Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72005
Title: ปัจจัยทำนายการจัดการตนเองในผู้ที่ปวดหลังเรื้อรัง
Other Titles: Predicting factors of Self-management Among Persons with Chronic Back Pain
Authors: รุจาธร อินทรตุล
วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ
เบญญาภา พรมพุก
อภิชาติ กาศโอสถ
วิไลลักษณ์ วงศ์เจริญ
Authors: รุจาธร อินทรตุล
วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ
เบญญาภา พรมพุก
อภิชาติ กาศโอสถ
วิไลลักษณ์ วงศ์เจริญ
Keywords: การจัดการตนเอง;ผู้ที่ปวดหลังเรื้อรัง;ปัจจัยทำนาย;Self-management;Persons with Chronic Back Pain;Predicting factors
Issue Date: 2563
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 472-484
Abstract: อาการปวดหลังเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญทางสุขภาพในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุซึ่งจะมีผลต่อร่างกาย อารมณ์ เศรษฐานะ ตลอดจนคุณภาพชีวิต ดังนั้นการจัดการตนเองจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในบุคคลกลุ่มนี้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยทำนายการจัดการตนเองในผู้ที่ปวดหลังเรื้อรัง โดยศึกษาอำนาจการทำนายของ การสนับสนุนทางสังคม สมรรถนะแห่งตน และความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการจัดการตนเองในผู้ที่ปวดหลังเรื้อรัง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง จำนวน 400 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินการจัดการตนเอง 3) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม 4) แบบประเมินสมรรถนะแห่งตนในผู้ที่ปวดหลังเรื้อรัง และ 5) แบบประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพ ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมินทั้ง 4 ชุด โดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .81, .92, .80 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 62 มีการการจัดการตนเอง อยู่ในระดับสูง (Mean= 72.72, SD = 9.9) โดยการสนับสนุนทางสังคมและความรอบรู้ด้านสุขภาพ รวมทั้งอายุ เพศหญิง และระยะเวลาของการปวดหลัง สามารถร่วมทำนายการจัดการตนเองในผู้ที่ปวดหลังเรื้อรังได้ร้อยละ 35.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสิติ (p < .001) ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาลในการให้ความสำคัญกับการประเมินการสนับสนุนทางสังคมและความรอบรู้ทางสุขภาพ และควรมีการจัดทำโปรแกรมและสื่อเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการตนเองในผู้ที่ปวดหลังเรื้อรังต่อไป Chronic back pain is an important health problem in adult and older adult which severely affect patient’s physical, emotional, economic, and also their quality of life. Therefore, self-management is very important among these people. This study aimed to determine predictive factors of social support, self-efficacy, and health literacy on self-management among persons with chronic back pain. Four hundred persons with chronic back pain were purposively selected from the orthopedic outpatient department, the university hospital in the northern part of Thailand. Data were collected by four assessment tools, which consisted of five parts: 1) demographic data form, 2) Self-Management Scale 3) Social Support scale 4) Self-Efficacy for Chronic Back Pain Management Scale and 5) Health literacy Scale. Reliability of Social Support Scale yielded Cronbach’s Alpha coefficient of .81, .92, .80, .80, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and logistic regression. The results revealed that 62 percent of samples had a self-management scores at a high level (Mean= 72.72, SD = 9.90). The social support, heath literacy, age, male gender, and duration of chronic back pain can explain the self-management among persons with chronic back pain for 35.6% (p < .001). The results indicated that nurses can use these significant factors to enhance self-management. among persons with chronic back pain. Development of a program and media to improve health literacy based on these significant factors to improve self-management among persons with chronic back pain are suggested.
Description: วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/246480/168453
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72005
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.