Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74184
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเวชยันต์ รางศรี-
dc.contributor.authorกันต์พงศ์ ใจเย็นen_US
dc.date.accessioned2022-10-04T10:55:58Z-
dc.date.available2022-10-04T10:55:58Z-
dc.date.issued2022-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74184-
dc.description.abstractIn this research, the main causes of the damage of the lever arm in the generator circuit breaker at Sirikit Hydro Power Plant had been successfully analyzed. The method to prevent the damage had been also proposed. While the electrical circuit is opening, the lever arm rotated at high speed and then stopped by the impact adsorption equipment. Thus, the lever arm could be damaged, if the impact adsorption equipment does not function properly. Besides the impact cause, it also depends on the strength of the material. Herein, the impact intensity of the lever arm and the strength of the material were investigated using the collected velocity profile data of the lever arm, chemical composition analysis, and physical and mechanical properties of the lever arm. With respect to the above data, the simulated movement and impact were also demonstrated based on the Finite Element Analysis (FEA). Regarding the results, e.g. the stress distribution of the lever arm, the consistency between the actual damage and simulation result was studied. The lever arm was made from the A356 aluminum alloy casting, which was indicated as the dendrite structure. The shrinkage porosity, which was observed via SEM technique, was a significant effect on the lower mechanical properties of the lever arm leading to reduce the tensile strength and elongation due to tensile properties as well as lower impact energy absorption. The fracture analysis on the surface of the lever arm indicated the cleavage and dimple. Regarding the FEA simulation, the pin holes were determined as the critical area, which was the same as the actual damage on the lever arm. With respect to the results, the defectiveness of the materials is the main cause of the failure of the lever arm. Thus, material mechanical properties certification from the manufacturer is highly essential. The deficiency of the spare parts could be achieved by CNC machining the spare lever arm that made of aluminum materials, which should be high toughness and strength materials to prevent fracture damage. To reduce the chance of a serious collision, the parts of the circuit breaker mechanism must not be jammed during the process. Moreover, the regular operation and maintenance of the dashpot mechanism would also be highly necessary.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectFailure inspectionen_US
dc.subjectImpact analysisen_US
dc.subjectNumerical simulationen_US
dc.subjectLever cranken_US
dc.subjectGenerator circuit breakeren_US
dc.titleการวิเคราะห์ความเสียหายของก้านเหวี่ยงในอุปกรณ์ตัดต่อวงจรเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าเขื่อนสิริกิติ์en_US
dc.title.alternativeFailure analysis of the lever in generator circuit breaker at Sirikit Hydro Power Planten_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเขื่อนสิริกิติ์-
thailis.controlvocab.thashเครื่องกำเนิดไฟฟ้า-
thailis.controlvocab.thashวงจรไฟฟ้า-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุและเสนอวิธีป้องกันการเสียหายของก้านเหวี่ยงในอุปกรณ์ตัดต่อวงจรเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าเขื่อนสิริกิติ์ ในขณะตัดวงจรไฟฟ้าก้านเหวี่ยงจะหมุนด้วยความเร็วสูงและถูกทำให้หยุดการเคลื่อนที่โดยอุปกรณ์หน่วงความเร็ว หากกลไกเกิดการติดขัดหรืออุปกรณ์หน่วงความเร็วทำงานบกพร่อง จะทำให้เกิดการกระแทกระหว่างก้านเหวี่ยงกับชิ้นส่วนของอุปกรณ์หน่วงความเร็วอย่างรุนแรง ทำให้ก้านเหวี่ยงเกิดการเสียหาย ทั้งนี้การเสียหายนอกจากจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการกระแทกแล้ว ยังขึ้นอยู่กับสมบัติทางกลของวัสดุที่ใช้ทำก้านเหวี่ยงด้วย งานวิจัยนี้จึงได้นำข้อมูลจากเครื่องมือวิเคราะห์ความเร็วในการเคลื่อนที่ของก้านเหวี่ยง ข้อมูลจากการทดสอบหาองค์ประกอบของวัสดุ สมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลของวัสดุ มาวิเคราะห์หาความรุนแรงของการกระแทก และความสามารถในการต้านทานการเสียหายของวัสดุ รวมถึงได้ใช้ข้อมูลเหล่านี้ไปสร้างแบบจำลอง สำหรับจำลองการเคลื่อนที่และการกระแทกด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ แล้วจึงนำผลที่ได้จากการจำลอง เช่น การกระจายของความเค้นบนก้านเหวี่ยง มาวิเคราะห์เพื่อหาความสอดคล้องกับลักษณะการเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าก้านเหวี่ยงที่ได้รับความเสียหายผลิตจากวัสดุอลูมิเนียมหล่อชนิด A356 มีโครงสร้างแบบเดนไดรต์ การตรวจสอบวัสดุแบบส่องกราดพบโพรงหดตัวที่ส่งผลเสียต่อสมบัติทางกลของก้านเหวี่ยง ทำให้มีความแข็งแรงดึงและการยืดตัวเนื่องจากแรงดึงน้อยลงและดูดซับพลังงานการกระแทกได้ต่ำ การตรวจสอบผิวแตกหักพบว่าลักษณะความเสียหายมีทั้งรอยแตกเรียบและร่องหลุม ผลการจำลองโดยระเบียบวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์แสดงให้เห็นว่าตำแหน่งวิกฤตอยู่บริเวณรูสลักของก้านเหวี่ยง ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับความเสียหายจริง สรุปได้ว่าการเสียหายเกิดจากความบกพร่องของวัสดุ จึงควรมีการยืนยันด้านสมบัติทางกลของวัสดุของก้านเหวี่ยงจากผู้ผลิต และควรมีการจัดทำก้านเหวี่ยงสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินโดยนำวัสดุอลูมิเนียมที่ค่าความเหนียวและความแกร่งเพียงพอต่อการต้านทานความเสียหายจากการกระแทกไปกัดขึ้นรูปด้วยเครื่องจักรกลซีเอ็นซี อย่างไรก็ตามหากต้องการลดโอกาสของการเสียหาย อุปกรณ์ตัดต่อวงจรจะต้องไม่เกิดการติดขัดขณะทำงาน อุปกรณ์หน่วงความเร็วจะต้องทำงานปกติและการตรวจสอบเป็นประจำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งen_US
Appears in Collections:ENG: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600631147-กันต์พงศ์ ใจเย็น.pdf6.92 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.