Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73642
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทศพล ทรรศนกุลพันธ์-
dc.contributor.authorณัฐณิชา คุ้มแพทย์en_US
dc.date.accessioned2022-07-16T07:54:52Z-
dc.date.available2022-07-16T07:54:52Z-
dc.date.issued2021-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73642-
dc.description.abstractHumans had been influenced in various ways by digital media, most notably through electronic commerce (E-commerce), owing to the convenience of online transactions. Entrepreneurs did not need to open physical stores to market their products; they could do so via social media. Meanwhile, customers could also shop online through social media platforms rather than driving to the stores. Despite its ease, the transaction entailed risk for both parties. In several cases of e-commerce, buyers/customers were required to transfer the money to the seller, who will then delivered the products to the buyers. And, in some cases, buyers/ customers may have placed an order but have yet to pay the sellers or may have canceled the order entirely. To publicly condemn the customers' behavior, sellers published their conversations and information online, including the customers' names and surnames, personal photos, addresses, e-mail addresses, and the names of their social media accounts. As seen, social media was abused to breach rights to privacy and reputation, and this naturally led to social repercussions. Sellers may believe that they must warn other online sellers about their customers' bad behavior and discontinue selling them. The researcher examined the legal mechanisms by which buyers/ customers may seek redress for such incidents by analyzing various laws. The study found that the Personal Data Protection Act (PDPA), B.E. 2562 provided a grievance mechanism through the expert committee and consumer remedies, including civil, criminal, and administrative measures. Furthermore, customers were not expected to litigate their case, saving them both time and money. Both sellers and buyers would benefit from resolving the problems through the mediation process. The researcher recommends amending Section 78 of the Personal Data Protection Act B.E. 2562 to remove the ambiguity by granting data subject the rights to claim damages regardless of the amount of actual damages. Having stated that "... the court may impose reasonable punitive damages," this amendment allows courts the authority to increase the probability of customer remedy. Additionally, the study recommended amending Section 74 of the Personal Data Protection Act B.E. 2562 by providing the deadline for the expert committee to consider complaints about personal data breaches since the date of receipt of the complaint.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวและชื่อเสียงของผู้บริโภค: ศึกษากรณีการเปิดเผยเนื้อหาการสนทนาออนไลน์ในลักษณะประจานผู้บริโภคen_US
dc.title.alternativeA violation of consumer’s rights to privacy and reputation: a study of disclosure of online communication content to shame the consumersen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashความเป็นส่วนตัว-
thailis.controlvocab.thashสุจริต (กฎหมาย)-
thailis.controlvocab.thashละเมิด-
thailis.controlvocab.thashเสรีภาพส่วนบุคคล-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลต่อมนุษย์ในหลายๆ ด้านโดยเฉพาะด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-คอมเมิร์ซ (E-commerce) หรือการซื้อขายสินค้าออนไลน์ เนื่องจากการทำธุรกรรมมีความสะดวกสบายมากขึ้น โดยผู้ประกอบธุรกิจไม่จำเป็นต้องเปิดร้านเป็นของตัวเองแต่สามารถใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อขายสินค้าบนพื้นที่ออนไลน์ได้ และผู้บริโภคก็สามารถเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การซื้อขายสินค้าออนไลน์ส่งผลให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กันแบบตัวต่อตัว อีกทั้งธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไปในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ผู้บริโภคต้องเป็นฝ่ายโอนเงินให้กับผู้ประกอบธุรกิจก่อนจึงจะได้รับมอบสินค้า แนวปฏิบัติในรูปแบบเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมา กล่าวคือ ในกรณีที่ผู้บริโภคสั่งสินค้าแต่ไม่ได้โอนเงินไปให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือยกเลิกการสั่งสินค้า ผู้ประกอบธุรกิจบางรายจะนำข้อความการสนทนาออนไลน์ รามทั้งข้อมูลส่วนบุคคลบางอย่างที่ระบุตัวตนของผู้บริโภคได้มาประจานต่อสาธารณชนซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว เช่น ชื่อและสกุล รูปถ่ายบุคคล ที่อยู่ อีเมล์ หรือชื่อบัญชีสื่อสังคม ออนไลน์ เป็นต้น การกระทำดังกล่าวเป็นมาตรการลงโทษผู้บริโภค โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือในการทำให้ผู้บริโภคเสียชื่อเสียง โดยผู้ประกอบธุรกิจบางรายเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำในการเตือนผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ให้ระมัดระวังพฤติกรรมหรือหลีกเลี่ยงการขายสินค้าให้กับผู้บริโภครายนั้น ผู้เขียนได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาความเสียหายของผู้บริ โภคสำหรับกรณีดังกล่าวจากกฎหมายหลายฉบับ พบว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีมาตรการที่ครอบคลุมที่สุด เนื่องจากมีกลไกการเยียวยาผู้บริโภคหลายกลไก ได้แก่ การร้องเรียนผ่านคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ การเยียวยาผู้บริโภคทางแพ่ง และความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจ (ผู้ควบคุมข้อมูล ทั้งทางอาญา และทางปกครอง โดยผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จากการไม่ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ทั้งนี้หากผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจสามารถประนีประนอมได้สำเร็จตั้งแต่ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยจากกลไกการร้องเรียนก็จะเป็นประโยชน์ต่อคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมากที่สุด อย่างไรก็ดีผู้เขียนเห็นว่าควรแก้ไขมาตรการเยียวยาความเสียหายทางแพ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 78 เพื่อไม่ให้มีความคลุมเครือ โดยบัญญัติให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิได้รับค่าเสียหายเพื่อการลงโทษได้ โดยไม่ต้องอิงกับคำเสียหายที่แท้จริง โดยบัญญัติว่า "...ศาลอาจกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษได้ตามสมควร" เพื่อเป็นการให้อำนาจในการใช้ดุลพินิจของศาลได้อย่างเต็มที่และเพิ่มโอกาสในการได้รับการเยียวยาความเสียหายของผู้บริโภคในอีกทางหนึ่งด้วย และเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองช้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ว่าต้องพิจารณาเรื่องร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลากี่วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียน และต้องแจ้งผลการพิจารณาให้เจ้าของข้อมูลทราบภายในระยะเวลากี่วัน เพื่อให้กลไกการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเป็นไปด้วยความรวดเร็วและตรวจสอบได้en_US
Appears in Collections:LAW: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
592032003 ณัฐณิชา คุ้มแพทย์.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.