้ค้นพบ ME ที่เกิดจากความแตกต่างของรายการยา ช่วยป้องกันการเกิดปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากการใช้ยา และทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.