Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69835
Title: การพัฒนาโปรแกรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
Other Titles: Development of Hypertension Prevention Program among People at Risk by Community Participation
Authors: อัมพร วงค์ติ๊บ
นงเยาว์ อุดมวงศ์
รังสิยา นารินทร์
Authors: อัมพร วงค์ติ๊บ
นงเยาว์ อุดมวงศ์
รังสิยา นารินทร์
Keywords: การพัฒนาโปรแกรม;ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง;ประชาชนกลุ่มเสี่ยง;การมีส่วนร่วมของชุมชน;Development of Progra;Hypertension Prevention;People at Ri;CommunityParticipation
Issue Date: 2558
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 42,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2558) 12-24
Abstract: กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันไม่ให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ หากมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการออกกำลังกายและการบริโภคอาหาร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพัฒนาโปรแกรม จำนวน 18 คน และกลุ่มผู้เข้าร่วมโปรแกรม ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 23 คน ดำเนินการวิจัย ระหว่าง เดือนตุลาคม 2556 - มกราคม 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามวัดความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย 3)แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร 4) แบบบันทึกระดับความดันโลหิต 5) แบบบันทึกดัชนีมวลกาย ส่วนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและ แบบสัมภาษณ์เพื่อประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา โปรแกรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาขึ้นตามแนวคิดพรีซีด-โพรซีดโมเดล ซี่งแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การประเมินและวิเคราะห์ปัญหา ระยะที่ 2 การปฏิบัติและการประเมินผล โปรแกรมประกอบด้วย 6 กิจกรรม คือ 1) การอบรมเรื่องโรคความดันโลหิตสูง การบริโภคอาหารและการออกกำลังกายสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 2) การให้ความรู้ผ่านหอกระจายข่าว 3) การจัดกิจกรรมการออกกำลังกาย 4) การประชาสัมพันธ์เชิญชวนออกกำลังกายผ่านหอกระจายข่าว 5) การติดตามเยี่ยม 6) การประกวดอาหารพื้นเมืองเพื่อสุขภาพ ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในระดับสูงเพิ่มขึ้น จากเดิมร้อยละ 78.26 เป็นร้อยละ 95.65 2. ระดับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ด้านการออกกำลังกาย ระดับประจำเพิ่มขึ้น จากเดิมร้อยละ 4.35 เป็นร้อยละ 26.09 3. ระดับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงด้านการบริโภคอาหารที่ถูกต้องระดับประจำเพิ่มขึ้น จากเดิมร้อยละ 8.70 เป็นร้อยละ 52.17 4. ระดับความดันโลหิตซิสโตลิค และไดแอสโตลิค ระดับเสี่ยง เปลี่ยนเป็นระดับความดันโลหิตปกติร้อยละ 26.09 และคงเหลืออยู่ในระดับเสี่ยง ร้อยละ 73.91 5. ระดับดัชนีมวลกายระดับก่อนอ้วน จากเดิมร้อยละ 39.13 ลดเหลือ ร้อยละ 34.78 ส่วนอ้วนระดับ 1 และ 2 ไม่เปลี่ยนแปลง ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง มีการควบคุมระดับความดันโลหิตและดัชนีมวลกายได้ระดับหนึ่ง ดังนั้นควรมีการนำโปรแกรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงนี้ไปประยุกต์ใช้กับชุมชนอื่นเพื่อป้องกันกลุ่มเสี่ยงพัฒนาไปเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต่อไป People at risk of hypertension can prevent the development of hypertension by modifying their exercise and diet behaviors. The purpose of this research study was to develop and examine the effects of a hypertension prevention program among people at risk by using community participation. The samples were selected by purposive sampling and divided into two groups, eighteen people were program developers and twenty-three people were program attendants. The research was studied during October 2013 to January2014. The research instruments consisted of two parts. Part 1: a data collectionquestionnaires which included; 1) a questionnaire regarding knowledge and practices for hypertension prevention, 2) a questionnaire regarding exercise behavior, 3) a questionnaireregarding diet behavior, 4) a blood pressure record form and, 5) a body mass index record form. Part 2: an instrument for conducting research, included a hypertension prevention program among people at risk of hypertension using community participation and an interview guideline for assessing and analyzing the situation of hypertension prevention. The data were analyzed using descriptive statistics. The hypertension prevention program among people at risk of hypertension by using community participation was developed based on the PRECEDE PROCEED model and consisted of two phases; an assessment and analysis phase, and an implementation and evaluation phase. The program consisted of 6 activities including; 1) group education regarding hypertension, exercise and dietary behaviors for people at risk of hypertension, 2) education via broadcasting, 3) exercise, 4) invitation to exercise via broadcasting, 5) follow-up, and 6) a local healthy food contest. The results revealed that: 1. The number of people at risk of hypertension who had knowledge and hypertensionprevention practices were at a high level, increasing from 78.26 to 95.65% 2. The number of people at risk of hypertension who regularly exercise for the prevention of hypertension increased from 4.35 to 26.09% 3. The number of people at risk of hypertension who displayed regular dietary behavior for the prevention hypertension increased from 8.70 to 52.17% 4. The number of people at risk of hypertension who had normal systolic and diastolic blood pressure increased from 26.09% to 73.91%, and remained at risk level. 5. The number of people at risk of hypertension who had a body mass index at a pre-obesity level decreased from 39.13 to 34.78%; however, the level 1 and 2 obesity population index did not changed. These results showed that people who participated in the hypertension prevention program among people at risk for hypertension by using community participation can modify their exercise and dietary behaviors. Therefore, the hypertension prevention program should be applied to other communities in order to prevent people at risk of hypertension from developing hypertension.
Description: วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/53251/44218
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69835
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.