Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73867
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนัทมน คงเจริญ-
dc.contributor.authorชฎาพร บุญสุขen_US
dc.date.accessioned2022-08-16T00:53:27Z-
dc.date.available2022-08-16T00:53:27Z-
dc.date.issued2022-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73867-
dc.description.abstractThis research is a study. Management to solve encroachment problems at Rajaphatsadu (state land) to analyze problems, obstacles, and factors affecting the administration and enforcement of laws relating to the encroaching of Ratchaphatsadu. Why would the issues of the current invasion of state land not be solved? By studying the document data arising from the operations of government officials concerned through the facts of the intrusion of the state property. The study aims to choose different characteristics that occurred in 4 areas of Chiang Mai: the nature of the invasion of the state property in the city versus the forest area (outside the city); an individual intruder versus a group of intruders; elites who dominate the government officials versus ordinary people. The study has found that the failure to manage the trespassing of Rajaphatsadu partly comes from the legal provisions which limit and centralize the administrative power under the Treasury Department. Therefore, the survey, the law implementation, and governing of the state property lay on the Department while impractical authority. Regarding the principle that no prescription can be set up against the state property, the officers can reclaim the land anytime. Then, they delay the litigation on eviction against the trespassers. In addition, besides government agencies' corruption, government officials are involved in exploiting state land resources. Including the delay in executing the court's decision is ineffective. This ineffective law enforcement includes the negligence of demolishing the encroached buildings. Meanwhile, the permissiveness of law suspension has compromised law enforcement by the policy of turning trespassers into tenants to reduce disparities in land ownership. All of these cause difficulty in resolving the problem of the encroaching of Rajaphatsadu. Eventually, the Ratchaphatsadu Act B.E. 2562 was revised. Criminal penalties are imposed for those who enter the state land without permission. This study has found that the criminal penalties are only enforced when they have been complaints and receive attention from the public or the news in the press. Also, they will prosecute the trespassing in the areas where the state has the project on that state property. However, these lawsuits for eviction are not the primary mission of state property management. Moreover, the officers may be at risk if the trespassing comes from the tyrants. All four case studies are inactive law enforcement under this amendment. In addition, these case studies show a comparison of the characteristics of trespassing. The form of encroachment leads to a diverse and different response. As a result, the management tends to injustice and discrimination. Without correcting these issues, the protection of Rajaphatsadu to ensure order and peace as the law objective is not possible. From this study finding, some suggestions proposed to resolve the problems of trespassing Rajaphatsadu management would be three practical conducts. First, an explicit law provision grants authority to the state agencies who use the Rajaphatsadu to submit the survey to examine the state land promptly. Second, to establish distinguishing encroachment factors of the Rajaphatsadu so that the criminal and civil compensation law enforcement would be properly functional. And the third suggestion is the Rajaphatsadu which the specific state agencies directly use, should not participate in the rental program. Hence, those state agencies have complete administration to deal with the encroachments on the state land and effectively carry out the objectives for operating in the Rajaphatsadu. Setting practical and standardized can fairly address intrusions at Rajaphatsadu, prevent interference and abuse of power, and avoid discrimination affecting each area.