Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73543
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorคมสันติ โชคถวาย-
dc.contributor.authorนนทนันท์ มูลสารen_US
dc.date.accessioned2022-07-07T09:33:11Z-
dc.date.available2022-07-07T09:33:11Z-
dc.date.issued2020-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73543-
dc.description.abstractFacial reconstruction is one of the methods to identify dead bodies since 19th century. In the past, forming the clay on skull of dead bodies was applied by hand. However, the handmade replica require a long period and are hard to readjust when the forming process has finished. Nowadays, many computer software are available has exist and more intelligence to make facial reconstruction easier and faster to create a model. This research refers facial reconstruction methodology from Krogman’s method: a facial reconstruction method that was used in America in 19th century. Very important data needed for this method are facial soft tissue thickness, (FSTT). Then for this research, we collected FSTT data from CT Scan DICOM file at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital database. 45 cases were used, 22 of male and 23 of female. 15 anthropological landmarks of skull were measured and took the FSTT median values to create a 3D FSTT of skull on 3D model program. When analyzed the FSTT data, we found that the thickness landmark was Mid-philtrum about 1.0 centimeter, the thinnest was Rhinion about 0.26 centimeter and male’s FSTT was thicker than female in these 2 landmarks. Moreover the FSTT at Mid-philtrum will decrease reversely with aging years. To investigate perception in comparison with the model, we created a survey paper to ask 4 questions to 100 random people. We asked which real faces match with our 3D Facial Image Reconstruction, to prove that our facial reconstruction may cause a recognition in any people. The result is 11% of people could correctly match all pictures between real face images and 3D facial images reconstruction, 5% could match 3 of 4 faces, 34% could match 2 of 4 faces, 28% could match just one face and 22% could not match all of face images. The results show that there is a good potential in creating 3D Facial Image Reconstruction of Northern Thai people. To obtain a completely perfect facial image reconstruction, we suggested that there should have more FSTT of the whole face and studies of another facial organs such as mouth, ears, eyes and nose to make a complete face and get a better recognition in the future.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการจำลองภาพใบหน้า 3 มิติจากกะโหลกศีรษะของคนไทยในภาคเหนือตอนบนen_US
dc.title.alternative3D Facial image reconstruction from Upper Northern Thai skullen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการพิสูจน์เอกลักษณ์-
thailis.controlvocab.thashใบหน้า-
thailis.controlvocab.thashแบบจำลอง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการจำลองใบหน้า เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้เพื่อระบุตัวตนของร่างผู้เสียชีวิตตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ในอดีตจะใช้วิธีการปั้นดินลงบนกะโหลกของศพด้วยมือ อย่างไรก็ตามแบบจำลองทำมือใช้ระยะเวลานานและยากที่จะกลับมาแก้ไขเมื่อปั้นเสร็จแล้ว ในปัจจุบันเทคโนโลยีซอฟท์แวร์ของระบบคอมพิวเตอร์และปัญญาคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ทำให้การจำลองใบหน้าโดยการสร้างแบบจำลองง่ายขึ้นและใช้เวลาที่สั้นลง งานวิจัยชิ้นนี้อ้างอิงระเบียบวิธีการจำลองใบหน้าจากวิธีของครอคแมนซึ่งเป็นวิธีที่ใช้การจำลองใบหน้าในอเมริกาในศตวรรษที่ 19 โดยวิธีนี้ต้องอาศัยข้อมูลที่สำคัญมาก คือ ค่าความหนาของเนื้อเยื่อบนใบหน้า งานวิจัยนี้จึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูลความหนาของเนื้อเยื่อบนใบหน้าทั้งหมด 15 จุด จากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ส่วนศีรษะ อันมาจากฐานระบบข้อมูลผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 45 ตัวอย่าง เป็นเพศชายจำนวน 22 ราย และเพศหญิงจำนวน 23 ราย และนำข้อมูลค่าความหนาของเนื้อเยื่อบนใบหน้าที่วัดได้มาวิเคราะห์ พบว่าตำแหน่งที่มีค่ามัธยฐานความหนามากที่สุดคือตำแหน่ง Mid-philtrum ค่าความหนา เท่ากับ 1.0 เซนติเมตร และจุดที่มีค่ามัธยฐานความหนาน้อยที่สุดคือตำแหน่ง Rhinion ค่าความหนา เท่ากับ 0.26 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความหนาของเนื้อเยื่อบนใบหน้าระหว่างเพศทั้ง 15 ตำแหน่งของจุดกำหนดทางกายวิภาค พบว่าเกือบทุกตำแหน่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นตำแหน่ง Rhinion และ Mid-Philum ที่ค่าเฉลี่ยความหนาของเนื้อเยื่อบนใบหน้าระหว่างเพศชายและเพศหญิงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเพศชายมีค่าเฉลี่ยความหนาของเนื้อเยื่อบนใบหน้ามากกว่าเพศหญิงทั้ง 2 ตำแหน่ง และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความหนาของเนื้อเยื่อบนใบหน้าระหว่างช่วงอายุ พบว่าจุดกำหนดทางกายวิภาค ตำแหน่ง Mid-Philtrum มีค่าลดลงผกผันกับอายุที่มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากนั้นนำค่ากลาง (มัธยฐาน) ของความหนาของเนื้อเยื่อบนใบหน้ามาสร้างและจำลองเป็นผิวหนังบนใบหน้าในโปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ เมื่อได้ภาพจำลองใบหน้า 3 มิติ เพื่อการศึกษาการระลึกได้จากภาพใบหน้าจำลอง ผู้เขียนได้สร้างแบบสอบถาม 4 ข้อ โดยสุ่มจาก 100 คน เพื่อทดสอบว่าภาพจำลองใบหน้า 3 มิตินั้น จะสามารถทำให้บุคคลทั่วไปเกิดการระลึกถึงใบหน้าที่แท้จริงของกะโหลกศีรษะได้หรือไม่ ผลคือ มีผู้สามารถจับคู่ภาพได้ถูกต้องทั้ง 4 ใบหน้าคิดเป็น 11% มีผู้จับคู่ภาพได้ 3 ใบหน้าคิดเป็น 5% มีผู้จับคู่ภาพได้ 2 ใบหน้าคิดเป็น 34% มีผู้จับคู่ภาพได้ 1 ใบหน้าคิดเป็น 28% และมีผู้ที่ไม่สามารถจับคู่ภาพใบหน้าได้ถูกต้องเลยคิดเป็น 22% จากผลที่ได้นี้ แสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มในทางที่ดีที่จะสร้างภาพใบหน้าจำลอง 3 มิติของ คนไทยในภาคเหนือ เพื่อให้ได้การจำลองใบหน้าที่สมบูรณ์ ผู้เขียนเสนอให้มีการสำรวจและบันทึกข้อมูลความหนาของเนื้อเยื่อบนใบหน้าเพิ่มเติม รวมถึงรูปแบบอวัยวะบนใบหน้าอื่นๆ เช่น ดวงตา ริมฝีปาก หรือจมูก เพื่อให้ได้ใบหน้าที่สมบูรณ์และการระลึกถึงใบหน้าที่แท้จริงได้ดียิ่งขึ้นในงานวิจัยในอนาคตen_US
Appears in Collections:GRAD-Sciences and Technology: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
609931005 นนทนันท์ มูลสาร.pdf6 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.