Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69874
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorฉัตร์ยุภา จิโนรสen_US
dc.contributor.authorชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์en_US
dc.contributor.authorวันเพ็ญ ทรงคำen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T08:36:16Z-
dc.date.available2020-10-08T08:36:16Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 43,1 (ม.ค.-มี.ค. 2559) 57-69en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/78065/62586en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69874-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractพนักงานทำความสะอาดในโรงพยาบาล เป็นกลุ่มหนึ่งที่เสี่ยงต่อการสัมผัสอันตรายจากการทำงานส่งผลต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยง ของพนักงานทำความสะอาดโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จำนวน 160 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่สำคัญของกลุ่มตัวอย่างได้แก่ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านเคมี คือ น้ำยาที่ใช้ทำความสะอาด (ร้อยละ 88.80) ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านการยศาสตร์ คือ ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การก้ม เงยศีรษะ (ร้อยละ 71.30) และการบิดเกร็งข้อมือ (ร้อยละ 64.40) ส่วนปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านจิตสังคม คือ เสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดจากการทำงาน (ร้อยละ 62.50) สำหรับภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงในส่วนความเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการทำงานที่พบบ่อย ได้แก่ อาการปวดเอวหรือหลังส่วนล่าง (ร้อยละ 68.70) ปวดหลัง (ร้อยละ 66.30) และปวดไหล่ (ร้อยละ 60.60) ความเครียดจากการทำงาน (ร้อยละ 66.20) และอาการน้ำมูกไหล ไอจาม (ร้อยละ 60.60) ส่วนการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบเพียงร้อยละ 13.80 จากวัตถุ/สิ่งของกระแทก/ชน (ร้อยละ 50.00) ลักษณะเป็นการเคล็ด ขัดยอก ฟกช้ำ (ร้อยละ 91.70) อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ คือ บริเวณข้อมือ (ร้อยละ 29.20) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า พยาบาลอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญของการเฝ้าระวังทางสุขภาพ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านความเสี่ยงต่อสุขภาพ ตลอดจนพัฒนาโปรแกรมการจัดการกับอาการปวดระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและความเครียดจากการทำงาน เพื่อส่วนหนึ่งเป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานทำความสะอาดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ Cleaning workers in hospitals are one group at risk to hazardous exposure resulting in undesirable health outcomes. This descriptive study aimed to examine occupational health hazards and health status related to risk among 160 cleaning workers, at tertiary care hospitals. Data collection was carried out using an interview form which had been confirmed the quality. Data analysis was performed using descriptive statistics. The results of studyThe main results showed that the significant occupational health hazards of the working environment included chemical hazards: cleaning solution (88.80%); ergonomic hazards: inappropriate working posture including flexion/extension of neck (71.30%) and twisting the wrist flexed (64.40%); and psychosocial hazards: risk of occupational dangers (62.50%). Regarding health status related to risk, it was found that the most common ailments possibly related to exposure of occupational health hazards included low back pain (68.70%), back pain (66.30%), and shoulder pain (60.60%); stress related to work (66.20%); and runny nose, coughing and sneezing (60.60%). Work-related injuries during the past three months was 13.80 percent. The injury causation included objects/collisions (50.00%). Such injuries were sprains and bruises (91.70%), the injured body part was the wrist (29.20%). The results of this study indicate that occupational and environmental health nurses and related health teams should recognize the importance of health surveillance, includingdisseminate health risk information. Program development concerning the management of both musculoskeletal disorders and stress related to work should be addressed to at least enhance the quality of working life among cleaning workers in tertiary care hospitals.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานen_US
dc.subjectภาวะสุขภาพen_US
dc.subjectพนักงานทำความสะอาดen_US
dc.subjectโรงพยาบาลระดับตติยภูมิen_US
dc.subjectOccupational Health Hazardsen_US
dc.subjectHealth Statusen_US
dc.subjectCleaning workersen_US
dc.subjectTertiary Care Hospitalsen_US
dc.titleปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานทำความสะอาด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิen_US
dc.title.alternativeOccupational Health Hazards and Health Status Related to Risk Among Cleaning Workers, Tertiary Care Hospitalsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.