Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73815
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอริศรา เจริญปัญญาเนตร-
dc.contributor.authorชนัดดา ปีหลวงen_US
dc.date.accessioned2022-08-10T09:45:52Z-
dc.date.available2022-08-10T09:45:52Z-
dc.date.issued2022-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73815-
dc.description.abstractIn the study of Factors Influencing the planthopper’s outbreak in paddy field on different climate conditions with multi-temporal satellite data in Mae Khue Sub-District, Doi Saket District, Chiang Mai Province, the study has three objectives to achieve which 1) to classify the paddy field that is infected by brown-backed planthopper (BPH) and white-backed planthopper (WPH) on different climate conditions, 2) to analyze the root cause of the outbreak of BPH and WPH on different climate conditions, and 3) to implement the model to predict the outbreak area of BPH and WPH. The climate conditions that are investigated are including normal condition in 2014, El Niño condition in 2015, and La Niña condition in 2016, respectively. The paddy field is classified by visual interpretation and the infested paddy field is identified by computing a land surface temperature using Thermal Infrared Sensor (TIRS) Band 10 from Landsat 8-TIR and determining the potential temperature range using statistic approaches including mean and standard deviation. On the influencing factors, 6 factors are experimented including 1) Land Surface Temperature (LST) 2) plant’s humidity 3) soil moisture 4) an amount of Carbon Dioxide 5) Salinity Index (SI) and 6) Leaf Area Index (LIA), respectively. The three models are implemented based on three primary climates conditions using multiple linear regression analysis which the dependent variable (y) is the normal and infected areas, and the independent variables are 6 previously mentioned influencing factors. As a result, the study was shown that the potential temperature ranges of BPH and WPH outbreak area between 22.966 – 24.337 °C under the normal condition in 2014, 23.805 – 24.774 °C under the El Niño condition in 2015, and 24.528 – 25.602 °C under the La Niña condition in 2016, respectively. Also, the model accuracies of the prediction are 70.635%, 76.866%, and 69.072%, respectively. The model’s functions are resolved by the equation y = -17.736 + 0.4308 LST+ 7.091NDMI + 53.53SI - 1.209LAI (R-Squared = 0.872) in the normal model, y = -7.158 + 0.0640LST + 1.560CO2 + 17.77SI + 1.6241LAI (R-Squared = 0.777) in the El Niño model, and y = -26.41 + 1.0259 LST + 3.36 NDMI + 26.9CO2 (R-Squared = 0.612) in the La Niña model, respectively. Also, the normal model is indicated that LSI, plant’s humidity, SI, and LAI are the influencing factors of outbreaking and the El Niño model is indicated that LSI, the CO2 amount, SI, and LAI are the influencing factors, and the La Niña model is indicated that only LSI, soil moisture, and the CO2 amount are the influencing factors, respectively.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดen_US
dc.subjectสภาวะต่างสภาพภูมิอากาศen_US
dc.subjectตัวแบบทำนายพื้นที่ระบาดen_US
dc.subjectดาวเทียม Landsat 8en_US
dc.subjectพื้นที่นาข้าวen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดในนาข้าวในสภาวะต่างสภาพภูมิอากาศด้วยข้อมูลดาวเทียมหลายช่วงเวลา ในตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors influencing the planthopper’s outbreak in paddy field on different climate conditions with multi-temporal satellite data in Mae Khue Sub-District, Doi Saket District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเพลี้ยกระโดด-
