Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73462
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกรรณิกา แซ่ลิ่ว-
dc.contributor.advisorเยาวเรศ เชาวนพูนผล-
dc.contributor.authorพรทิพย์ เรืองแก้วen_US
dc.date.accessioned2022-06-27T10:48:05Z-
dc.date.available2022-06-27T10:48:05Z-
dc.date.issued2020-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73462-
dc.description.abstractThe objectives of this independent study were to investigate consumers’ purchase behavior of Thai strawberries in Bangkok Metropolis, to study consumers’ purchase attitudes of Thai strawberries in Bangkok Metropolis, and to explore marketing factors affecting consumers’ purchase of Thai strawberries in Bangkok Metropolis. The sample was 400 consumers. Descriptive statistics were used to measure consumers’ market attitudes through a Likert scale. Chi-square was used as statistics to analyze the relationship between consumers’ marketing attitude and consumers’ purchase behavior of Thai strawberries. The results of this study indicated as follows: in terms of consumers’ purchase behavior of Thai strawberries, most of the respondents were females, with a BMI less than 18.5, aged between 20 and 29 years old, graduated with a bachelor's degree and worked as employees, and earned monthly income below 15,000 baht. In terms of consumers’ purchase behavior of fresh Thai strawberries, most of the respondents purchased fresh Thai strawberries for themselves. The reason of purchase was to consume fresh Thai strawberries. The frequency of purchase was once-twice a year. The purchase volume was 500 grams each time. The cost of purchase was approximately 101 - 500 baht each time. The most popular place to purchase was fresh market. They preferred purchasing fresh Thai strawberries once seen. In terms of the characteristics of the selected fresh Thai strawberries, most of the respondents preferred selecting fruits with a size of about five-baht coin, entire red fruits with heart share, sweet and sour taste, crispy outside, juicy inside attribute. They preferred purchasing Thai Royal 80 varieties. An influential person for purchase decision was friends/colleagues. The main source of information was from family/relatives. Before making a purchase decision, they searched for more information about strawberry certification standards such as organic, toxic-free certification, etc. They focused on the price before purchasing. After purchasing, most of them recommended others to purchase fresh Thai strawberries. When four marketing mix factors were considered, product, price, place, and promotion were at the high level. A factor with the highest mean was product with a mean of 4.03 and the lowest mean factor was place with a mean of 3.81. Marketing factors significantly affected consumers’ purchase behavior of strawberries in Bangkok Metropolis. Attitude towards product in terms of increased storage life by packaging was related with purchase frequency and volume with a statistical significance level. In terms of attitude towards price, reasonable price for quality was related with purchase selection, frequency, and volume with a statistical significance level. In terms of price, variety of price levels to match with product quality was related with purchase selection, frequency, volume, and size of fruits with a statistical significance level. In terms of place, ease-of-purchase was related with purchase selection, frequency, volume, and size of fruits with a statistical significance level. Attitude towards convenient location near house was related with purchase selection with a statistical significance level. In terms of promotion, freshness guarantee was related with purchase selection with a statistical significance level. Safety guarantee was related with purchase selection, frequency, and volume with a statistical significance level.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสตรอว์เบอร์รีไทยของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeFactors affecting consumers' purchase of Thai Strawberry in Bangkok Metropolisen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมผู้บริโภค -- กรุงเทพฯ-
