Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69923
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสร้อยสิรินทร์ สาครen_US
dc.contributor.authorศรีพรรณ กันธวังen_US
dc.contributor.authorศรีมนา นิยมค้าen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T08:36:17Z-
dc.date.available2020-10-08T08:36:17Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 43,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2559) 23-34en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/74772/60335en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69923-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการรับรสเปลี่ยนแปลง ความอ่อนล้า และการนอนหลับแปรปรวนเป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำ บัด แต่ละอาการส่งผลให้เด็กป่วยมีการเคลื่อนไหวของร่างกายและการทำหน้าที่ต่าง ๆ ลดลง เนื่องจากทั้งสามอาการเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกันจึงมีลักษณะเป็นกลุ่มอาการ อาจจะส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมของเด็กป่วยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานการศึกษาเรื่องนี้การ วิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอำนาจการทำนายของการรับรสเปลี่ยนแปลงความอ่อนล้า และอาการนอนหลับแปรปรวนต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด โดยใช้แนวคิดกลุ่มอาการของฮอคเคนเบอร์รี่และฮูค (2007) เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กโรคมะเร็งอายุ 8-15 ปี ที่เข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัดในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลพุทธชินราช และโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 จำนวน 77 ราย เลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ1) แบบประเมินการเปลี่ยนแปลงการรับรสของผู้ป่วย 2) แบบประเมินอาการอ่อนล้าของเด็กป่วย 3) แบบประเมินอาการนอนหลับแปรปรวนของเด็กป่วยและ 4) แบบประเมินการทำกิจกรรมของเด็กป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า การรับรสเปลี่ยนแปลง ความอ่อนล้า และการนอนหลับแปรปรวน สามารถร่วมกันอธิบายความสามารถในการทำหน้าที่ของเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดได้ร้อยละ 56.9 (R2= .569, p<.05) โดยที่ความอ่อนล้าสามารถทำนายความสามารถในการทำหน้าที่ดีกว่าการนอนหลับแปรปรวน และการรับรสเปลี่ยนแปลง (ßf = -.535, p<.001; ßsd= -.215, p<.05; ßtc =-.182, p<.05) ผลการวิจัยนี้ช่วยให้พยาบาลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลของการรับรสเปลี่ยนแปลงความอ่อนล้าและการนอนหลับแปรปรวน ต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด และสามารถนำไปใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการกับอาการรับรสเปลี่ยนแปลง ความอ่อนล้า และการนอนหลับแปรปรวนเพื่อลดผลกระทบของอาการทั้งสามต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดต่อไป Taste change, fatigue and sleep disturbance are common symptoms among children with cancer receiving chemotherapy, and each symptom interferes with the child’smovement and functioning. Moreover, because the three symptoms occur simultaneously,their effect on the child’s functional status may increase. However, no related studies are documented. The purpose of this predictive correlational study was to examine whether taste change, fatigue and sleep disturbance can predict the functional status of children with cancer receiving chemotherapy. The symptom cluster framework of Hockenberry and Hooke (2007) was used as the study frame-work. The purposive sample consisted of 77 children with cancer receiving chemotherapy aged between 8-15 years admitted to Chiang Rai Prachanukrou Hospital, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, Buddhachinaraj Hospital, and Sawanpracharak Hospital during September 2014 to June 2015. Data were obtained using: 1) the Taste Change Scale 2) the Children Fatigue Scale, 3) the Child Sleep DisturbanceScale, and 4) the Child Functional Status Scale. Descriptive statistics and stepwise multiple regressions were used to analyze the data. The study results revealed that taste change, fatigue and sleep disturbance could explain variance in the functional status by 56.9% (R2 = .569, p<.05). In addition, fatigue could predict functional status better than sleep disturbance and taste change (ßf = -.535, p< .001; ßsd= -.215, p < .05; ßtc = -.182, p<.05). These study results provide nurses with an understanding of the influences of taste change, fatigue and sleep disturbance on the functional status of children with cancer receiving chemotherapy. The results can be used for further studies regarding the management of taste change, fatigue and sleep disturbance in order to reduce their effect on chemotherapy receiving children’s functional status.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเด็กโรคมะเร็งen_US
dc.subjectกลุ่มอาการen_US
dc.subjectความสามารถในการทำหน้าที่en_US
dc.subjectChildren with Canceren_US
dc.subjectSymptom Clusteren_US
dc.subjectFunctional Statusen_US
dc.titleอิทธิพลของการรับรสเปลี่ยนแปลง ความอ่อนล้า และอาการนอนหลับแปรปรวนต่อ ความสามารถในการทำหน้าที่ของเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดen_US
dc.title.alternativeInfluences of Taste Change, Fatigue and Sleep Disturbance on Functional Status of Children with Cancer Receiving Chemotherapyen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.