Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73474
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพจนา พิชิตปัจจา-
dc.contributor.authorทิพากร ค่ำสุริยาen_US
dc.date.accessioned2022-06-30T09:51:05Z-
dc.date.available2022-06-30T09:51:05Z-
dc.date.issued2021-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73474-
dc.description.abstractThe objectives of this study are 1) to study the process of resolving complaints; and 2) to analyze the relationship between institutional factors and the success of complaint resolution of Damrongdham Center, Hangdong District, Chiang Mai Province. This study uses a quantitative research method. The researcher collects 279 complaints having completed details and conducts the non-linear multiple regression analysis with the binary model to test the by potheses. The findings of the operation process show that, after receiving the complaints, they will be reported to the Chief District, and then those will be assigned to the Minor Chief District officer. With regards to the further process, if the complaints can be handled by the center, they will be directly assigned to the Damrongdham Center officers. On the other hand, if the complaints could not be dealt with by the center, they will be reported to other relevant departments. The officers will follow up the process and inform the complainants periodically. The findings of the institutional factors show that, first, when some anonymous complainants or groups submit complaints, the issues are more successfully to be resolved rather than those filed by the identified persons. Second, the complaints against government agencies or officials and complaints about land issues are significantly more difficult to be resolved than others. Finally, this study also finds that the complaints filed between the fiscal year of 2017 and 2019 are significantly difficult to be resolved by the center compared to the fiscal year of 2015. According to the results, this study suggests that the Dhamrongham Center of Hang Dong District would enhance the process of resolution for the complicated complaints, including the complaints against government agencies or officials and complaints about land issues. There would streamline rules and regulations associated with the process to enhance efficiency and effectiveness. In the case of government agency issues, the center would construct the process of witness protection. In short, it is unnecessary to publicly identify the personal identity of appellants.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสถาบันกับความสำเร็จในการแก้ไขเรื่องร้องเรียนของศูนย์ดำรงธรรม อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeThe Relation between institutional factors and success complaint solution of Damrongdham Center, Hang Dong District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashศูนย์ดำรงธรรม -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashข้อร้องเรียนของผู้บริโภค -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของศูนย์ดำรงธรรม อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสถาบันกับความสำเร็จในด้านการแก้ไขเรื่องร้องเรียนของศูนย์ดำรงธรรม อำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลเรื่องร้องเรียนของศูนย์ดำรงธรรมทั้งหมดจำนวน 327 เรื่อง ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 -ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เรื่องร้องเรียนที่มีข้อมูลกรบถ้วนจำนวน 279 เรื่อง และใช้สถิติการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุไม่เป็นเส้นตรงตัวแบบการวิเคราะห์ตัวแปรหุ่นในการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาค้านกระบวนการดำเนินงาน พบว่า เมื่อศูนย์ดำรงธรรมอำเภอหางดง ได้รับเรื่องร้องเรียนของประชาชน ผ่านทางช่องทางต่างๆ ฝ่ายรับเรื่องจะพิจารณาเสนอให้นายอำเภอในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ เพื่อพิจารณาสั่งการและมอบหมายให้สำนักงานศูนย์ดำรงธรรมโดยปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครองเป็นผู้รับผิดชอบ หากพบว่าเรื่องร้องเรียนอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอสามารถแก้ไขได้เอง ก็จะวินิจฉัยสั่งการให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการและรายงานผลให้ทราบภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่หากพบว่าเรื่องที่ดำเนินการศูนย์ดำรงธรรมไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากเกินศักยภาพก็ให้รายงานผลกลับมายังนายอำเภอเพื่อพิจารณาประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และติดตามผลการดำเนินการเป็นระยะพร้อมทั้งรายงานให้ผู้ร้องเรียนและจังหวัดเชียงใหม่ทราบต่อไป ผลการศึกษาในส่วนของปัจจัยเชิงสถาบัน พบว่า 1) ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้ร้องเรียนนั้นหากผู้อื่นเรื่องร้องเรียนยื่นเรื่องด้วยการไม่ระบุตัวตนหรือการรวมกลุ่มกันเพื่อยื่นเรื่องร้องเรียน มีแนวโน้มที่จะแก้ไขได้สำเร็จมากกว่าการระบุตัวตนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ปัจจัยเชิงสถาบันที่ส่งผลต่อการแก้ไขเรื่องร้องเรียนของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอหางดง ได้แก่ เรื่องร้องเรียนหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาที่ดิน เป็นประเด็นที่ดำเนินการแก้ไขได้เป็นผลสำเร็จยากกว่าเรื่องการแจ้งเบาะแส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ยังพบว่าเรื่องร้องเรียนที่เกิดใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ถึง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จะแก้ไขได้ยากกว่าเรื่องร้องเรียนที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ได้แก่ ควรพิจารณาปรับปรุงกระบวนการทำงานขั้นตอนต่างๆโดยเฉพาะกับเรื่องร้องเรียนที่ประเด็นมีความซับซ้อนอันได้แก่ เรื่องร้องเรียนหน่วยงานของรัฐ และปัญหาที่ดิน ซึ่งอาจมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบขั้นตอนในการดำเนินงานให้เกิดความรวคเร็วและลดขั้นตอนต่างๆ ลง อีกทั้งในกรณีที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการร้องเรียนหน่วยงานของรัฐคารจะต้องมีการคุ้มครองผู้ร้องเรียนเพื่อให้ผู้ร้องเรียนเกิดความปลอดภัยและสามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการดำเนินการได้อย่างเต็มที่ และไม่จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ร้องเรียนระบุตัวตนอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621932008 ทิพากร ค่ำสุริยา.pdf980.32 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.