Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72131
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Dr. Charin Mangkhang-
dc.contributor.advisorAsst. Prof. Dr. Sawaeng Saenbutr-
dc.contributor.advisorAsst. Prof. Dr. Chetthapoom Wannapaisa-
dc.contributor.authorKumpol Vongsatanen_US
dc.date.accessioned2021-06-08T09:29:22Z-
dc.date.available2021-06-08T09:29:22Z-
dc.date.issued2019-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72131-
dc.description.abstractThe research on “Teaching Innovation for Global Citizenship in Junior High Schools” was conducted by using research and development process. The research aimed to 1) synthesize the elements and indicators of the teaching innovation for global citizenship in junior high schools, 2) create the teaching innovation for global citizenship in junior high schools, and 3) study the results of the teaching innovation for global citizenship in junior high schools. The sample group used in this research consisted of three social studies teachers from Sacred Heart College and 72 students from 3 classrooms studying in grade 9 in this school.The research instruments consisted of the teaching innovation for global citizenship in junior high schools, the summary form of the elements and indicators of the teaching innovation for global citizenship in junior high schools, the evaluation form of the teaching innovation for global citizenship in junior high schools and the manual of using the teaching innovation for global citizenship in junior high schools, lessons plan, the test on the learning achievement evaluation, the evaluation of attitude towards the teaching innovation for global citizenship in junior high schools, and the evaluation of global citizenship skills for junior high school students. The data analysis was comprised of percentage, means, standard deviation, and content analysis. The results demonstrated that: 1. The elements of the teaching innovation for global citizenship consisted of 9 elements which were 1) principles, 2) objectives, 3) instructional process, 4) the measurement and evaluation, 5) the conditions of using social studies, 6) contents, 7) social system, 8) responding principles, and 9)learning supports. In addition, the elements of global citizenship consisted of 4 main elements with 75 indicators. The elements were 1) moral and ethics values with 29 indicators, 2) social participations with 20 indicators, 3) skills and abilities with 15 indicators, and 4) knowledge with 11 indicators. 2. The developed teaching innovation for global citizenship for junior high schools was called “ACROCA Model.” It comprised of the elements which were 1) principles, 2) objectives, 3) instructional process, 4) the measurement and evaluation, 5) the conditions of using social studies, 6) contents, 7) social system, 8) responding principles, and 9) learning supports. There were 6 steps of the instructional process which were Awareness: A, Concept Development Step: C, Reflection and Discussion: R, Organizing Knowledge Step: O, Construction and Communication: C and Application: A. The efficiency of the teaching innovation for global citizenship (E1/E2) was 80.09/82.60. The concordance of elements of the innovation together with the manual of using the teaching innovation for global citizenship in junior high schools was in high level. The overall propriety was in high level. The overall quality was in high level. 3. It was found that the mean score of attitude of the participants towards the teaching innovation for global citizenship in junior high schools was in high level and the skills of global citizenship in junior high schools was in medium level.en_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleTeaching Innovation for Global Citizenship in Junior High Schoolsen_US
dc.title.alternativeนวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลกระดับมัธยมศึกษาตอนต้นen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยเรื่อง นวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นการวิจัยที่ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของนวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อสร้างนวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนพระหฤทัยเชียงใหม่ จำนวน 3 คน และนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระหฤทัยเชียงใหม่ 3 ห้องเรียน จำนวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย นวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แบบสรุปลักษณะองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลกระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แบบประเมินนวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แบบประเมินองค์ประกอบและส่วนประกอบของนวัตกรรมและคู่มือการใช้นวัตกรรมการสอน เพื่อความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินเจตคติต่อนวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และแบบประเมินทักษะความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบของนวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลก มีจำนวน 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนการสอน 4) การวัดและการประเมินผล 5) เงื่อนไขการนำนวัตกรรมการสอนไปใช้ 6) สาระหลัก 7) ระบบสังคม 8) หลักการตอบสนอง และ9) สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน และองค์ประกอบของความเป็นพลโลก มี 4 องค์ประกอบใหญ่ จำนวน 75 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านค่านิยมและจริยธรรม จำนวน 29 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมต่อสังคม จำนวน 20 ตัวบ่งชี้ 3) องค์ประกอบด้านทักษะความสามารถ จำนวน 15 ตัวบ่งชี้ และ 4) องค์ประกอบด้านความรู้ จำนวน 11ตัวบ่งชี้ 2. นวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “ACROCA Model” มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนการสอน 4) การวัดและการประเมินผล 5) เงื่อนไขการนำนวัตกรรมการสอนไปใช้ 6) สาระหลัก 7) ระบบสังคม 8) หลักการตอบสนอง และ 9) สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน นวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็น พลโลกที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) ขั้นสร้างความตระหนัก (Awareness: A) 2) ขั้นพัฒนาแนวทางการคิด (Concept Development Step: C) 3) ขั้นสะท้อนคิดเห็นและอภิปราย (Reflection and Discussion: R) 4) ขั้นจัดระเบียบความรู้ (Organizing Knowledge Step: O) 5) ขั้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่และสื่อสาร(Construction and Communication: C) และ 6) ขั้นการประยุกต์ใช้ (Application: A) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของนวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เท่ากับ 80.09/82.60 องค์ประกอบและส่วนประกอบของนวัตกรรมและคู่มือการใช้นวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีความสอดคล้องรวมทุกด้านอยู่ในระดับ มาก และมีความเหมาะสมรวมทุกด้านอยู่ในระดับ มาก ในด้านคุณภาพของนวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รวมทุกด้านมีคุณภาพอยู่ในระดับ มาก 3. เจตคติต่อนวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของผู้เข้าร่วมทดลองใช้นวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับ เจตคติต่อนวัตกรรมการสอนเพื่อความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาพรวมอยู่ในระดับ มาก และทักษะความเป็นพลโลก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของผู้เรียน พบว่ามีค่าเฉลี่ยทักษะความเป็นพลโลก ภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลางen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULL.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.