Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72000
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorแสงอาทิตย์ วิชัยยาen_US
dc.contributor.authorเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุลen_US
dc.contributor.authorอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์en_US
dc.date.accessioned2021-02-05T02:29:37Z-
dc.date.available2021-02-05T02:29:37Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 386-397en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247966/168446en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72000-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดประจำปีสามารถพัฒนาความรู้และทักษะการปฏิบัติในเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยเกิดภาวะหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น อย่างไรก็ตามยังมีพยาบาลบางคนไม่สามารถเข้าร่วมการอบรมได้เนื่องจากต้องขึ้นปฏิบัติงานและมีข้อจำกัดของเวลาในการจัดอบรม การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นการเพิ่มโอกาสพยาบาลในการเข้าถึงการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดมากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดและประเมินความรู้ของพยาบาลในโรงพยาบาลฝางภายหลังการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 33 ราย ที่ได้จากการสุ่มมาจาก 3 แผนก ในโรงพยาบาลฝาง ผลลัพธ์ของการเรียนรู้สามารถประเมินได้จากแบบทดสอบความรู้ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .71 มีการเก็บข้อมูลในสองระยะ ระยะแรกเป็นการทดสอบนำร่องเพื่อประเมินประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่สองเป็นการทดสอบภาคสนามเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านการเรียนด้วยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คะแนนการทดสอบที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1.ดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด มีค่าเท่ากับ 89.36/93.33 ซึ่งหมายความว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้มีประสิทธิผลอยู่ในระดับที่พึงพอใจ 2.พยาบาลมีความรู้ในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดดีขึ้นภายหลังจากเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประมาณร้อยละ 76.70 ของกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนทดสอบมากกว่าร้อยละ 80 และที่เหลือ ของกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการทดสอบระหว่างร้อยละ 70 - 79 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถเพิ่มความรู้ของพยาบาลได้ ดังนั้นผู้บริหารโรงพยาบาลควรนำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้ไปใช้ในการเตรียมความรู้ของพยาบาลก่อนที่จะเข้าอบรมภาคปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพพทารกแรกเกิดซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาของการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดประจำปีลงได้ Annual newborn cardiopulmonary resuscitation (NCPR) training sessions can improve knowledge and skills in the event of respiratory failure or sudden cardiac arrest. However, some nurses are unable to participate in the whole CPR training session due to being on duty and limitation of time. The use of an electronic book (e-book) has provided increased opportunities for nurses to have better access to the NCPR training session. The objectives of this study were to develop a newborn CPR e-book and evaluate nurses’knowledge in newborn CPR after learned through this e-book. Participants were 33 nurses who were randomly selected from three departments in Fang Hospital. Learning outcomes were determined by a knowledge assessment test that was validated by an expert panel and had a reliability index of .71 There were two steps in the data collection process. First, a pilot test was conducted to assess the efficiency of the e-book. Secondly, a field test was performed to evaluate learning through the e-book. The test scores were analyzed by descriptive statistics. The results of study illustrated that: 1.The efficiency index of this newborn CPR e-book is 36/93.33, which means that the efficiency of the e-book is satisfactory. 2.Nurses improved their cognitive ability in newborn CPR practice after using the e-book. About 76.7% of the participants achieved test scores of more than 80% and the lowest test scores were between 70 to 79%. The study findings suggest that this newborn CPR e-book can be used to increase knowledge of nurses. Therefore, hospital administrators should use this e-book as a form of pre-course learning prior to attending a hand-on CPR skills session in order to shorten the duration of time needed at the annual newborn CPR training session.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการพัฒนาความรู้en_US
dc.subjectพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลฝางen_US
dc.subjectหนังสืออิเล็กทรอนิกส์en_US
dc.subjectการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดen_US
dc.subjectKnowledge Developmenten_US
dc.subjectProfessional Nurses in Fang Hospitalen_US
dc.subjectElectronic booken_US
dc.subjectNeonatal Resuscitationen_US
dc.titleการพัฒนาความรู้ของพยาบาลด้วยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดen_US
dc.title.alternativeDeveloping Knowledge of Nurses by Using the Neonatal Resuscitation Electronic Booken_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.