Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74100
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุพร จารุมณี-
dc.contributor.advisorพาณี ศิริสะอาด-
dc.contributor.advisorทรงวุฒิ ยศวิมลวัฒน์-
dc.contributor.authorพงษ์พิทักษ์ ศุภกิจเจริญกุลen_US
dc.date.accessioned2022-09-17T06:27:03Z-
dc.date.available2022-09-17T06:27:03Z-
dc.date.issued2022-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74100-
dc.description.abstractBoraphet (Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook. f. & Thomson) is a central and southeast asia plant. It has many therapeutic activities such as anti-inflammatory, antipyretic, anti-diabetic, immunomodulatory, anti-malarial, anti-bacterial, anticancer and appetizer. Accordingly, traditional medicine in many countries used part of the vine, roots and leaves of Boraphet to treat many diseases. Traditional and folk medicinal recipes in Thailand used Boraphet by boiling, liquor infusing, fresh eating, grinding and pilling. This research aimed to study the antipyretic activity of Boraphet ethanolic extract (TCE) and water extract (TCW), its effect on platelet amount and the mechanism of antipyretic effect in Wistar rat. The rat blood samples were collected 72 hours before the experiment to determine baseline value of platelet amount, blood biochemistry, cyclooxygenase-2 (COX-2) and prostaglandin E2 (PGE2). The fever was induced in the test animals using diphtheria, tetanus, and pertussis (Diptheria Tetanus Pertussis: DTP vaccine). When fever is detected, the TCE and TCW in the the amounts which equivalent to dried Boraphet powder of 30, 90 and 270 mg/kg were given by oral route. Then, body temperature was rectally measured every 30 minutes until 240 minutes. The blood samples were collected after 14 days of the experiment. The results showed that the mean body temperature reduction of TCE 30, 90 and 270 mg/kg were 1.62±0.33, 1.68±0.51 and 1.48±0.32 C, respectively, while those obtained from TCW were 1.18±0.19, 1.14±0.31 and 1.32±0.36 C, respectively. The positive control groups had the mean reduction after receiving paracetamol 93.00 mg/kg and ibuprofen 37.20 mg/kg of 1.62±0.78 and 1.48±0.18 C, respectively. The negative control group had a mean reduction of 0.96±0.31 C. The platelet amount before and after the experiment was not significantly different from the control groups (p>0.05). TCE decreased the serum cyclooxygenase-2 (COX-2) than TCW at all concentrations. The highest dose of TCE was able to decrease serum prostaglandin E2 (PGE2). However, the effect of TCW on PGE2 was not clearly shown in this study. The blood biochemistry analyses showed that the BUN, creatinine AST, ALT and ALP values were slightly changed in all test group, but were not significantly different from the control groups (p>0.05). The histopathological analysis of liver and kidney tissue showed no significant difference among the experimental groups (p>0.05). In conclusion, both Tinospora crispa ethanolic and water extracts were effective in reducing fever similar to paracetamol and ibuprofen meanwhile exhibiting no effect on the platelet amount. The antipyretic mechanism of the extract was inhibition of COX-2 and PGE2. The results from this study could support the safety of single dose, short-term use of Boraphet extract as an antipyretic. However, more insight investigation on safety in human is needed especially for developing Boraphet as the antipyretic medicines in the future.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectprostaglandin-E2en_US
dc.subjectcyclooxygenase-2en_US
dc.subjectพรอสตาแกลนดิน-อีทูen_US
dc.subjectไซโคลอ๊อกซีจีเนส-ทูen_US
