Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69818
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุดาลักษณ์ สังวัตถุen_US
dc.contributor.authorวิมลิน เหล่าศิริถาวรen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T07:27:24Z-
dc.date.available2020-10-08T07:27:24Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 27, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2563), 1-15en_US
dc.identifier.issn0857-2178en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/27_2/01.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69818-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น ได้รับการยอมรับอยู่ในฐานข้อมูล Thailand Citation Index (TCI) กลุ่มที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการจัดการสินค้าคงคลังอะไหล่เครื่องชงกาแฟของบริษัทกรณีศึกษา ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจกาแฟแบบครบวงจรตั้งแต่การปลูกกาแฟ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกบักาแฟ การจำหน่ายเครื่องชงกาแฟ รวมไปถึงงานบริการด้านการซ่อมเครื่องชงกาแฟ เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจดังกล่าวมีการแข่งขันทางด้านธุรกิจสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานบริการซ่อมเครื่องชงกาแฟ และ เพื่อให้สามารถซ่อมเครื่องชงกาแฟได้อย่างรวดเร็ว บริษัทจึงได้มีการซื้ืออะไหล่มาเก็บไว้ในคลังเป็นจำนวนมากโดยอะไหล่ที่เก็บในคลังนั้น มีคุณลักษณะแตกต่างกันทั้งในด้านของรูปร่างขนาดและวัสดุที่ใช้ผลิตอะไหล่ จากการเก็บข้อมูลของคลังอะไหล่พบว่ามีการจดัวางอะไหล่ที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากยังไม่มีการคำนึงถึงความสัมพันธ์ทำให้อะไหล่ที่มีการเบิกใช้งานร่วมกันจัดวางอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน ส่งผลให้ใช้เวลานานในการค้นหาอะไหล่ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบการจัดวางอะไหล่ในคลังให้สอดคล้องกับการเบิกใช้งานโดยใช้กฎความสัมพันธ์ (Association rule) ในการระบุอะไหล่ที่มักมีการเบิกใช้ร่วมกัน จากผลที่ได้จากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์นั้น พบว่าได้กฎความสัมพันธ์ในการเบิกใช้งานทั้งหมด 7 กฎ ซึ่งนำไปสู่การออกแบบการจัดวางอะไหล่ที่มี ความสัมพันธ์กันนำมาจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กันเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาอะไหล่นอกจากนี้ยังได้มีการนำเทคนิคการ ควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) มาประยุกต์ใช้โดยการจัดทำป้ายชื่อ เพื่อระบุตำแหน่งที่จัดวางอะไหล่ช่วยให้ สามารถบอกตำแหน่งของอะไหล่และลดเวลาในการค้นหาอะไหล่ได้อีกด้วย หลังจากทำการปรับปรุงการจัดวางอะไหล่ ส่งผลทำให้เวลาในการค้นหาอะไหล่ลดลง จากเดิมที่ใช้เวลาเฉลี่ย 6.09 นาที ลดลงเหลือ 1.57 นาที This research aims to study the inventory management of the coffee machine spare parts in a case study company who conducts total services regarding coffee including planting, distributing coffee products, distributing coffee machines, along with coffee machine maintenance. Nowadays, this kind of business is in a highly competitive and requires fast service, particularly in coffee maintenance service. Currently large amount of spare parts were stocked in order to provide quick response to customers. Spare parts stored in the spare parts storage room are different in shape, size and material. The preliminary study revealed that the storage were unorganized. Space in storage room was allocated without consideration to the spare parts’ associations and requisition. Therefore, it takes a long time to search for the spare parts needed. This study aimed to design a new spare parts allocation in the stock room by using association rule to identify spare parts that are usually used together. Seven rules were found from association rules and were used to design spare parts allocation by putting associated spare parts together in order that the spare parts are easily found. Moreover, the visual control approach was applied in this study in order to help reduce the searching time with the ability to identify positions of the spare parts. The time consumption in searching was reduced from 6.09 minutes to 1.57 minutes after implementation.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectกฎความสัมพันธ์สินค้าคงคลังen_US
dc.subjectเทคนิคการควบคุมการมองเห็นen_US
dc.subjectAssociationen_US
dc.subjectRule Inventoryen_US
dc.subjectVisual Controlen_US
dc.titleการประยุกต์ใช้กฎความสัมพันธ์ในการปรับปรุงการจัดเก็บอะไหล่ซ่อมเครื่องชงกาแฟen_US
dc.title.alternativeApplication of Association Rules for Spare Parts Storage Improvement in Coffee Machine Repair Shopen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.