Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72040
Title: การลดของเสียจากการแล่นประสานไม่สมบูรณ์ระหว่างท่อส่งสารทำความเย็นกับครีบในกระบวนการผลิตคอยล์เย็น
Other Titles: Reducing incomplete brazing defect between tube and fin in evaporator production processes
Authors: อัญญาพร วงศ์ตรีสิน
จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์
Authors: อัญญาพร วงศ์ตรีสิน
จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์
Keywords: คอยล์เย็น;การแล่นประสานไม่สมบูรณ์;การออกแบบการทดลอง;การลดของเสียในกระบวนการผลิต;Evaporator;Incomplete Brazing;Design of Experiments;Reducing defect in production processes
Issue Date: 2563
Publisher: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 27, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2563), 27-37
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียจากกระบวนการผลิตคอยล์เย็นโดยเลือกลดประเภทของเสียที่เกิดขึ้น สูงที่สุดในกระบวนการผลิต คือของเสียประเภทการแล่นประสานไม่สมบูรณ์ระหว่างท่อส่งสารทำความเย็นกับครีบ ซึ่งได้รวบรวมปัจจัยที่มีความเสี่ยงที่จะทำ ให้เกิดของเสียลักษณะดังกล่าวโดยใช้หลักการซิกซ์ซิกมา ในการปรับปรุงงาน และทำการออกแบบการทดลองเพื่อหาระดับของแต่ละปัจจัยที่เหมาะสมในกระบวนการผลิต เพื่อที่จะช่วยลดของเสียที่เกิดจากการแล่นประสานไม่สมบูรณ์ระหว่างท่อส่งสารทำความเย็นกับครีบ ก่อนทำการออกแบบการทดลองผู้วิจัยได้ปรับปรุง กระบวนการผลิต โดยทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ช่วยวางชิ้นงานก่อนเข้าไปในเตาแล่นประสาน เพื่อให้อุณหภูมิของชิ้นงานแต่ละจุดมีค่าใกล้เคียงกันหลังจากนั้น จึงทำการทดลองหาปัจจัยและระดับของปัจจัยที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิต ผลลัพธ์ที่ได้คือ ควรปรับปรุงปริมาณตัวช่วยแล่นประสานให้มีปริมาณ 1.5 กรัมต่อตารางเมตร อุณหภูมิชิ้นงานระหว่างอยู่ในกระบวนการแล่นประสาน 600 องศาเซลเซียส ความเร็วสายพาน 30 มิลลิเมตรต่อวินาทีซึ่งสามารถกำจัดของเสียลักษณะแล่นประสานไม่สมบูรณ์ระหว่างท่อส่งสารทำความเย็นกับครีบได้มีผลทำให้สัดส่วนของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตคอยล์เย็นลดลงจาก 1.43% เป็น 0.35% ต่อเดือน และสามารถลดต้นทุนการผลิตคอยล์เย็น ได้ประมาณ 980,000 บาทต่อเดือน This research aims to reduce the defect from evaporator production processes by reducing the most type of defect occurring in the production processes. Which is an incomplete brazing between tubes and fins. The risk factors of this defect are collected by Six Sigma principles to improve the study. The design of experiments was applied to identify the appropriate levels of each factors in the production processes to reduce the defect. Previously, the researchers have improved production process by changing holding workpiece equipment before entering the brazing furnace in order to make the temperatures of workpiece similar. Then, the factors and factors levels of the production processes were experimented. It was found that the ratio of the flux should be 1.5 grams per square meters. The temperature of the workpieces being brazed should be 600 degree Celsius. The speed of the belt should be 30 millimeters per second. These parameters could reduce the incomplete brazing defect. Accordingly, the conclusion of those aforementioned factors can reduce the percentage of defects in the evaporator production processes from 1.43% to 0.35% per month. The production cost could also be reduced for about 980,000 baht per month.
Description: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น ได้รับการยอมรับอยู่ในฐานข้อมูล Thailand Citation Index (TCI) กลุ่มที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
URI: https://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/27_3/03.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72040
ISSN: 2672-9695
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.