Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74000
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ-
dc.contributor.advisorวรลัญจก์ บุณยสุรัตน์-
dc.contributor.authorธนกร สุธีรศักดิ์en_US
dc.date.accessioned2022-08-24T10:05:56Z-
dc.date.available2022-08-24T10:05:56Z-
dc.date.issued2021-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74000-
dc.description.abstractThe research “Cultural Heritage Management of Wat Kuhapimook, Mueang District, Yala Province” aims at study the background knowledge of southern peninsula of Thailand including social and cultural context of Yala province. Moreover, it also studies social and cultural context of Ban Na Tham community, as well as the residents’ potential of participating the cultural heritage management of the area, in order to provide the plan for cultural heritage management of Wat Kuhapimook, Mueang District, Yala province, to be a learning center and cultural tourist attraction. The management process will go along with 3 major concepts, 1) cultural heritage management concept, a sustainable conservation and development for the cultural heritage site and precious objects, 2) learning resource management concept, meaning of the learning center is a place that gathering information, and 3) cultural tourism concept. Regarding to the history of Ban Na Tham community, Mueang District, Yala province, shows clearly historical values itself, while the ancient remains and priceless antiques were also found in the area of Ban Na Tham community and in Wat Kuhapimook. These cultural heritages indicate the civilization that inherited since prehistorical period until present day. Moreover, they obviously show the prosperity of the southern peninsula of Thailand involving people’s way of life and their beliefs. Now, because of many factors including lacking of knowledge and understanding the historical values, these cultural heritages have been deteriorated. If people still ignore this problem and not realize about the conservation, they may lose their important heritages. According to the information found in this research, cultural diversity is one of the outstanding points of Yala province, which should be supported to make more benefit for many issues, like education, tourism and economic. This area should be known as a cultural learning center and one of tourist attraction of southern Thailand.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมen_US
dc.subjectแหล่งเรียนรู้en_US
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.subjectคาบสมุทรภาคใต้en_US
dc.subjectCultural heritage siteen_US
dc.subjectLearning Resourceen_US
dc.subjectCultural tourismen_US
dc.subjectSouthern peninsulaen_US
dc.titleการจัดการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมวัดคูหาภิมขุ อำเภอเมือง จังหวัดยะลาen_US
dc.title.alternativeCultural heritage management of Wat Kuhapimook, Mueang District, Yala Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashวัดคูหาภิมุข-
thailis.controlvocab.thashทรัพยากรทางวัฒนธรรม-
thailis.controlvocab.thashวัด -- ยะลา-
thailis.controlvocab.thashโบราณสถาน-
thailis.controlvocab.thashโบราณวัตถุ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์เรื่อง การจัดการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมวัดคูหาภิมุข อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นการศึกษาวิจัยที่มีจุดประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาถึงบริบททางประวัติศาสตร์ของดินแดน คาบสมุทรภาคใต้และประวัติความเป็นมา ตลอดจนลักษณะสังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดยะลา เพื่อให้ทราบถึงภูมิหลังและบริบททางการเปลี่ยนแปลงของตัวพื้นที่ และลักษณะทางกายภาพของ สังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่ในการศึกษา 2) ศึกษาชุมชน สังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนศักยภาพ และความเข้มแข็งของชุมชนหน้าถ้าเพื่อทำให้ทราบถึงลักษณะทางภายภาพและสภาพของชุมชน ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้คนในพื้นที่ชุมชน ตลอดจนศักยภาพและความเข้มแข็งของ ชุมชนหน้าถ้ำในการมีส่วนร่วมกับการจัดการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่ และ 3) เพื่อเสนอ รูปแบบและวิธีการจัดการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมวัดคูหาภิมุข อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เพื่อให้เกิด เป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้ค้นในพื้นที่และตลอดคนในพื้นที่ใกล้เคียง ให้สามารถเข้ามาศึกษาและค้นคว้า เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งแนวทางในการจัดการภายใต้แนวคิดและทฤษฎี ดังนี้ 1) แนวคิดการจัดการมรดกวัฒนธรรม คือการดูแลอย่างเป็นระบบที่นำมาใช้เพื่อรักษาและธำรงคุณค่าทางวัฒนธรรมของทรัพย์สินหรือแหล่ง มรดกนั้น ๆ เพื่อให้ยังคงอยู่สืบไปในภายภาคหน้า 2) แนวคิดการจัดการแหล่งเรียนรู้ แหล่ง ที่รวม หรือ ศูนย์รวมที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และ 3) แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยจากการศึกษาวิจัย ในครั้งนี้ได้นำแนวคิดและทฤษฎีทั้งสามมาเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เพื่อหารูปแบบและแนวทาง ในการจัดการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมวัดคูหาภิมุข เพื่อให้เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้คนในพื้นที่และ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ชุมชนหน้าถ้ำอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา สามารถเป็นตัวบ่งชี้ และแสดงให้เห็นถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของตัวพื้นที่ได้อย่าง ชัดเจน ผนวกกับร่องรอยของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ที่มีการขุด ค้นพบภายในบริเวณตัวชุมชนหน้าถ้ำและภายในวัดคูหาภิมุข ซึ่งแสดงถึงร่อยรอยอารยธรรมของ วัฒนธรรมที่สืบเนื่องมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมาจนปัจจุบัน โดยแหล่ง มรดกทางวัฒนธรรมทั้งหลายนี้ถือเป็นเครื่องยืนยัน และแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองใน คาบสมุทรทางตอนใต้ของประเทศ และบ่งบอกถึงลักษณะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนคติความเชื่อ ของผู้คนในพื้นที่ ซึ่งผลกระทบจากปัจจัยในปัจจุบันที่หลากหลายส่งผลให้แหล่งมรดกวัฒนธรรม โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญในเขตพื้นที่วัดคูหาภิมุขเกิดความเสื่อมโทรมตามกาลเวลา ถูก ปล่อยปละละเลย และยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักและความภาคภูมิใจจากคนในพื้นที่ จึงส่งผลให้คุณค่าทางประวัติศาสตร์ยิ่งลดน้อยลงตามกาลเวลา โดยหากแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม แห่งนี้ขาดการดูแลรักษา และการเอาใจใส่อาจส่งผลกระทบต่อไปได้ในระยะยาว ถือเป็นการสูญเสีย แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ แห่งหนึ่งของชาติ จากการศึกษาข้อมูลสามารถชี้ให้เห็นได้ถึง จุดเด่นของรูปแบบแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญในจังหวัดยะลา เป็นเขตพื้นที่ที่มีหลากหลาย ทางด้านกลุ่มวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เด่น และส่งเสริมเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางด้าน การศึกษา การท่องเที่ยว ตลอดทั้งด้านเศรษฐกิจของจังหวัดยะลา ให้กลายเป็นที่รู้จักและเป็นพื้นที่ สำหรับการสร้างแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบทางประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยวให้แก่เขตพื้นที่สาม จังหวัดชายแดนใต้ต่อไปen_US
Appears in Collections:FINEARTS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600332003 ธนกร สุธีรศักดิ์.pdf39.88 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.