Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73525
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเชิดศักดิ์ ใจแข็ง-
dc.contributor.advisorศุภกิจ คชาอนันต์-
dc.contributor.advisorพรสิริ พิจการ-
dc.contributor.authorสุวัจนี แนไพร-
dc.date.accessioned2022-07-06T10:12:30Z-
dc.date.available2022-07-06T10:12:30Z-
dc.date.issued2020-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73525-
dc.description.abstractTetraponera rufonigra (Hymenoptera, Formicidae, Pseudomyrmecinae) is well-known as the aggressive stinger and important in medicine since its toxin could induce anaphylaxtic reaction. Normally, ant venoms are consisted of varieties of proteins, alkaloids, hydrocarbon compounds and formic acid. These substances exert adverse effects especially paralytic, cytolytic, hemolytic and allergenic effects. The study of venom composition and its mechanisms have not been studied. The aim of this research was to identify venom protein composition and mechanism of inflammation by using RAW 264.7 macrophage cell lines. The ant samples were collected at Omkoi District, Chiang Mai Province, the genus and species were identified by taxonomist at the Natural History Museum. The protein composition was separated by electrophoresis (SDS-PAGE) technique and was identified by LC-MS/MS. The results showed that the T. rufonigra venom composed of seven protein toxin groups including venom protein (protein 5NUC, prolyl endopeptidase-like, aminopeptidase N, trypsin-3, venom protein, Phospholipase A2), transcription activator/regulation protein (transcriptional activator cubitus interruptus), cell cycle control protein (growth arrest and DNA damage-inducible proteins-interacting protein 1), transporter protein (ATP-binding cassette sub-family A member 3), structural protein (Paramyosin, long form/short form), ligand protein (protein jagged-1) and hypothetical protein. Those proteins used for prey tissue degradation and related to the ant carnivore behavior. Phospholipase A2 (PLA2) was major component in the venom and showed clear zone on egg yolk agar plates. This venom induced cytotoxic effect on RAW264.7 in a dose and time dependent manner. After RAW 264.7 macrophage cell lines were treated with the venom, cyclooxygenase-2 (COX-2) and plostaglandin E2 (PGE2) level were increased at first hour, which correlated with up-regulation of COX-2 (3-folds), followed increase 27-folds in 6 hours. Moreover, the microsomal prostaglandin E synthase-1 (mPGES-1) expression was slightly increased at first hour, following significantly increased 12 hours. The cytosolic phospholipases A2 (cPLA2) expression was not changed after treatment with the venom until 12 hours. The results presented that, the ant venom was induce inflammation in direct pathway though COX-2 and mPGES-1 expression. In this study only investigated mechanism of the in-vitro inflammatory by using RAW 264.7 macrophage cell line. Future study should be evaluated in-vivo to give more details for prevention and treatment exposure of T. rufonigra venom intoxication.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleกระบวนการอักเสบแบบเฉียบพลันของน้ำพิษ Tetraponera rufonigra ต่อเซลล์เพาะเลี้ยงมาโครฟาจ RAW264.7 ผ่านวิถีไซโคออกซีจีเนส- 2en_US
dc.title.alternativeAcute Inflammatory Process of Tetraponera rufonigra Venom on RAW 264.7 Macrophage Cell Lines Via Cyclooxygenase-2 Pathwayen_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashมดตะนอยอกส้ม-
