Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71982
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกวีวรรณ ใจกล้าen_US
dc.contributor.authorจินดารัตน์ ชัยอาจen_US
dc.contributor.authorมยุลี สำราญญาติen_US
dc.date.accessioned2021-02-05T02:29:36Z-
dc.date.available2021-02-05T02:29:36Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 217-229en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247945/168426en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71982-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractปัญหาการนอนหลับส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยวิกฤตเป็นอย่างมาก ทีมบุคลากรทางสุขภาพในหอผู้ป่วยวิกฤตควรให้การส่งเสริมการนอนหลับของผู้ป่วยเหล่านี้ การวิจัยเชิงพัฒนาและปฏิบัติการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับส่งเสริมการนอนหลับในผู้ป่วยวิกฤตและศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการส่งเสริมการนอนหลับในผู้ป่วยวิกฤต ศูนย์ศรีพัฒน์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาและการใช้แนวปฏิบัติของสภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย (NHMRC, 1999) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้ให้บริการทางสุขภาพซึ่งเป็นผู้ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกจำนวน 47 คนและ 2) ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตกลุ่มก่อนการใช้และกลุ่มที่มีการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก จำนวน 33 และ 55 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก และ 2) แบบรวบรวมผลลัพธ์ของการส่งเสริมการนอนหลับในผู้ป่วยวิกฤต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับส่งเสริมการนอนหลับในผู้ป่วยวิกฤต ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย สาระสำคัญ 6 หมวด ได้แก่ 1) การพิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย และจริยธรรม 2) การประเมินการนอนหลับ 3) การให้ความรู้เกี่ยวกับการนอนหลับ และวิธีการ การส่งเสริมการนอนหลับแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง 4) การจัดการเพื่อส่งเสริมการนอนหลับ 5) การติดตามการส่งเสริมการนอนหลับอย่างต่อเนื่องและการบันทึก และ 6) การพัฒนาคุณภาพบริการ 2. ผู้ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก ร้อยละ 82.4 ถึง 94.1 เห็นด้วยในระดับ “มาก” ต่อความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกไปใช้ 3. กลุ่มตัวอย่างที่มีการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อส่งเสริมการนอนหลับในผู้ป่วยวิกฤต มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพการนอนหลับสูงกว่ากลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในคืนที่ 1 ( = 67.3, S.D. = 24.28 และ = 57.2, S.D. = 23.53) และคืนที่ 2 ( = 71.43, S.D. = 21.88 และ = 45.9, S.D. = 26.99) Sleep problems greatly effect critically ill patients. Health care provider teams should promote healthy sleep among these patients. The developmental and operation study aimed to develop clinical practice guidelines (CPGs) for sleep promotion in critically ill patients and to test the effectiveness of implementing CPGs. The framework of this study is based on the Australian National Health and Medical Research Council guidelines for development and implementation (NHMRC, 1999).The participants consisted of 1) 47 health care providers who implemented CPGs 2) patients who were admitted to the intensive care unit before and during implementation of CPGs (33 and 55 participants, respectively).Data collection instruments consisted of 1) The CPGs Implementation Opinion Survey Form and 2) The Outcome Evaluation Form. Data were analyzed by using descriptive statistics. The results showed that: 1. The CPGs for sleep promotion among critically ill patients, Sriphat Medical Center, Faculty of Medicine, Chiang Mai University consisted of six major components including 1) protection of patient rights and ethics 2) sleep assessment of critically ill patients 3) education on sleep and sleep promotion strategies among health care providers 4) management to promote sleep 5) continuity of sleep promotion and documentation, and 6) improvement quality of care. 2. 82.4% to 94.1% of health care providers who implemented CPGs strongly agreed with the feasibility of the guidelines. 3. Participants in the CPGs implementation group had average sleep quality scores higher than those before CPGs implementation group from the first night ( = 67.3, S.D. = 24.28 and = 57.2, S.D. = 23.53) and the second night ( = 71.43, S.D. = 21.88 and = 45.9, S.D. = 26.99)en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการส่งเสริมการนอนหลับen_US
dc.subjectผู้ป่วยวิกฤตen_US
dc.subjectแนวปฏิบัติทางคลินิกen_US
dc.subjectคุณภาพการนอนหลับen_US
dc.subjectการรบกวนการนอนหลับen_US
dc.subjectsleep promotionen_US
dc.subjectcritically ill patientsen_US
dc.subjectCPGen_US
dc.subjectsleep qualityen_US
dc.subjectsleep disturbancesen_US
dc.titleประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อส่งเสริมการนอนหลับในผู้ป่วยวิกฤตen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of Clinical Practice Guidelines Implementation for Sleep Promotion Among Critically Ill Patientsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.