thailis.controlvocab.thashบริโภคกรรม (เศรษฐศาสตร์)-
thailis.controlvocab.thashสตรอว์เบอร์รี -- การจัดซื้อ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงพฤติกรรมการซื้อสตรอว์เบอร์รีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาทัศนคติผู้บริโภคของการซื้อสตรอว์เบอร์รีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อทราบถึงปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสตรอว์เบอร์รีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้สถิติพรรณนา วัดทัศนคติทางการตลาดของผู้บริโภคด้วยมาตราวัดของลิเคิร์ท และการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างทัศนคติทางการตลาดกับพฤติกรรมการเลือกซื้อสตรอว์เบอร์รี ด้วยการวิเคราะห์ Chi-square ผลการศึกษาด้านพฤติกรรมการซื้อสตรอว์เบอร์รีของผู้บริโภค พบว่า ตัวอย่างผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 มีอายุอยู่ระหว่าง 20 – 29 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและประกอบอาชีพเป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัท และส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนตํ่ากว่า 15,000 บาท ในส่วนของพฤติกรรมการซื้อสตรอว์เบอร์รีไทยสด นั้น ส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะซื้อสตรอว์เบอร์รีไทยสดให้กับตัวเอง และซื้อเพื่อรับประทานสด นิยมซื้อปีละ 1-2 ครั้ง มีปริมาณการซื้อแต่ละครั้ง 500 กรัม และมีค่าใช้จ่ายในการซื้อสตรอว์เบอร์รีไทยสดแต่ละครั้งประมาณ 101 - 500 บาท โดยซื้อจากตลาดสดเป็นหลักและจะนิยมซื้อสตรอว์เบอร์รีไทยสดเมื่อเมื่อพบเห็น ในส่วนคุณลักษณะของสตรอว์เบอร์รีไทยสดที่เลือกซื้อนั้น พบว่า ตัวอย่างผู้บริโภคจะนิยมผลที่มีขนาดประมาณเหรียญห้าบาท และเลือกสตรอว์เบอร์รีที่มีสีแดงทั้งผล มีรูปทรงหัวใจ และมีรสหวานอมเปรี้ยว กรอบนอก ฉํ่านํ้าด้านใน โดยนิยมซื้อพันธุ์พระราชทาน 80 ซึ่งบุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อสตรอว์เบอร์รีไทยสดส่วนใหญ่ คือ เพื่อน/เพื่อนร่วมงาน โดยจะค้นหาข้อมูลสตรอว์เบอร์รีไทยสดจากครอบครัว/ญาติ เป็นหลัก และก่อนตัดสินใจซื้อสตรอว์เบอร์รีไทยสดจะนิยมค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานรับรองของสตรอว์เบอร์รี เช่น ออแกนิค ปลอดสาร เป็นต้น และจะให้ความสำคัญกับราคาก่อนการเลือกซื้อ และส่วนใหญ่เมื่อเลือกซื้อสตรอว์เบอร์รีไทยสดแล้วจะมีการแนะนำให้ผู้อื่นซื้อสตรอว์เบอร์รีไทยสด เมื่อพิจารณาถึงการให้ความสำคัญเกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาดทั้ง 4 ด้าน พบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการขายอยู่ในระดับสำคัญมาก โดยให้ความสำคัญทางด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.03 และให้ความสำคัญกับทางด้านช่องทางการจัดจำหน่ายน้อยที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสตรอว์เบอร์รีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญ โดยทัศนคติต่อปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการมีบรรจุภัณฑ์ที่ทำให้เก็บรักษาได้นาน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความถี่และปริมาณการซื้อ ทางด้านทัศนคติต่อปัจจัยด้านราคาเกี่ยวกับปัจจัยด้านราคาเหมาะสมกับคุณภาพ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเลือกซื้อ ความถี่ในการซื้อ และปริมาณการซื้อต่อครั้ง ในด้านปัจจัยราคามีหลายระดับตามคุณภาพของสินค้า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเลือกซื้อ ความถี่ในการซื้อ ปริมาณการซื้อต่อครั้ง และขนาดผลที่ซื้อ ในทางด้านทัศนคติด้านช่องทางจัดจำหน่ายเกี่ยวกับการหาซื้อได้ง่ายมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเลือกซื้อ ความถี่ในการซื้อ ปริมาณที่ซื้อและขนาดผลที่ซื้อ ในขณะที่ทางด้านทัศนคติในด้านการหาซื้อได้สะดวกและใกล้บ้าน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการเลือกซื้อ ส่วนทัศนคติด้านการส่งเสริมการขาย โดยทางด้านการรับประกันความสด มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการเลือกซื้อ และในด้านการรับประกันความปลอดภัยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเลือกซื้อ ความถี่ในการซื้อ และปริมาณการซื้อต่อครั้งen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590832025 พรทิพย์ เรืองแก้ว.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.