Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71971
Title: ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปฏิบัติการบริหารกล้ามเนื้อ สำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
Other Titles: Effect of the Empowerment Program on Muscle Exercise Practicing for Physical Disability Person Among the Village Health Volunteers
Authors: พนิดา ศรีใจ
รังสิยา นารินทร์
ศิวพร อึ้งวัฒนา
Authors: พนิดา ศรีใจ
รังสิยา นารินทร์
ศิวพร อึ้งวัฒนา
Keywords: การเสริมสร้างพลังอำนาจ;การปฏิบัติการบริหารกล้ามเนื้อ;ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว;อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน;Empowerment;Muscle exercise practicing;Physical disability person;Village health volunteers
Issue Date: 2563
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 129-142
Abstract: ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวมักประสบกับปัญหาสุขภาพที่เป็นภาวะแทรกซ้อน เช่น กล้ามเนื้อลีบ ไม่มีแรง ข้อติดแข็ง การช่วยบริหารกล้ามเนื้อจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันภาวะดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านถือเป็นผู้ช่วยเหลือและเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความใกล้ชิดกับ ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวและครอบครัวในชุนชน ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจึงควรได้รับ การพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติการบริหารกล้ามเนื้อสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวให้ถูกต้องเหมาะสม การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อ การปฏิบัติการบริหารกล้ามเนื้อสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 23 ราย จากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ผ่าน การอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง ของกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ 2) คู่มือ การปฏิบัติการบริหารกล้ามเนื้อ และ 3) แบบประเมินการปฏิบัติการบริหารกล้ามเนื้อ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยและได้ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.83 นำมาคำนวณหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ โดยใช้สูตรของ Kuder Richardson 21 (KR-21) มีค่าเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติบริหารกล้ามเนื้อสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวด้วยสถิติ Wilcoxon Signed-Rank test ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติบริหารกล้ามเนื้อสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหลังเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการบริหารกล้ามเนื้อก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (x̄= 23.36, S.D.= 3.22) และหลังเข้าร่วมโปรแกรม (x̄= 44.47, S.D.= 4.66) ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมให้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและทีมสุขภาพนำไปใช้ในการสร้างเสริมพลังอำนาจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการปฏิบัติการบริหารกล้ามเนื้อสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ในชุมชนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว เช่น องศาของข้อต่อในการเคลื่อนไหว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพื่อส่งเสริมให้มีบริการดูแลสุขภาพสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชนที่มีคุณภาพต่อไป Physical disability person had health problems from complications such as muscle atrophy and join stiffness. It is very important and necessary to prevent these complications. Village health volunteers is a helper and health personal whom is near physical disability person and family in community. Therefore, village health volunteers should be developed ability in properly muscle exercise practicing for physical disability person. This quasi-experimental research aimed to study the effect of the empowerment program on muscle exercise practicing for physical disability person implemented by village health volunteers. Twenty-three participants were selected through purposive sampling technique from village health volunteers who were trained in a 70-hour course on providing care for older people organized by the Ministry of Public Health, works and provides services for physical disability person in Saraphi district, Chiang Mai province. The research instruments were consisted of 1) Empowerment program 2) Guide book on muscle exercise practicing and 3) Evaluation form on muscle exercise practicing which developed by researcher and tested for content validity indexes 0.83. The reliability of the instrument is based on the feasibility test of Richardson 21(KR-21) were 0.93. The statistical analysis of the frequency distribution, percentage, mean and the Wilcoxon signed-rank were used for data analysis. The research findings revealed that: The mean score of muscle exercise practicing for physical disability person was significantly higher after program participation (p < 0.001). There was a rise in the mean score on muscle exercise practicing before the program (=23.26, S.D.=3.22) and after the program (=44.47, S.D.=4.66). The results showed that research findings can be used as a guideline to promote community nurses and health care teams to reinforce the empowerment among village health volunteers to promote muscle exercise practice with effectiveness and efficiency for physical disability person. Suggestions for further research should be study on the outcomes for physical disability person such as degree of joint in motion, muscle strength, in order to promote the provision of quality health care services for physical disabilty person in community.
Description: วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247932/168418
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71971
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.