Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69810
Title: ปัจจัยทำนายความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาทางศัลยกรรมในโรงพยาบาลตติยภูมิ
Other Titles: Predicting Factors of Readiness for Hospital Discharge among Surgical Hospitalized Patients in Tertiary Hospitals
Authors: บุญชู อนุสาสนนันท์
กนกพร สุคำวัง
วราวรรณ อุดมความสุข
วันทนีย์ แสงวัฒนะรัตน์
ขจรวรรณ ทินกร ณ อยุธยา
Authors: บุญชู อนุสาสนนันท์
กนกพร สุคำวัง
วราวรรณ อุดมความสุข
วันทนีย์ แสงวัฒนะรัตน์
ขจรวรรณ ทินกร ณ อยุธยา
Keywords: ความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาล;คุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย;การประสานการดูแลก่อนจำหน่าย;การวางแผนการจำหน่าย;Readiness For Hospital Discharge;Teaching Quality;Care Coordination;DischargePlanning
Issue Date: 2558
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 42 (พิเศษธันวาคม 2558) 24-34
Abstract: ความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลถือเป็นดัชนีบ่งชี้การฟื้นสภาพจากความเจ็บป่วยที่เป็นเกณฑ์ พิจารณาการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลได้ การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนาย ความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาทางศัลยกรรมในโรงพยาบาลตติยภูมิ ประกอบด้วยเนื้อหาการสอนที่ผู้ป่วยได้รับ วิธีการสอนก่อนจำหน่ายการประสานการดูแลก่อนจำหน่าย ระยะ เวลานอนโรงพยาบาล และเพศ กรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ใช้กรอบแนวคิดการเปลี่ยนผ่านของเมลลิส และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในหอผู้ป่วยศัลยกรรมในโรงพยาบาลตติยภูมิจังหวัด เชียงใหม่ 2 แห่ง รวมจำนวน 153 คน โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินคุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย แบบประเมินความพร้อมในการ จำหน่ายจากโรงพยาบาล และแบบประเมินการประสานการดูแลก่อนจำหน่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า วิธีการสอนก่อนจำหน่าย เป็นเพียงปัจจัย เดียวที่ ทำนายความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลโดยอธิบายโอกาสที่ ผู้ ป่วยจะมีความพร้อมระดับสูง ในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้ร้อยละ 39 และสมการสามารถพยากรณ์ความพร้อมในการออกจาก โรงพยาบาลได้ถูกต้องร้อยละ 87.90 ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า วิธีการสอนก่อนจำหน่ายอย่างมีคุณภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้ ผู้ป่วยรับรู้ถึงความพร้อมที่จะออกจากโรงพยาบาลไปอยู่ที่บ้าน ดังนั้นในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล พยาบาลควรเลือกวิธีการสอนที่มีประสิทธิผลสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ควบคู่กับการตรวจสอบคุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย และมีการประเมินความพร้อมก่อนจำหน่ายของผู้ป่วยทุกคนก่อน ออกจากโรงพยาบาล Readiness for hospital discharge is an indicator of a patient’s recovery from illness and is a criterion for hospital discharge. Thiscorrelational predictive study aimed to determine factors predicting perceived readiness for hospital discharge among hospitalized surgical patients in tertiary hospitals which consisted of teaching,teaching method, care coordination,length of hospital stay, and gender. The theoretical framework is derived from the transitiontheory by Melleis and literature reviews. Participants were 153 patients selected according to the study criteria from two tertiaryhospitals in the Chiang Mai province. The research instruments were the demographic data form, the Quality of Discharge Teaching Scale, the Readiness for Hospital Discharge Scale, and the Care Coordination Scale. The data were analysed using descriptive statistics and logistic regression analysis. The results revealed the teaching method was identified the onlysignificant predictor accounted for 39% of the variance of readiness for hospital discharge and the overall correctly predicting was 87.9%. The results indicate quality teaching method is an important factor for patients’perception on the hospital discharge readiness. Therefore, nurses should provide individual with the effective teaching method, verify quality of discharge teaching, as well as assess the patient on readiness for hospital discharge.
Description: วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57297/47512
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69810
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.