Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74033
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปฐมาวดี จงรักษ์-
dc.contributor.authorรศิ คณาพิสุทธิ์en_US
dc.date.accessioned2022-08-29T16:16:55Z-
dc.date.available2022-08-29T16:16:55Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74033-
dc.description.abstractThe purposes of this independent study, Maintaining Community Forest Conservation Network at Ban Luang District, Nan Province, were to explore the maintenance process of community forest conservation network at Ban Luang District, Nan Province, and to study the problems and obstacles in the management of community forest conservation at Ban Luang District, Nan Province. This study employed a semi-structured in-depth interview, group interview, and document analysis to provide evidence for data collection. Twenty of those involved in community forest conservation at Ban Luang District, Nan Province, were interviewed; they were sub-district and village heads, district council members, and government officials, who are the members of Ban Luang Huang Pa Club at Ban Luang District, Nan province. The results of the study showed that the network maintenance process for community forest conservation at Ban Luang District consists of factors in the network operation, which are organizations of activities. There are activities related to religion, local culture, traditions and beliefs, rule-related activities, social order, as well as the activities sponsored by the government. Factors of maintaining good relationships include having members who are aware of the problems and forest's benefits as well as having the same goal in co-operating forest conservation and maintenance. The incentive factor is creating pride and income from forest conservation for the villagers and members of the network. Factors of finding resources to support, promote and provide sufficient and appropriate resources for the operation of the internal network include human resources, financial resources, office materials, environment, and methods of the operations. There are also factors of providing assistance and support for network operations from individuals and agencies both within Ban Luang district and from outside, as well as factors for creating new generation leaders for the members of the network by raising awareness, knowledge and competence from lifestyle and socio-cultural conditions in the community and studies based on institutional education system. Network operation problems from the lack of awareness in forest conservation of some groups include unclear forest areas, causing the invasion of the forest to require the land for the farmming of the villagers, and the problem of migration of working-age people, causing the lack of participants of the network. The suggestion is that the livelihoods of the people should be promoted to have a sufficient way of life.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการธำรงรักษาเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์ป่าชุมชนในพื้นที่ อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่านen_US
dc.title.alternativeNetwork maintenance for communal forestry conservation in Baan Luang District, Nan Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashป่าชุมชน -- บ้านหลวง (น่าน)-
thailis.controlvocab.thashป่าไม้และการป่าไม้ -- บ้านหลวง (น่าน)-
thailis.controlvocab.thashทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน -- บ้านหลวง (น่าน)-
thailis.controlvocab.thashการอนุรักษ์ป่าไม้ -- บ้านหลวง (น่าน)-
thailis.controlvocab.thashการอนุรักษ์ป่าไม้-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระเรื่องการธำรงรักษาเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์ป่าของชุมชนในพื้นที่อำเภอ บ้านหลวง จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการธำรงรักษา เครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์ป่า ชุมชนในพื้นที่อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่านและศึกษาถึงปัญหาอุปสรรค ในการจัดการรักษาป่าของ ชุมชนในเขตอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน โดยในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์กลุ่มและการวิเคราะห์เอกสารเป็น หลักฐานในการรวบรวมข้อมูล โดยได้สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการอนุรักษ์ป่าชุมชนในอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่านจำนวน 20 รายได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาตำบลและข้าราชการเป็นสมาชิกของชมรมบ้านหลวงหวง ป่าที่อยู่ในเขตอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการธำรงรักษาเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์ป่าชุมชนในพื้นที่อำเภอ บ้านหลวง ประกอบไปด้วยปัจจัยในการดำเนินงานของเครือข่ายคือด้านการจัดกิจกรรม มีการจัด กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อของท้องถิ่น มีการจัดกิจกรรมที่ เกี่ยวข้องกับกฎ ระเบียบของสังคม และกิจกรรมที่มาจากการสนับสนุนของรัฐ ปัจจัยด้านการรักษา สัมพันธภาพที่ดี โดยสมาชิกมีความตระหนักถึงปัญหาและสำนึกในคุณประโยชน์ของป่าและมี เป้าหมายเดียวกันในการที่จะร่วมมือกันอนุรักษ์และบำรุงรักษาป่า ปัจจัยด้านการสร้างแรงจูงใจโดย การสร้างความภาคภูมิใจและรายได้ที่มาจากการรักษาสภาพป่าให้กับชาวบ้านและสมาชิกของ เครือข่าย ปัจจัยด้านการจัดหาทรัพยากรสนับสนุนส่งเสริมและจัดหาทรัพยากรให้เพียงพอและ เหมาะสมในการดำเนินงานของเครือข่ายในคือทรัพยากรมนุษย์ ด้านทรัพยากรเงิน ด้านวัสดุสำนักงาน ด้านสิ่งแวดล้อม และวิธีการในการดำเนินงาน ปัจจัยด้านการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการ ดำเนินงานของเครือข่ายจากบุคคลและหน่วยงานทั้งภายในเขตอำเภอและจากนอกเขตออำเภอบ้าน หลวง และปัจจัยด้านการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่มีการสร้างผู้นำให้แก่สมาชิกในเครือข่ายจากการสร้าง ความตระหนักและความรู้ความสามารถจากวิถีชีวิตและสภาพทางสังคมวัฒนธรรมในชุมชนและจาก การศึกษาตามระบบการเรียนการสอนในสถานศึกษา ในด้านปัญหาการดำเนินงานของเครือข่ายเกิด จากการขาดจิตสำนึกในการรักษาผืนป่าของบุคคลบางกลุ่ม การกำหนดเขตผืนป่าไม่มีความชัดเจนทำ ให้เกิดการบุกรุกป่าเพื่อต้องการผืนดินที่ทำกินของชาวบ้านและปัญหาการอพยพออกจากถิ่นของ บุคคลวัยทำงานทำขาดผู้ร่วมกิจกรรมของเครือข่าย ข้อเสนอแนะคือควรมีการส่งเสริมความเป็นอยู่ของ ราษฎรให้มีวิถีชีวิตอยู่อย่างพอเพียงen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601932018 รศิ คณาพิสุทธิ์.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.