Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69904
Title: ปัจจัยทำนายระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในชุมชน
Other Titles: Factors Predicting Serum Lipid Level Among Persons with Dyslipidemia in Community
Authors: สุปราณีย์ ฟูสุวรรณ
สุมาลี เลิศมัลลิกาพร
จรัส สิงห์แก้ว
Authors: สุปราณีย์ ฟูสุวรรณ
สุมาลี เลิศมัลลิกาพร
จรัส สิงห์แก้ว
Keywords: ปัจจัยทำนาย;ระดับไขมันในเลือด;ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ;Factors Predicting;Serum Lipid Level;Dyslipidemia
Issue Date: 2559
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 43,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2559) 79-89
Abstract: ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติจะช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัย 5 ด้าน ได้แก่ การรับประทานอาหารการออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์ การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา ที่มีผลต่อระดับไขมันในเลือด 4 ชนิด ได้แก่ โคเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ แอลดีแอลโคลสเตอรอล และ เอชดีแอลโคเลสเตอรอล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติมารับ การรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสารภี จำนวน 163 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงกันยายน พ.ศ. 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบสัมภาษณ์เท่ากับ 0.99 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) อยู่ในช่วง 0.70-0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาอำนาจการทำนายโดยใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่า มีเพียงปัจจัยการรับประทานอาหารเท่านั้นที่สามารถทำนายระดับไตรกลีเซอไรด์และเอชดีแอลโคเลสเตอรอล ได้ร้อยละ 5.00 และ 4.10 ตามลำดับ (R2= .050, p <.01 และ R2= .041, p<.01) แต่ปัจจัยการออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์ การสูบบุหรี่ และการดื่มสุราไม่สามารถร่วมกันทำนายระดับโคเลสเตอรอลรวมและแอลดีแอลโคเลสเตอรอลได้ (R2= .019, p = .705 และ R 2= .023, p = .590) ปัจจัยด้านการรับประทานอาหาร มีผลต่อการควบคุมระดับไขมันในเลือด ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารจึงสามารถควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงและการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิตหรือความพิการ Dyslipidemia is a main cause of cardiovascular disease which is a leading global public health problem. Lifestyle modifications of persons with dyslipidemia will help to control serum lipid at optimal levels. This predictive correlational research aimed to study the predictive power of five factors: eating, exercise, emotional management, smoking, and drinking alcohol on the four serum lipid levels: total cholesterol, triglyceride, LDL cholesterol,and HDL cholesterol. The sample of 163 persons with dyslipidemia receiving treatment at the outpatient department, Saraphi Hospital, was selected by simple random sampling. Data collection was conducted during July to September, 2013. The research instruments were interview forms developed by the researcher based on the literature reviewed. The content validity of the interview forms were confirmed by five experts and the value of the content validity index was 0.99 and the Cronbach’s alpha reliability coefficient was in the range of 0.70 - 0.78. Data were analyzed using descriptive statistic and multiple linear regression.The study results revealed that only the eating factor could predict triglyceride and HDL cholesterol levels at a percentage of 5.00 and 4.10, respectively. (R2= .050, p<.01 and R2= .041, p<.01). However, the factors of exercise, emotional management, smoking, and drinking alcohol, together were unable to predict total cholesterol and LDL cholesterol levels (R2= .019, p = .705 and R2= .023, p = .590). The eating factor could control serum lipid levels. Therefore, modifying in the eating behaviors will be able to control their serum lipids at optimal levels which will reduce severities and complications that cause death and disability.
Description: วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/74635/60153
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69904
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.