Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69797
Title: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ในเขตภาคเหนือ
Other Titles: Factors Related to Evidence-based Practice among Pediatric Nurses in Northern Region
Authors: ธีรารักษ์ นำภานนท์
วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร
อุษณีย์ จินตะเวช
Authors: ธีรารักษ์ นำภานนท์
วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร
อุษณีย์ จินตะเวช
Keywords: การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์;พยาบาลกุมารเวชศาสตร์;Evidence-Based Practice;Pediatric Nurses
Issue Date: 2558
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 42 (พิเศษพฤศจิกายน 2558) 49-60
Abstract: การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ก่อให้เกิดประสิทธิผลที่ดีในการปฏิบัติการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเด็ก บิดามารดา พยาบาล รวมไปถึงองค์กรพยาบาล อันจะนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่าคุ้มทุน และเกิดความพึงพอใจในทุกฝ่าย การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ในเขตภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นพยาบาลจำนวน 283 ราย ซึ่งปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมในโรงพยาบาลเขตภาคเหนือที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นจำนวน 11 แหง่ ระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ และ 3) แบบสอบถามปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งแบบสอบถามการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์และแบบสอบถามปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษา และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 และ .92 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์อยู่ในระดับน้อย โดยปัจจัยด้านทักษะในการค้นหาและทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ ด้านฐานความรู้ในการปฏิบัติ และด้านสิ่งส่งเสริมและสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของกลุ่มตัวอย่างในระดับต่ำ(r = .299, .243 และ .179 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001, .001, .05 ตามลำดับส่วนปัจจัยด้านอุปสรรคต่อการค้นหาและทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของกลุ่มตัวอย่างในระดับต่ำ (r = -.175) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และปัจจัยด้านอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติบนฐานของหลักฐานเชิงประจักษ์ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลกุมารเวชศาสตร์ในเขตภาคเหนือควรได้รับการส่งเสริมให้ปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์มากกว่านี้ โดยควรปรับปรุงแก้ไขปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ Evidence-based practice leads to effectiveness in pediatric nursing practice that is beneficial to pediatric patients, parents, nurses, as well as nursing organizations. This reflectseffective nursing practice, cost-effectiveness, and satisfaction among stakeholders. This correlational descriptive research study aimed to examine evidence-based practiceimplementation and its related factors among pediatric nurses in Northern Thailand. The sample included 283 nurses who practiced in pediatric wards in 11 northern region hospitals,selected by stratified random sampling from April to June 2012. The research instruments for data collection consisted of a demographic data record form, an evidence-based practiceimplementation questionnaire, and a factors related to evidence-based practicequestionnaire. Content validity of the evidence-based practice implementation questionnaireand the factors related to evidence-based practice questionnaire were examined by expertsand yielded reliability scores of .94 and .92 respectively. Data were analyzed using descriptivestatistics and Spearman’s Rank Correlation. The results revealed that implementation of evidence-based practice was low. The low level of evidence-based practice had a significant positive relationship with skill in finding and reviewing evidence (r=.299, p<.001), bases of practice knowledge (r=.243, p<.001),and facilitation and support in changing practice (r=.179, p<.05). The low level of evidence-based practice had a significant negative relationship with barriers to finding and reviewing evidence (r = -.175), at a significance level of .05. However, barriers to changing practice on the basis of evidence had no relationship with the evidence-based practice implementation. The results of this study suggest that pediatric nurses in Northern Thailand should be encouraged to increase their implementation of evidence-based practice by improving factors related to evidence-based practice.
Description: วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57264/47466
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69797
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.