thailis.controlvocab.thashมด -- พิษ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractมดตะนอยอกส้ม (Tetraponera rufonigra) จัดอยู่ในวงศ์ Formicidae วงศ์ย่อย Pseudomyrmecinae มดชนิดนี้มีพิษร้ายแรงก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด บวม แดง และมีไข้ นอกจากนี้ยังมีรายงานพบผู้ป่วยที่มีอาการแพ้พิษของมดชนิดนี้อย่างรุนแรง สำหรับพิษมดโดยทั่วไปนั้นประกอบด้วยโปรตีน กรดฟอร์มิก แอลคาลอยด์ และองค์ประกอบอื่น ๆ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้เหยื่อเป็นอัมพาต มีความเป็นพิษต่อเซลล์ เม็ดเลือดแดงแตก และก่อให้เกิดภูมิแพ้ ปัจจุบันการศึกษาส่วนประกอบในน้ำพิษและกลไกการออกฤทธิ์ของน้ำพิษมดตะนอยอกส้มยังไม่มีการศึกษา ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อระบุชนิดของโปรตีนในน้ำพิษ และศึกษากลไกลการอักเสบของน้ำพิษมดโดยใช้เซลล์เพาะเลี้ยงมาโคฟาจ ตัวอย่างมดถูกเก็บจากพื้นที่ในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และระบุชนิดโดยนักอนุกรมวิธาน จากนั้นน้ำพิษมดตะนอยอกส้มถูกแยกด้วยวิธีอิเล็กโตรโฟรีซิส และระบุชนิดของโปรตีนด้วยเทคนิคอิเล็กโตรสเปรย์ แมสสเปกโตรเมตรี ผลการศึกษาพบว่าหลังจากทำการแยกน้ำพิษพบแถบโปรตีนทั้งสิ้น 7 แถบ เมื่อนำแถบโปรตีนไปวิเคราะห์พบว่าประกอบด้วยโปรตีนทั้งหมด 12 ชนิด ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 7 กลุ่มดังนี้คือกลุ่มโปรตีนก่อพิษ ประกอบไปด้วย 5 นิวคลีโอทิเดส โพรพิล เอนเพปทิดเดส เอ็น-อะมิโนเพปทิเดส ทริปซินและฟอสโฟไลเปส เอ2 กลุ่มที่สองคือกลุ่มกระตุ้นกระบวนการทรานสคิปชันหรือโปรตีนควบคุม ประกอบไปด้วยโปรตีนที่กระตุ้นกระบวนการทรานสคิปชัน คิวไบตัส อิเตอร์รัพตัส กลุ่มที่สามโปรตีนที่ควบคุมกระบวนการแบ่งเซลล์ได้แก่โปรตีนที่ทำหน้าที่หยุดการแบ่งเซลล์และโปรตีนที่เหนี่ยวนำการทำลายดีเอ็นเอ กลุ่มที่สี่โปรตีนขนส่งสาร กลุ่มที่ห้าโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างประกอบไปด้วย พาราไมโอซินแบบยาวและสั้น กลุ่มที่หกโปรตีนลิแกนด์คือโปรตีนแจ็ค-1 และ กลุ่มที่เจ็ดคือโปรตีนที่ไม่ทราบหน้าที่ โปรตีนส่วนใหญ่ที่พบในน้ำพิษมดตะนอยอกส้ม มีฤทธิ์ทำให้เหยื่อเป็นอัมพาตและทำให้เกิดการอักเสบ เนื่องจากในน้ำพิษของมดชนิดนี้พบเอนไซม์ฟอสโฟไลเปสเอ2 จึงทำการทดสอบฤทธิ์ของเอนไซม์ชนิดนี้โดยใช้ไข่แดง (egg yolk agar plate) ผลพบว่าเอนไซม์ฟอสโฟไลเปสเอ2 ออกฤทธิ์ตัดพันธะเอสเทอร์ในไข่แดงทำให้เกิดบริเวณโซนใสขึ้น และการศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยงมาโครฟาจพบว่าที่ความเข้มข้นมากขึ้นและเวลาที่นานขึ้นมีผลให้การรอดชีวิตของเซลล์ลดลง เมื่อใช้น้ำพิษมดกระตุ้นเซลล์เพาะเลี้ยงมาโครฟาจพบว่าเซลล์มีการหลั่งไซโคลออกซีจีเนส-2 และพลอสตราแกลนดินอี2 เพิ่มขึ้นซึ่งสัมพันธ์กับการแสดงออกของยีน ไซโคลออกซีจีเนส-2ที่เพิ่มขึ้น 3 เท่าในชั่วโมงแรก และมีการแสดงออกเพิ่มขึ้นถึง 27 เท่าเมื่อเวลาผ่านไป 6 ชั่วโมง แต่ถึงอย่างไรก็ตามพบว่าการแสดงออกของยีนไมโครโซมอลพลอสตราแกลนดินอี1ซินเทส เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในชั่วโมงแรก และเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเวลาผ่านไป 12 ชั่วโมง สำหรับยีนไซโตโซลิคฟอสโฟไลเปสเอ2 พบว่าไม่มีการแสดงออกของยีนดังกล่าว จากผลการศึกษาทั้งหมดสรุปได้ว่าน้ำพิษของมดตะนอยอกส้มก่อให้เกิดการอักเสบแบบเฉียบพลันโดยผ่านทางการแสดงออกของยีนไซโคลออกซีจีเนส-2 และไมโครโซมอลพลอสตราแกลนดินอี1ซินเทส ในการศึกษานี้เป็นการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ในหลอดทดลองซึ่งได้เลือกศึกษาเฉพาะเซลล์มาโครฟาจ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาถึงกลไกการเกิดพิษในสัตว์ทดลองเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดพิษและกลไกการเกิดพิษเพื่อนำข้อมูลมาใช้ป้องกันและรักษาอาการจากการได้รับพิษมดตะนอยอกส้มต่อไปen_US
Appears in Collections:MED: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600731038 สุวัจนี แนไพร.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.