Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69902
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorลินนภัสร์ ธนะวงค์en_US
dc.contributor.authorพิกุล นันทชัยพันธ์en_US
dc.contributor.authorประทุม สร้อยวงค์en_US
dc.date.accessioned2020-10-08T08:36:16Z-
dc.date.available2020-10-08T08:36:16Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 43,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2559) 45-56en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/74546/60083en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69902-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดได้รับการพิจารณาว่าเป็นกลวิธีที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งสำาหรับการควบคุมอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังตลอดจนลดการใช้บริการสุขภาพของผู้ป่วย การค้นหาวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีการคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดจึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย การวิจัยแบบ กึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย และการใช้บริการสุขภาพในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวน 52 รายที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด และใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายเพื่อจัดเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองในจำนวนเท่ากัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติส่วนกลุ่มทดลองได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดโดยผู้วิจัย เครื่องมือสำหรับการทดลองพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัย ประกอบด้วย แผนการส่งเสริมการจัดการตนเอง คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและแบบบันทึกการกำกับติดตามประจำวันด้วยตนเองเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบบันทึกข้อมูลการทดสอบการเดินบนทางราบใน 6 นาทีและแบบบันทึกจำนวนครั้งของการใช้บริการ สุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาการทดสอบแมนวิทนีย์ยู และการทดสอบวิลคอกซันแมชแพร์ ไซน์ แรงค์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดมีความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และมากกว่าก่อนได้รับการ ส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < .001) ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดมีการใช้บริการสุขภาพน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติและน้อยกว่าก่อนได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.001)ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสามารถช่วยเพิ่มผลลัพธ์ที่ดีในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ การศึกษาในครั้งต่อไปควรทำการศึกษาการส่งเสริมการจัดการตนเองในระยะยาวในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ขึ้น Pulmonary rehabilitation is considered as an effective strategy for controlling symptomsof chronic obstructive pulmonary disease (COPD), as well as decreasing health service utilization. Seeking methods in helping people with COPD in maintaining good practice in pulmonary rehabilitation is challenging. This quasi-experimental study aimed to examine the effects of self-management promotion in pulmonary rehabilitation on functional capacityand health care utilization among persons with COPD. The participants were 52 persons with COPD who attended the outpatient department of Nakornping Hospital in Chiang Mai province during December 2012 to May 2013. The participants were purposively selected and randomly assigned into the control group and experiment group equally. The control group received usual nursing care, while those in the experimental group received a self-management program run by the researcher. The tools for the intervention were developedby the researcher and composed of the self-management program, a handbook for pulmonary rehabilitation, and a daily self-monitoring recording form. The instruments for data collection consisted of a demographic data form, a six-minute walk test (6MWT) recordform, and a health care utilization record form. Data were analyzed using descriptivestatistics, Mann Whitney U- test and Wilcoxon matched-pairs signed-rank test. The results of this study revealed thatthe persons with COPD who received self-management promotion in pulmonary rehabilitation had significantly higher functional capacity than those who received usual nursing care and higher than before received self-management promotion(p< .001).The persons with COPD who received self-management promotion in pulmonary rehabilitation had significantly less health care utilization than those who received usual nursing care and less than before received self-management promotion (p< .001) The findings of this study demonstrate that self-management promotion in a pulmonaryrehabilitation program can be used to increase positive outcomes among people with COPD. Further study on effects of self-management promotion over a longer period of timewith a larger sample size is recommended. การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดได้รับการพิจารณาว่าเป็นกลวิธีที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งสำาหรับการควบคุมอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังตลอดจนลดการใช้บริการสุขภาพของผู้ป่วย การค้นหาวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีการคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดจึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย การวิจัยแบบ กึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย และการใช้บริการสุขภาพในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวน 52 รายที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด และใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายเพื่อจัดเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองในจำนวนเท่ากัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติส่วนกลุ่มทดลองได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดโดยผู้วิจัย เครื่องมือสำหรับการทดลองพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัย ประกอบด้วย แผนการส่งเสริมการจัดการตนเอง คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและแบบบันทึกการกำกับติดตามประจำวันด้วยตนเองเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบบันทึกข้อมูลการทดสอบการเดินบนทางราบใน 6 นาทีและแบบบันทึกจำนวนครั้งของการใช้บริการ สุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาการทดสอบแมนวิทนีย์ยู และการทดสอบวิลคอกซันแมชแพร์ ไซน์ แรงค์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดมีความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และมากกว่าก่อนได้รับการ ส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < .001) ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดมีการใช้บริการสุขภาพน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติและน้อยกว่าก่อนได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.001)ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสามารถช่วยเพิ่มผลลัพธ์ที่ดีในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ การศึกษาในครั้งต่อไปควรทำการศึกษาการส่งเสริมการจัดการตนเองในระยะยาวในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ขึ้น Pulmonary rehabilitation is considered as an effective strategy for controlling symptomsof chronic obstructive pulmonary disease (COPD), as well as decreasing health service utilization. Seeking methods in helping people with COPD in maintaining good practice in pulmonary rehabilitation is challenging. This quasi-experimental study aimed to examine the effects of self-management promotion in pulmonary rehabilitation on functional capacityand health care utilization among persons with COPD. The participants were 52 persons with COPD who attended the outpatient department of Nakornping Hospital in Chiang Mai province during December 2012 to May 2013. The participants were purposively selected and randomly assigned into the control group and experiment group equally. The control group received usual nursing care, while those in the experimental group received a self-management program run by the researcher. The tools for the intervention were developedby the researcher and composed of the self-management program, a handbook for pulmonary rehabilitation, and a daily self-monitoring recording form. The instruments for data collection consisted of a demographic data form, a six-minute walk test (6MWT) recordform, and a health care utilization record form. Data were analyzed using descriptivestatistics, Mann Whitney U- test and Wilcoxon matched-pairs signed-rank test. The results of this study revealed thatthe persons with COPD who received self-management promotion in pulmonary rehabilitation had significantly higher functional capacity than those who received usual nursing care and higher than before received self-management promotion(p< .001).The persons with COPD who received self-management promotion in pulmonary rehabilitation had significantly less health care utilization than those who received usual nursing care and less than before received self-management promotion (p< .001) The findings of this study demonstrate that self-management promotion in a pulmonaryrehabilitation program can be used to increase positive outcomes among people with COPD. Further study on effects of self-management promotion over a longer period of timewith a larger sample size is recommended.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดen_US
dc.subjectความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายen_US
dc.subjectการใช้บริการสุขภาพen_US
dc.subjectโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.subjectSelf-management Promotion in Pulmonary Rehabilitationen_US
dc.subjectFunctional Capacityen_US
dc.subjectHealth Care Utilizationen_US
dc.subjectChronic Obstructive Pulmonary Diseaseen_US
dc.titleผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่อความสามารถ ในการทำหน้าที่ของร่างกายและการใช้บริการสุขภาพในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.title.alternativeEffects of a Self-management Promotion in Pulmonary Rehabilitation on Functional Capacity and Health Care Utilization Among Persons with Chronic Obstructive Pulmonary Diseaseen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.