Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71976
Title: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการจัดการตนเองของชาวไทยในพื้นที่สูง ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Other Titles: Factors Related to Self – Management Behaviors of Highlanders with Chronic Obstructive Pulmonary Disease
Authors: พวงเพชร ใจคำ
เดชา ทำดี
ศิวพร อึ้งวัฒนา
Authors: พวงเพชร ใจคำ
เดชา ทำดี
ศิวพร อึ้งวัฒนา
Keywords: พฤติกรรมการจัดการตนเอง;ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง;ชาวไทยในพื้นที่สูง;โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง;Self-Management Behaviors;Related Factors;Highlanders;Chronic Obstructive Pulmonary Disease
Issue Date: 2563
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 143-154
Abstract: พฤติกรรมการจัดการตนเองเป็นเรื่องสำคัญในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้สามารถควบคุมอาการของโรคด้วยตนเอง การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการจัดการตนเองของชาวไทยในพื้นที่สูงที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวไทยในพื้นที่สูงที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 110 ราย ที่เข้ามารับการรักษาที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของโรงพยาบาลแม่สรวย จังหวัดเชียงราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการจัดการตนเอง แบบสัมภาษณ์ความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัวในการจัดการตนเองและแบบสัมภาษณ์ การสนับสนุนทางสังคมของชาวไทยในพื้นที่สูงที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีค่าดัชนีความตรงเนื้อหาเท่ากับ 0.95 0.91 และ 0.94 ตามลำดับ และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 0.82 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการจัดการตนเองโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง 4.31 (S.D. = 0.40), โดยพฤติกรรม การจัดการตนเองรายด้าน ได้แก่ ด้านการรักษา ด้านบทบาทที่ดำรงชีวิตประจำวัน และด้านอารมณ์มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง 3.71 (S.D. = 0.70) 4.70 (S.D. = 0.40) และ 4.53 (S.D. = 0.46) ตามลำดับ ความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัวในการจัดการตนเองโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง 0.82 (S.D. = 0.12) และรายด้าน ได้แก่ ด้านการรักษา ด้านอารมณ์ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง 0.85 (S.D. = 0.15) และ 0.89 (S.D. = 0.15) ส่วนความรู้เกี่ยวกับโรคและด้านบทบาทที่ดำรงชีวิตประจำวันมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง 0.65 (S.D. = 0.18) และ 0.67 (S.D. = 0.21) และค่าคะแนนเฉลี่ยการสนับสนุนทางสังคมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง 3.48 (S.D. = 0.38) โดยความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัวในการจัดการตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการจัดการตนเองในระดับต่ำ ส่วนการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการจัดการตนเองในระดับปานกลาง (r = .292 และ .315, p < .01) ตามลำดับ Self-management behavior is of vital importance in persons with chronic obstructive pulmonary disease for controlling symptoms by themselves. The purpose of this descriptive research study was to examine factors related to the self-management behaviors of highlanders with chronic obstructive pulmonary disease. The sample consisted of 110 highlanders receiving care at the COPD clinic of Maesuai Hospital in Chiang Rai province. The subjects were selected based on the inclusion criteria. Research instruments were interviewed forms including a personal data form, a self-management behavior scale, a knowledge scale, and a social support scale. The content validity showed values of 0.95, 0.91, and 0.94 for each scale, respectively. The reliability of all questionnaires demonstrated values of 0.78, 0.82, and 0.96, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation coefficient. The results of the study were as follows. The average score for overall self-management behaviors was high at 4.31 (S.D. = 0.40), with sub-dimensions including medical self-management, role management, and emotional management behaviors also high at 3.71 (S.D. = 0.70), 4.70 (S.D. = 0.40), and 4.53 (S.D. = 0.46), respectively. The average score for overall knowledge on disease and self–management practices was at a high level, 0.82 (S.D. = 0.12), with sub-dimensions including medical self-management and emotional management also high at 0.85 (S.D. = 0.15) and 0.89 (S.D. = 0.15). The mean for the dimension of knowledge on disease and role were at a moderate level, 0.65 (S.D. = 0.18) and 0.67 (S.D. = 0.21), and the average social support scores were high at 3.48 (S.D. = 0.38). Knowledge on disease and self-management practices had a low positive correlation with self-management behaviors, while social support had a moderate positive correlation with self-management behaviors (r = .292 and .315, p < .01, respectively).
Description: วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247933/168419
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71976
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.