dc.titleฤทธิ์ลดไข้ ผลต่อสารบ่งชี้การเกิดไข้ และผลต่อปริมาณเกล็ดเลือดของสารสกัดบอระเพ็ดในสัตว์ทดลองen_US
dc.title.alternativeAntipyretic activity and effects on fever markers and platelet amount of Tinospora Crispa extracts in animalsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashพืชวงศ์บอระเพ็ด-
thailis.controlvocab.thashไข้-
thailis.controlvocab.thashยาลดไข้-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractบอระเพ็ด (Boraphet: Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook. f. & Thomson) เป็นพืชที่พบในแถบเอเชียกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แพทย์แผนโบราณในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย นำส่วนของเถา รากและใบ มาใช้ในการบำบัดรักษาโรค เนื่องจากมีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย เช่นต้านการอักเสบ ลดไข้ ลดระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านมาลาเรีย ต้านแบคทีเรีย ต้านมะเร็ง และเจริญอาหาร เป็นต้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ลดไข้ของสารสกัดบอระเพ็ดด้วยเอทานอลและน้ำ ผลต่อปริมาณเกล็ดเลือดและผลต่อสารบ่งชี้การเกิดไข้ ในหนูวิสตาร์ ในการทดสอบฤทธิ์ลดไข้ จะเก็บตัวอย่างเลือดของหนู ก่อนกระตุ้นให้เกิดไข้ 72 ชั่วโมง เพื่อหาค่าพื้นฐานของปริมาณเกล็ดเลือด, ค่าทางชีวเคมีของเลือด, ไซโคลออกซีจีเนส-2 และพรอสตาแกลนดิน อี 2 หนูทดลองถูกกระตุ้นให้เกิดไข้ด้วยวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน เมื่อเกิดไข้หนูจะได้รับสารสกัดปริมาณเทียบเท่ากับผงบอระเพ็ด 30, 90 และ 270 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยให้ทางปาก จากนั้นวัดไข้ทางทวารหนักทุก 30 นาที จนครบ 240 นาที และมีการเก็บตัวอย่างเลือดอีกครั้งหลังจากครบเวลา 14 วัน ผลการศึกษาวิจัย พบว่าสารสกัดบอระเพ็ดด้วยเอทานอล (TCE) ขนาด 30, 90, 270 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม มีค่าเฉลี่ยในการลดไข้เท่ากับ 1.62±0.33, 1.68±0.51 และ 1.48±0.32 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ในขณะที่สารสกัดบอระเพ็ดด้วยน้ำ (TCW) ทั้งสามความเข้มข้น มีค่าเฉลี่ยในการลดไข้เท่ากับ 1.18±0.19, 1.14±0.31 และ 1.32±0.36 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ทั้งนี้ กลุ่มควบคุมบวกที่ได้รับพาราเซตามอล และไอบูโปรเฟน ขนาด 93.00 และ 37.20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม มีค่าเฉลี่ยในการลดไข้ เท่ากับ 1.62±0.78 และ 1.48±0.18 องศาเซลเซียส ตามลำดับ และกลุ่มควบคุมลบมีค่าเฉลี่ยในการลดไข้ 0.96±0.31 องศาเซลเซียส กลุ่มหนูวิสตาร์ที่ได้รับสารสกัดบอระเพ็ดมีปริมาณเกล็ดเลือดก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) ทั้งนี้ผลการทดลองแสดงว่าสารสกัดบอระเพ็ดด้วยเอทานอลทุกความเข้มข้นสามารถยับยั้ง cyclooxygenase-2 (COX-2) ได้ดีกว่าสารสกัดบอระเพ็ดด้วยน้ำ และสามารถยับยั้ง prostaglandin E2 (PGE2) ได้ที่ความเข้มข้น 270 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับสารสกัดด้วยน้ำไม่สามารถแปลผลการยับยั้ง PGE2ได้ จากการวิเคราะห์ค่าชีวเคมีโลหิต ที่บ่งชี้การทำงานของตับและไตหลังได้รับสารสกัดบอระเพ็ด 4 ชั่วโมงและ 14 วันพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยแต่ไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่การวิเคราะห์ทางจุลพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อตับและไตหลังได้รับสารทดสอบ ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) การศึกษาวิจัยนี้พบว่า สารสกัดบอระเพ็ดทั้งสองรูปแบบ มีประสิทธิผลในการลดไข้ได้ใกล้เคียงกับพาราเซตามอลและไอบูโปรเฟน มีผลกระทบต่อปริมาณเกล็ดเลือดไม่ต่างจากกลุ่มควบคุม โดยมีกลไกการลดไข้ผ่านการยับยั้ง COX-2 ได้ดีกว่า PGE2 ควรมีการศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับความปลอดภัยในมนุษย์เพิ่มเติม เพื่อจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาบอระเพ็ดให้เป็นยาลดไข้ต่อไปอนาคตen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611031017_Pongpithak Supakitjaroenkul.pdf611031017_นายพงษ์พิทักษ์ ศุภกิจเจริญกุล18.22 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.