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัญหาการจัดการการบุกรุกที่ราชพัสดุ: กรณีศึกษาในพื้นที่เชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeProblems in the management of trespassing on state land: Case studies in Chiang Mai areaen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการบุกรุก -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashที่ดินของรัฐ -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการปฏิรูปที่ดิน -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษา การจัดการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุเพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหา อุปสรรค ปัจจัยที่ส่งผลในการจัดการและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการบุกรุกที่ราชพัสดุ ว่าเหตุใดจึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ราชพัสดุในปัจจุบันได้ โดยทำการศึกษาข้อมูลเอกสารที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ผ่านกรณีปัญหาข้อเท็จจริงการบุกรุกที่ราชพัสดุที่เกิดขึ้นในพื้นที่เชียงใหม่ จำนวน 4 พื้นที่ ทั้งลักษณะการบุกรุกที่ราชพัสดุในเขตเมือง-ในเขตป่า (นอกเมือง) ผู้บุกรุกรายเดียว-เป็นกลุ่ม ผู้บุกรุกที่มีอำนาจต่อรองกับเจ้าหน้าที่รัฐ-ผู้บุกรุกที่เป็นประชาชนทั่วไป จากการศึกษา พบว่า เหตุที่ไม่สามารถจัดการแก้ไขการบุกรุกที่ราชพัสดุได้ คือ บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบุกรุกที่ราชพัสดุที่จำกัดและการรวมอำนาจการดูแล รักษาที่ราชพัสดุไว้ ภายใต้กรมธนารักษ์ ทำให้อำนาจการยื่นขอรังวัดชี้แนวเขต การดำเนินคดีที่เกี่ยวกับที่ราชพัสดุและทรัพย์สินในที่ราชพัสดุ ซึ่งกฎหมายมิได้ให้อำนาจในทางปฏิบัติและเอื้ออำนวยต่อการบริหารจัดการที่ราชพัสดุหน่วยงานรัฐผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุอย่างเต็มที่ ตลอดจนที่ราชพัสดุได้รับความคุ้มครองห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับรัฐไม่ได้ รัฐสามารถเรียกที่ดินคืนจากผู้ครอบครองได้ทุกเมื่อ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่รัฐนิ่งนอนใจในการบังคับใช้กฎหมายแก่ผู้บุกรุก การทุจริตของหน่วยงานราชการเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรที่ดินของรัฐไปแสวงหาผลประโยชน์ รวมถึงความล่าช้าในการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลไร้ผลบังคับ ในส่วนที่บังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่รุกล้ำ การปล่อยปละละเลยให้มีการบุกรุกใช้ประโยชน์ในทรัพยากรที่ดินของรัฐ ผ่อนปรนการบังคับใช้กฎหมายใช้หลักการประนีประนอมแก่ผู้บุกรุกภายใต้นโยบายเปลี่ยนผู้บุกรุกให้เป็นผู้เช่า ทั้งหมดนี้ทำให้ไม่สามารถการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุในปัจจุบันได้ ปัจจุบันมีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 มีการกำหนดโทษอาญาสำหรับกรณีที่บุคคลเข้าไปในที่ราชพัสดุที่ไม่ได้รับอนุญาต พบว่ามีการนำไปบังคับใช้กับการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัดสุที่เป็นพื้นที่บุกรุกที่ได้รับการร้องเรียนและได้รับความสนใจจากประชาชนหรือข่าวทางสื่อมวลชน หรือพื้นที่ที่หน่วยรัฐยังต้องการนำไปใช้ประโยชน์ในทางราชการเนื่องจากการจัดการฟ้องร้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ราชพัสดุมิใช่ภารกิจหลักของหน่วยงานรัฐ ข้อจำกัดบุคลากรเจ้าหน้ารัฐ อำนาจหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาของเจ้าหน้าที่รัฐ ความเสี่ยงต่อการเผชิญกับผู้บุกรุกที่ราชพัสดุในกลุ่มนายทุน ผู้มีอิทธิพลที่มีอำนาจต่อรองและเป็นประเด็นคำถามจากผู้บุกรุกว่าฟ้องร้องดำเนินคดีขับไล่ผู้บุกรุกที่ราชพัสดุไปเพื่ออะไร แต่พื้นที่ซึ่งมีการบุกรุกโดยทั่วไป เช่นพื้นที่ของกรณีศึกษาทั้ง 4 พื้นที่นี้ยังไม่ปรากฏการนำมาบังคับใช้แต่อย่างใด นอกจากนี้ พบว่าเมื่อเปรียบเทียบลักษณะผู้กลุ่มบุกรุก การบุกรุกใช้ประโยชน์ที่ดินราชพัสดุที่มีความแตกต่างกัน มีผลต่อการจัดการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุที่มีความแตกต่างกันด้วย ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาที่ไม่เป็นธรรมและเป็นการเลือกปฏิบัติ การปกป้องคุ้มครองที่ดินของรัฐให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและเกิดความสงบสุขก็ไม่อาจที่จะประสบผลตามความมุ่งหมายของกฎหมายได้ จากการศึกษา ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ราชพัสดุ เพื่อความชัดเจนสำหรับทางปฏิบัติสามประการ ได้แก่ ประการแรก ควรกำหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายหรือมอบอำนาจหน้าที่ในการดูแลและบำรุงรักษาที่ราชพัสดุให้หน่วยงานรัฐผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุสามารถยื่นคำขอสอบเขตรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ดินราชพัสดุเพื่อทราบแนวเขตที่ราชพัสดุอย่างชัดเจน ถูกต้อง บริหารจัดการที่ราชพัสดุอย่างเต็มที่ ไม่เกิดความล่าช้ามีความคล่องตัวเกิดประสิทธิภาพ ประการที่สอง ควรกำหนดลักษณะรูปแบบการบุกรุกใช้ประโยชน์แบบใด ขนาดจำนวนพื้นที่ที่ถูกบุกรุก ควรจะดำเนินการกับผู้บุกรุกอย่างไร เพื่อกำหนดความรับผิดทางอาญาหรือกำหนดความเสียหายทางแพ่ง และประการสุดท้าย หากเป็นที่ราชพัสดุที่ถูกบุกรุกอยู่ในความดูแลครอบครองของหน่วยงานอื่น ผู้ศึกษาเห็นว่าไม่สามารถนำมาจัดใช้เช่าได้และให้เป็นอำนาจหน้าที่แก่หน่วยงานที่ใช้ประโยชน์จากที่ราชพัสดุนั้นโดยตรงในการตัดสินใจที่จะดำเนินการเพื่อจัดการสำหรับการบุกรุกที่ราชพัสดุนั้นได้โดยตรง และเกิดประสิทธิภาพในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์สำหรับการใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติและมาตรฐานที่ชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกันสามารถแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ราชพัสดุได้อย่างเป็นธรรม และเป็นการป้องการแทรกแซงเข้าถึงอำนาจและการเลือกปฏิบัติอันจะมีผลต่อการจัดการปัญหาการบุกุกที่ราชพัสดุแต่ละพื้นที่ดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบันen_US
Appears in Collections:LAW: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesis-1-ชฎาพร-บุญสุข-ลายน้ำ.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.