Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69846
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิภาดา คุณาวิกติกุลen_US
dc.contributor.authorอรอนงค์ วิชัยคำen_US
dc.contributor.authorเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุลen_US
dc.contributor.authorบุญพิชชา จิตต์ภักดีen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T07:27:25Z-
dc.date.available2020-10-08T07:27:25Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 42,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2558) 98-107en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/53274/44235en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69846-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและวิเคราะห์งานวิจัยทางด้านการบริหารการพยาบาลในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2553 -2556 โดยการรวบรวมงานวิจัยทางการบริหารการพยาบาลและบันทึกลงในโปรแกรมฐานข้อมูลวิจัยทางการบริหารการพยาบาล ที่สร้างขึ้นโดย วิภาดา คุณาวิกติกุล และคณะ (2552) ตามแนวคิดการวิจัยด้านการบริหารการพยาบาล 10 กลุ่ม ได้แก่ 1) การบริหารทรัพยากรบุคคล 2) ผู้นำและภาวะผู้นำ 3) นวัตกรรมในองค์กร การเปลี่ยนแปลงข้อมูลสารสนเทศและกลยุทธ์ 4) การจัดการในองค์กรมโนทัศน์ของการจัดการ 5)ธุรกิจ การเงิน และค่าใช้จ่าย 6) กาจัดการคุณภาพ 7) สิ่งแวดล้อมในองค์กรและในงาน 8) จริยธรรมและกฎหมาย 9) นโยบายและแผนและ 10) อื่นๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบคัดกรองงานวิจัย 2) แบบบันทึกผลการสกัดข้อมูล และ3) โปรแกรมฐานข้อมูลงานวิจัยทางการบริหารการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ การหาความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า งานวิจัยทางการบริหารการพยาบาลในระหว่างปีพ.ศ. 2553 – 2556 มีทั้งหมดจำนวน 465 เรื่อง ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.53 เป็นวิทยานิพนธ์ ดำเนินการวิจัยโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ร้อยละ 17.60, 17.60 และ 17.17 ตามลำดับ) สถานที่ทำวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลงานวิจัยคือโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย (ร้อยละ15.50) งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นแบบพรรณนาหาความสัมพันธ์ (ร้อยละ 23.58) ประชากรคือเป็นบุคลากรทางการพยาบาล (ร้อยละ 62.96) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (ร้อยละ 51.03) โดยผู้วิจัยพัฒนาเครื่องมือวิจัยเอง (ร้อยละ31.50) ส่วนใหญ่ใช้ วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมิน หรือแบบวัด (ร้อยละ 60.27) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นสถิติบรรยาย(ร้อยละ 35.13)และใช้แนวคิดหรือทฤษฎีในด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล (ร้อยละ 37.37) รองลงมาคือ ผู้นำและภาวะผู้นำ (ร้อยละ 12.32) ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการบริหารองค์กรและกำหนดทิศทางการวิจัยต่อไป This study aimed to describe and analyze nursing administration research in Thailand during 2010-1013 by collecting information on research in nursing administrationwhich was input into a in nursing administration research database developed by Wipada Kunaviktikul and colleagues in 2009. Research themes were classified into 10 categories as follows: 1) human resource management, 2) leaders and leadership, 3) organizational innovation/change/information technology/strategy, 4) organizational management /concept, 5) business/finance/cost, 6) quality management, 7) organizational/work environment, 8) ethics/laws, 9) policy/planning, and 10) miscellaneous. Research instruments included 1) a research screening form, 2) a data extraction form, and 3) the nursing administration research database. Data wereanalyzed by using descriptive statistics including frequency and percentage. The resultsshowed that there were 465 research studies in nursing administration during the years between 2010-2013, inclusive. The majority of the research was thesis based research (67.53%), conducted by Chulalongkorn University, Khonkhan University, and Chiang Mai University (17.60%, 17.60%, and 17.17%, respectively). Data was mainly collected in a university hospital (15.50%). The research design used was modeled on a correlational descriptive study (23.58%). Research population consisted of nursing personnel (62.96%). The research instrument consisted of a questionnaire (51.03%), which was developed by researchers (31.50%), Data were collected by researchquestionnaires, tools, and inventory (60.27%). The statistics used were mostlydescriptive (35.13%). The major theme found was human resource management(37.37%) followed by the theme of leaders and leadership (12.32%). It was proposed that these results could be used to help manage organizations and indicate research direction.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectฐานข้อมูลen_US
dc.subjectการวิจัยทางการบริหารการพยาบาลen_US
dc.subjectการพยาบาลen_US
dc.subjectDatabaseen_US
dc.subjectResearch In Nursing Administrationen_US
dc.subjectNursingen_US
dc.titleฐานข้อมูลงานวิจัยทางการบริหารการพยาบาลในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2556en_US
dc.title.alternativeNursing Administration Research Database in ThailandDuring 2010 – 2013en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.