Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74237
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมชาย ปรีชาศิลปกุล-
dc.contributor.authorปารณ บุญช่วยen_US
dc.date.accessioned2022-10-15T09:11:16Z-
dc.date.available2022-10-15T09:11:16Z-
dc.date.issued2564-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74237-
dc.description.abstractThis dissertation studies the significant structure of the draft of the 2015 Constitution---the first completed drafted constitution after the coup d'etat that never came into force. By analysing contents and criticisms of the constitution-drafting process and beyond on the first draft, the second draft and the 2017 Constitution regarding the structure of the draft of the 2015 Constitution, the finding shows three crucial issues. The first draft reveals the balance of power under the 2014 Constitution in favour of Constitution Drafting Committee (CDC), aiming to limit and control political activities of the old politics, "Thaksinocracy", in particular while maintaining reformation in the newly elected government to its achievement through "citizen" and the Constitutional Court mechanisms. These processes are monitored by "the recruited specialists, and the moral ones". The second draft demonstrates the compatibility between CDC's objective and effort in balancing the political equilibrium of the Thai bureaucracy.Furthermore, the 2017 Constitution unfolds vital points that had been constantly impelled: the politics controlled by the "a-politicised" mechanisms, crippling power of elect-government, and maintaining political reformation. In the case of constitution-drafting of 2015, apart from presenting the effort in maintaining the balance of power, it discloses the form of balance of power that the deep state desired to preserve in the context of the Thai bureaucracy by exploiting political society under an authoritarian system and a facade of democracy. Even though CDC had already designed the balance of power in the new draft following the frame of the 2014 Constitution, it undermined political relations, or it failed to balance powers to meet the favour of interest groups, especially those who came to power to write the constitution. This reason is a part of the crucial factors that led the drafted 2015 Constitution to be overridden by the National Reform Council.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleกำเนิดและจุดจบของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. .... (ฉบับ 2558)en_US
dc.title.alternativeThe Beginning and the end of the draft of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. .... (2015)en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashรัฐธรรมนูญ -- ไทย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์นี้ศึกษาโครงสร้างสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ 2558 อันเป็นร่างรัฐธรรมนูญ ภายหลังการรัฐประหารฉบับแรกของประเทศไทยที่แม้ว่ากระบานการจัดทำร่างจะเสร็จสมบูรณ์ แล้วแต่กลับไม่ถูกประกาศใช้ เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ 2558 รวมถึงข้อ วิพากษ์วิจารณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในและนอกกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ของ ร่างที่ 1 ร่างที่ 2 และ รัฐธรรมนูญ 2560 ในประเด็นซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ 2558 มีข้อค้นพบสาม ประการ กล่าวคือ เนื้อหาของร่างที่ 1 สะท้อนการจัดสัมพันธภาพภายใต้รัฐธรรมนูญ 2557 ตามความมุ่งหวัง ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) ที่พยายามจำกัดและควบคุมการเมืองโดยเฉพาะ การเมืองของ "ระบอบทักษิณ" และสืบต่อการปฏิรูปให้เกิดขึ้นในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต่อไป ให้สำเร็จ ด้วยกลไก "พลเมือง" และ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โคยทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้ระบบ "ผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรม" ขณะที่เนื้อหาของร่างที่ 2 สะท้อนการประนีประนอมกันระหว่าง เจตนารมณ์ของกมธ. และความพยายามรักษาสมดุลสัมพันธภาพการเมืองของรัฐราชการไทย นอกจากนี้เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญ 2560 จะพบประเด็นที่ถูกผลักดันต่อไป ดังเช่น การเมืองที่ควบคุม ได้ด้วยกลไกที่ถูกทำให้ปลอดความเป็นการเมือง การลดความมั่นคงในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การสืบต่อการปฏิรูป กรณีของกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ 2558 นอกจากทำให้เห็นความพยายามรักษา สัมพันธภาพแล้ว ยังสะท้อนรูปแบบสัมพันธภาพที่รัฐเร้นลึกปรารถนาเพื่อใช้รักษาสัมพันธภาพของ รัฐราชการไทย คือ การครอบงำสังคมการเมืองด้วย "ระบบอำนาจนิยม" โดยมีครรลองประชาธิปไตย เป็นฉากหน้า และแม้ว่ากมธ.จะได้จัดการสัมพันธภาพตามที่รัฐธรรมนูญ 2557 วางกรอบไว้ แต่ก็เป็น การทำลายสัมพันธภาพการเมืองหรือไม่อาจจัดสัมพันธภาพให้กลุ่มผลประโยชน์ในรัฐให้สม ประ โชชน์ได้ โดยเฉพาะเมื่อกลุ่มนั้นมีอิทธิพลในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ข้อนี้จึงเป็นส่วนสำคัญ ประการหนึ่งที่ทำให้ร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ไม่ผ่านการให้ความเห็นชอบจากสภาปฏิรูปแห่งชาติen_US
Appears in Collections:LAW: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
592032008 ปารณ บุญช่วย.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.