thailis.controlvocab.thashข้าว -- โรคและศัตรูพืช-
thailis.controlvocab.thashแมลงศัตรูพืช-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกรรม -- การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดในนาข้าวในสภาวะต่างสภาพภูมิอากาศด้วยข้อมูลดาวเทียมหลายช่วงเวลา ในตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์การศึกษา 3 ประการ คือ 1) เพื่อจำแนกพื้นที่นาข้าวและพื้นที่ระบาดของเพลี้ยกระโดดในนาข้าวในสภาวะต่างสภาพภูมิอากาศ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดของเพลี้ยกระโดดในนาข้าวในสภาวะต่างสภาพภูมิอากาศ และ 3) เพื่อสร้างตัวแบบทำนายพื้นที่ระบาดของเพลี้ยกระโดดในนาข้าว โดยสภาวะต่างสภาพภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 3 สภาวะ คือ สภาวะปกติ (ปี 2557) สภาวะเอลนีโญ (ปี 2558) และสภาวะลานีญา (ปี 2559) ซึ่งวิธีการศึกษาในการจำแนกพื้นที่นาข้าว ใช้วิธีการจำแนกด้วยสายตา สำหรับการหาพื้นที่ระบาดใช้วิธีการคำนวณอุณหภูมิพื้นผิว จากภาพดาวเทียม Landsat 8-TIRS ช่วงคลื่นอินฟราเรดความร้อน แบนด์ 10 และการหาช่วงของอุณหภูมิที่มีโอกาสเกิดการระบาดด้วยวิธีการทางสถิติ โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการระบาด มีทั้งหมด 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยอุณหภูมิพื้นผิว 2) ปัจจัยความชื้นของพืช 3) ปัจจัยความชื้นในดิน 4) ปัจจัยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 5) ปัจจัยความเค็ม วิเคราะห์จากดัชนีความเค็ม (SI) และ 6) ปัจจัยดัชนีพื้นที่ใบ ในการสร้างตัวแบบทำนายพื้นที่ระบาดของเพลี้ยกระโดด ทั้ง 3 ตัวแบบ ในแต่ละสภาวะภูมิอากาศ ของทั้ง 3 ปี ใช้วิธีการทางสถิติ คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้น โดยมีตัวแปรต้น (y) คือ พื้นที่ที่มีการระบาดและไม่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดในนาข้าว ตัวแปรอิสระ (x) คือ ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดของเพลี้ยกระโดด ทั้งหมด 6 ปัจจัย ผลการศึกษาพบว่า ช่วงของอุณหภูมิที่มีโอกาสเกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยกระโดดหลังขาว พบว่า สภาวะอากาศปกติ (ปี 2557) มีช่วงของอุณหภูมิ 22.966 - 24.337 องศาเซลเซียส สภาวะอากาศเอลนีโญ (ปี 2558) มีช่วงของอุณหภูมิ 23.805 - 24.774 องศาเซลเซียส และสภาวะอากาศลานีญา (ปี 2559) มีช่วงของอุณหภูมิ 24.528 - 25.602 องศาเซลเซียส โดยมีร้อยละความถูกต้องที่ครอบคลุมพื้นที่ที่เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยกระโดดหลังขาวจริงของแต่ละปี คือ ร้อยละ 70.635 76.866 และ 69.072 ตามลำดับ จากการศึกษาได้ตัวแบบทำนายพื้นที่ระบาด ดังนี้ สภาวะภูมิอากาศปกติ (ปี 2557) y = -17.736 + 0.4308 LST+ 7.091NDMI + 53.53SI - 1.209LAI (R-Squared = 0.872) สภาวะภูมิอากาศเอลนีโญ (ปี 2558) y = -7.158 + 0.0640LST + 1.560CO2 + 17.77SI + 1.6241LAI (R-Squared = 0.777) และสภาวะภูมิอากาศลานีญา (ปี 2559) y = -26.41 + 1.0259 LST + 3.36 NDMI + 26.9CO2 (R-Squared = 0.612) ซึ่งจากตัวแบบสามารถสรุปได้ว่า ปี 2557 ปัจจัยด้านอุณหภูมิพื้นผิว ความชื้นของพืช ค่าความเค็ม และค่าดัชนีพื้นที่ใบ มีผลต่อการระบาดของเพลี้ยกระโดด ต่างกับปี 2558 ที่ปัจจัยด้านอุณหภูมิพื้นผิว ค่าความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ค่าความเค็ม และค่าดัชนีพื้นที่ใบ มีผลต่อการระบาด ในส่วนของปี 2559 มีเพียง 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านอุณหภูมิพื้นผิว ค่าความชื้นในดิน และค่าความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีผลต่อการระบาดของเพลี้ยกระโดดen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600431025_Thesis_Chanudda_Peeloung.pdf7.05 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.