Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71979
Title: บริบททางสังคมวัฒนธรรมที่มีผลต่อการมารับบริการฝากครรภ์ ของหญิงตั้งครรภ์ชาวไทยภูเขา อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The Socio-Cultural Context Affecting the Antenatal Care Among Pregnant Hilltribe Women, Chai Prakan District, Chiang Mai Province
Authors: วิไลวรรณ เจนการ
เดชา ทำดี
วราภรณ์ บุญเชียง
Authors: วิไลวรรณ เจนการ
เดชา ทำดี
วราภรณ์ บุญเชียง
Keywords: บริบททางสังคม;วัฒนธรรม;การฝากครรภ์;หญิงตั้งครรภ์;ชาวไทยภูเขา;Social Context;Cultural;Antenatal care;Pregnant;Hilltribe
Issue Date: 2563
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 155-167
Abstract: การฝากครรภ์เป็นบริการพื้นฐานที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ รวมไปถึงการฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ และครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์โดยตรง โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่มีผลต่อการมารับบริการฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ชาวไทยภูเขา อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับ การฝากครรภ์ ความรู้เรื่องการมารับบริการฝากครรภ์ และทัศนคติเกี่ยวกับการมารับบริการฝากครรภ์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่า 0.85 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการมารับบริการฝากครรภ์ เท่ากับ 0.83 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการมารับบริการฝากครรภ์เท่ากับ 0.84 โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 142 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ เชิงเนื้อหา เพื่อหาข้อสรุปทั้งในภาพรวมและส่วนย่อยของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแต่ละประเด็น ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการมารับบริการฝากครรภ์ อยู่ในระดับน้อย และพบว่าทัศนคติเกี่ยวกับการมารับบริการฝากครรภ์ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับเห็นด้วย ในลำดับสุดท้าย ดังนั้นภายในชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ชาวไทยภูเขา ให้มีความรู้ และทัศนคติที่ดีต่อการตั้งครรภ์ รวมทั้งส่งเสริมให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนต่อการฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ชาวไทยภูเขา เพื่อให้เห็นความสำคัญของการฝากครรภ์และมาฝากครรภ์ครั้งแรกเร็วตามกำหนดภายใน 12 สัปดาห์ อีกทั้งจากการศึกษายังพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเชื่อในเรื่องที่มองไม่เห็น เช่น เรื่องผี เรื่องคนตาย เพราะเชื่อว่าผีทักลูกจะหลุด จึงนิยมฝากครรภ์หลัง 12 สัปดาห์ ดังนั้นภายในชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมความรู้และความเชื่อ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีการปรับเปลี่ยน ทัศคติ ทำให้มีทัศคติที่ดีต่อการตั้งครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์ และครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ This study uses mixed method, qualitative and quantitative study. The objective of the research is to study socio-cultural context affecting the antenatal care among pregnant hilltribe women in Chai Prakan District, Chiang Mai Province. Tools used to study quantitative data consist of questionnaires regarding general information, data involving antenatal care, knowledge in attending antenatal care service and attitude towards receiving antenatal care service which pass inspection in content validity by scholars value is equivalent to 0.85, confidence value of the questionnaire for knowledge regarding attending antenatal care service is equivalent to 0.83, confidence value of the attitude questionnaire regarding receiving antenatal care service is equivalent to 0.84. The sample group consists of 142 people. Analyze data by frequency distribution, percentage, mean and standard deviations. Tool used to study qualitative data is structured interview with the sample group of 8 people. Analyze data using content analysis to find proposition both overview and in the component of fact that occurs in each aspect. Research results found that: Majority of the sample group have knowledge regarding attending antenatal care service at low level and also found that attitude in attending antenatal care service of sample group level agree “attending first antenatal care within 12 weeks is important and beneficial” is in the least. Therefore, within the community together with related agencies should initiate activities to promote knowledge in pregnant hilltribe women to be knowledgeable and have good attitude towards pregnancy including encouraging families to participate in supporting antenatal care of pregnant hilltribe women in order to see the importance of antenatal care and attend first antenatal care within 12 weeks. The study also found that most of the sample group believe in intangible stories such as ghosts, the dead because they believe that if the ghosts address them, the baby would be gone so they tend to have antenatal care after 12 weeks. Hence, within the community together with related agencies should promote knowledge and belief in order for pregnant women to change attitude making positive attitude towards pregnancy within 12 weeks and meet 5 times according to the criteria.
Description: วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247934/168420
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71979
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.