Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74233
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิมลพรรณ ไชยนันท์-
dc.contributor.authorจันทร์ฉาย พนมen_US
dc.date.accessioned2022-10-15T09:05:17Z-
dc.date.available2022-10-15T09:05:17Z-
dc.date.issued2564-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74233-
dc.description.abstractThe study on " Chiang Mai Secondary Education Social Science Teachers' Adoption of Attitude and Perception Towards ASEAN Information of Mass Media." The objective of this study aimed 1) To study Knowledge of Social Science Teachers Based on Secondary Education in Chiang Mai Province towards ASEAN Information of Mass media. 2 ) To study Attitude Social Science Teachers Based on Secondary Education in Chiang Mai Province towards Joining Thailand as a member of ASEAN of Mass media. The study a quantitative research using survey methods, One- shot Study and questionnaire as data collection tools. A sample group was 100 Chiang Mai Social Science Teachers. The research procedure by using Sampling are Chiang Mai Social Science Teachers by dividing 1 junior high school teacher and 1 senior high school teacher in each school of all 24 district and 1 junior high school teacher in each school of all 25 district by Quota sampling and School Name by using non-purposive sampling. Overall 114 school. Descriptive statistics consisting of Frequencies, Percentage, Mean and Standard Deviation, And analyzed by Inferential Statistics for comparing differences and correlation of variables. presented on table and descriptive interpretation. Based on the study, It was found that Chiang Mai Social Science Teachers were medium ASEAN Contents mean in 3.0 6 (SD = 1.203) and high ASEAN Contents Attitude approaching to Thailand mean in 3.81 (SD = .614) The results of the study indicate that Social Science Teachers who have more than four experience years in ASEAN Contents were higher knowledge and good attitude approaching to Thailand than Social Science Teachers who have less than four experience years. The results of the study indicate that Social Science Teachers who have more than four experience years in ASEAN Contents were higher knowledge and good attitude approaching to Thailand than Social Science Teachers who have less than four experience years. Besides, All ASEAN Contents preparation information sources had relationship with knowledge of Chiang Mai high school Social Science Teachers in middle positive and Information of Textbook and general book Reliability referring to ASEAN Contents knowledge of Social Science Teachers indicate that positive interrelationship in middle level and Information source reliability for ASEAN Contents attitude approaching to Thailand in instruction was presented by teaching materials was also positive interrelationship in middle level which if separated into details found that Information source by government sector reliability with attitude approaching to Thailand was positive interrelationship in high level via teaching materials of Social Science Teachers.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการเปิดรับ การรับรู้และทัศนคติที่มีต่อข้อมูลข่าวสารอาเซียน ที่นำเสนอผ่านสื่อมวลชนของครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeChiang Mai secondary education social science teachers’ adoption of attitude and perception towards ASEAN information of mass mediaen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashสังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashสมาคมอาเซียน-
thailis.controlvocab.thashครูสังคมศึกษา -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่อง "การเปิดรับ การรับรู้และทัศนคติที่มีต่อข้อมูลข่าวสารอาเชียนที่นำเสนอ ผ่านสื่อมวลชนของครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่" มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความรู้เนื้อหาอาเซียนที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อของครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาทัศนคติต่อการเข้าสู่อาเซียนของประเทศไทย ที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อของครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกยาในจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษา ในครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantiative Research) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) แบบวัดครั้งเดียว (One-shot Study) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 100 คน ใช้วิธี การเลือกแบบโควต้า (Quota sampling คือ เลือกจำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนจำนวนโรงเรียน ที่มีในแต่ละอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ โดยกำหนดโรงเรียนที่มีสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งหมด 24 อำเภอ จำนวน 54 โรงเรียน โดยแจก แบบสอบถามให้โรงรียนละ 2 ชุด และ โรงเรียนที่มีสอนเพียงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัด เชียงใหม่ ทั้งหมด 25 อำเภอ จำนวน 60 โรงเรียน โดยแจกแบบสอบถามให้โรงเรียนละ 1 ชุด รวมทั้งหมด 114 โรงเรียน โดยวิธีการเลือกโรงเรียนแต่ละอำเภอใช้วิธีการสุ่มแบบไม่เจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ การแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิเคราะห์ โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เพื่อหาค่ำความแตกต่างและความสัมพันธ์ ของตัวแปร นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบการแปลความหมายเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า ความรู้โดยรวมเกี่ยวกับเนื้อหาอาเชียนของครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาในจังหวัด เชียงใหม่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.06 (SD = 1.203) และทัศนคติต่อการเข้าสู่ อาเซียนของประเทศไทยของครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่มีทัศนคติดีในระดับสูง มีค่าเฉลี่ย 3.81 (SD = .614 ) ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ในการสอนวิชาเกี่ยวกับเนื้อหาอาเซียนของครูผู้สอน 4 ปีขึ้นไป มีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาอาเซียน และมีทัศนคติที่ดีต่อการเข้าสู่อาเซียนของประเทศไทยที่ถูกนำเสนอ ผ่านสื่อสูงกว่าครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการสอนเกี่ยวกับเนื้อหาอาเซียนน้อยกว่า 4 ปี ผลการวิจัยยังพบอีกว่า โดยภาพรวมแหล่งข้อมูลในการจัดเตรียมเนื้อหาเพื่อสอนเกี่ยวกับ อาเซียนมีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาอาเซียนของครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ในทางบวกระดับกลาง ส่วนความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล จากเอกสารตำรา หนังสือทั่วไป เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการเรียนการสอนกับความรู้เกี่ยวกับเนื้อหา อาเซียนของครูผู้สอน พบว่า มีความสัมพันธ์กันในทางบวกระดับกลาง ส่วนความน่าเชื่อถือของ แหล่งข้อมูลเพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการเรียนการสอนกับทัศนคติต่อการเข้าสู่อาเซียน ของ ประเทศไทยที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อของครูผู้สอน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวก ระดับกลาง ซึ่งหากแยกเป็นรายละเอียดของแต่ละแหล่งข้อมูล พบว่า แหล่งข้อมูลที่นำเสนอ โดยภาครัฐมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการเข้าสู่อาเซียนของประเทศไทยที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อ ของครูผู้สอนในทางบวกระดับสูง ผลการวิจัยยังพบอีกว่า ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาอาเซียน และทัศนคติต่อการเข้าสู่อาเซียนของ ประเทศไทยที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการรับชม รับฟัง หรือศึกษาเนื้อหาอาเซียน ของครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกยาในจังหวัดเชียงใหม่ โดยพบว่า ในภาพรวมความรู้ เกี่ยวกับเนื้อหาอาเซียนมีความสัมพันธ์กับการรับชม รับฟัง หรือศึกษาเนื้อหาอาเซียนของครูผู้สอน ในทางบวกระดับกลาง อีกทั้งยังพบว่า ในภาพรวมการรับชม รับฟัง หรือศึกยาเนื้อหาอาเซียนกับ ทัศนคติเกี่ยวกับอาเซียนของครูผู้สอนมีความสัมพันธ์กันในทางบวกระดับสูงมาก ซึ่งหากแยกเป็น รายละเอียดของแต่ละแห่ล่งข้อมูล พบว่า สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อจากการขอความอนุเคราะห์ สื่อดิจิทัล และสื่อกิจกรรมมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการเข้าสู่อาเซียนของประเทศไทยในทางบวก ระดับสูง ส่วนสื่อโทรทัศน์มีความสัมพันธ์ในทางบวกระดับกลางen_US
Appears in Collections:MASSCOMM: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
591832013 จันทร์ฉาย พนม.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.