Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71139
Title: ความดีเด่นของผลผลิตและลักษณะอื่นที่เกี่ยวข้องในข้าวลูกผสมชั่วที่ 1 ระหว่างข้าวพันธุ์ดีของไทยกับข้าวสายพันธุ์เกสรเพศผู้เป็นหมันแบบไวต่ออุณหภูมิ
Other Titles: Heterosis of Yield and Related Characters in F1 Hybrids Rice Between Thai Promising Rice Varieties and Thermo-sensitive Genic Male Sterile Line
Authors: เทพสุดา รุ่งรัตน์
สุทัศน์ จุลศรีไกวัล
ดำเนิน กาละดี
ม.ล. อโณทัย ชุมสาย
Authors: เทพสุดา รุ่งรัตน์
สุทัศน์ จุลศรีไกวัล
ดำเนิน กาละดี
ม.ล. อโณทัย ชุมสาย
Keywords: ข้าว;เกสรเพศผู้เป็นหมัน;ความดีเด่นของลูกผสม;ข้าวลูกผสมชั่วที่ 1;Rice;TGMS;heterosis;F1 hybrid rice
Issue Date: 2553
Publisher: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเกษตร 26, 1 (ก.พ. 2553), 79-84
Abstract: ได้ศึกษาความดีเด่นของผลผลิตและลักษณะอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยการผสมระหว่างข้าวพันธุ์ดีของไทย 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์สุพรรณบุรี 1 (SP1), สุพรรณบุรี 60 (SP60) และปทุมธานี 1 (PT1) กับข้าวสายพันธุ์เกสรเพศผู้เป็นหมันแบบไวต่ออุณหภูมิ 2 สายพันธุ์ คือ KDML 105 TGMS 1 และ KDML 105 TGMS 2 ได้คู่ผสมจากการผสมแบบพบกันหมดและไม่มีการผสมกลับ จำนวน 6 คู่ผสม ผลการศึกษาความดีเด่นของลูกผสมชั่วที่ 1 พบว่า ลักษณะผลผลิตของ 3 คู่ผสม ได้แก่ KDML 105 TGMS 2 / SP1, KDML 105 TGMS 2 / SP60 และ KDML 105 TGMS 2 / PT1 แสดงความดีเด่นเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของพันธุ์พ่อหรือแม่ที่ดี ของลักษณะน้ำหนัก 1,000 เมล็ด และน้ำหนักเมล็ดดีต่อกออย่างมีนัยสำคัญ แต่คู่ผสมที่ให้ลักษณะองค์ประกอบผลผลิตเมล็ดที่ดีของ น้ำหนัก 1,000 เมล็ด และน้ำหนักเมล็ดดีต่อกอสูงสุด ได้แก่คู่ผสม KDML 105 TGMS 2/SP60 คือมีค่าเท่ากับ 1.33 % และ 49.36 % ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของพันธุ์พ่อหรือแม่ที่ดี ตามลำดับ สำหรับลักษณะอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วันออกดอก วันสุกแก่ และความสูงลำต้น พบว่าทุกคู่ผสมแสดงความดีเด่นที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของพ่อ – แม่ และเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของพ่อหรือแม่ที่ดี ในทางลบ จากผลการศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่า การพัฒนาสายพันธุ์ลูกผสมแบบ 2 สายพันธุ์ โดยใช้ข้าวสายพันธุ์เกสรเพศผู้เป็นหมันแบบไวต่ออุณหภูมิมีความเป็นไปได้ในประเทศไทย Heterotic performance for yield and related characters were estimated in F1 hybrid rice by crossing between three Thai promising rice varieties namely, Suphan Buri 1, Suphan Buri 60 and Pathum Thani 1 to KDML 105 TGMS 1 and KDML 105 TGMS 2, two thermo-sensitive genic male sterile lines. Half diallel cross was designed for developing of six F1 hybrid crosses. Three hybrid crosses: KDML 105 TGMS 2/SP1, KDML 105 TGMS-2/SP60 and KDML 105 TGMS 2/PT1, their F1 hybrids showed significantly positive heterosis over their better parent for 1,000-grain weight and grain weight/plant. Especially the cross, KDML 105 TGMS2/SP60 gave the highest heterotic for yield components i.e. 1,000 grain weight and grain weight/plant with 1.33 and 49.36 %, respectively. For related characters, day to flowering, day to maturing and plant height, showed significantly negative heterosis over mid-parent and their better parent all F1 hybrid crosses. Results of this study could be summarized that development of two-lines hybrid rice variety by using thermo-sensitive genic male sterile line is possible for production in Thailand.
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 21
URI: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246223/168349
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71139
ISSN: 0857-0862
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.