Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73523
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุษรี เพ่งเล็งดี-
dc.contributor.authorฐณธรณ์ กันโทen_US
dc.date.accessioned2022-07-06T10:04:14Z-
dc.date.available2022-07-06T10:04:14Z-
dc.date.issued2020-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73523-
dc.description.abstractThe objective of this research was to evaluate the effectiveness of using the Three Levels of Thinking (macro, micro, and symbolic levels) with animation on students’ conceptual understanding of the separation of substances including evaporation, crystallization, simple distillation, and paper chromatography. This study compared pre and post tests of 30 eighth grade students during the first semester of the 2020 academic year in Chiang Mai Province.The instrument used was a two tier diagnostic test for measuring students’ scientific conceptual understanding which consisted of twenty four items.Data were analyzed using normal distribution statistics, including mean, standard deviation, percentage, and t test. It was found that: 1) students' over all post test scores for scientific conceptual understanding were significantly higher than their pre test scores (t = .05).Initially, only 2.08% of students demonstrated the highest level of understanding, i.e., sound understanding, (SU) on the pre test. The post test showed 69.72% of students at the SU level.2) within the four topics in each level investigated, students' post test scores for conceptual understanding were significantly higher than their pre test scores (t = .05). The students' pre test scores for sound understanding (SU) was 2.08% for the macro level, 0.00% for the micro level, and 5.83% at the symbolic level. The posttest showed SU scores at 69.72%, 68.33%, and 72.92%, respectively. The results suggest that applying three levels of thinking with animation promotes students' scientific conceptual understanding of the separation of substance.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการประยุกต์ใช้แนวคิด 3 ระดับ ร่วมกับแอนิเมชันเพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง การแยกสารen_US
dc.title.alternativeApplying three levels of thinking with animation to develop secondary school students' scientific conceptual understanding of the separation of substanceen_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)-
thailis.controlvocab.thashความคิดรวบยอด-
thailis.controlvocab.thashการศึกษา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิด 3 ระดับ ร่วมกับแอนิเมชัน เรื่อง การแยกสาร ประกอบด้วยเรื่อง การระเหยแห้ง การตกผลึก การกลั่นอย่างง่าย และโครมาโทกราฟีแบบกระดาษ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 24 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบวัด 2 ชั้น (two tier) คือ ชั้นที่ 1 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และชั้นที่ 2 เป็นการอธิบายเหตุผลประกอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละและ การทดสอบทีแบบกลุ่มไม่อิสระ (t-test) ที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังเรียนนักเรียนมีคะแนนความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยโดยรวมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05 และเมื่อจำแนกตามประเภทความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนผลรวมร้อยละกลุ่มความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอยู่ในกลุ่มมโนทัศน์สมบูรณ์ (SU) ร้อยละ 2.08 หลังเรียนนักเรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์โดยรวมในกลุ่มมโนทัศน์สมบูรณ์ (SU) ร้อยละ 69.72 และ 2) หลังเรียนนักเรียนมีคะแนนความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยในแต่ละระดับ ได้แก่ ระดับมหภาค ระดับอนุภาค และระดับสัญลักษณ์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05 และเมื่อจำแนกตามประเภทความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนผลรวมร้อยละกลุ่มความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอยู่ในกลุ่มมโนทัศน์สมบูรณ์ (SU) ร้อยละ 0.42, 0.00 และ 5.83 ตามลำดับ หลังเรียนนักเรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์โดยรวมในกลุ่มมโนทัศน์สมบูรณ์ (SU) เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.92, 68.33 และ 72.92 ตามลำดับ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การประยุกต์ใช้แนวคิด 3 ระดับ ร่วมกับแอนิเมชัน สามารถส่งเสริมความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง การแยกสาร ได้เป็นอย่างดีen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600232065 ฐณธรณ์ กันโท.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.