Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69787
Title: การพึ่งพาของผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ภาระการดูแล การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลวัยสูงอายุ
Other Titles: Dependency of the Elderly with Stroke, Caregiver Burden, Social Support, and Quality of Life among Older Caregivers
Authors: ธารินทร์ คุณยศยิ่ง
ลินจง โปธิบาล
ทศพร คำผลศิริ
Authors: ธารินทร์ คุณยศยิ่ง
ลินจง โปธิบาล
ทศพร คำผลศิริ
Keywords: การพึ่งพา;ผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง;ภาระการดูแล;การสนับสนุนทางสังคม;คุณภาพชีวิต;ผู้ดูแลวัยสูงอายุ;Dependency;the Elderly with Stroke,;Caregiver Burden;Social Support
Issue Date: 2558
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 42 (พิเศษธันวาคม 2558) 107-117
Abstract: ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองต้องพึ่งพาผู้ดูแลในการดำรงชีวิต ซึ่งภาระการดูแลอาจส่งผลต่อคุณภาพ ชีวิตของผู้ดูแล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพึ่งพาของผู้สูงอายุ ภาระการ ดูแล การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลวัยสูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลหลักของผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 90 คน มารับการตรวจรักษาที่คลินิกอายุรกรรมประสาท และศัลยกรรมประสาท แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556 ถึงเดือนกรกฎาคม 2556 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล และดัชนีจุฬาเอดีแอล แบบสัมภาษณ์ภาระของผู้ดูแล และ แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย ซึ่งเครื่องมือทุกชุดมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นมากกว่า .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการพึ่งพาด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับการพึ่งพามาก ส่วนการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นสูงส่วนใหญ่อยู่ในระดับการพึ่งพา 2. ระดับการเป็นภาระโดยรวม ภาระเชิงปรนัย และภาระเชิงอัตนัยของผู้ดูแลวัยสูงอายุที่ให้การดูแล ผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับสูง 3. การสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลวัยสูงอายุที่ให้การดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองโดย รวมอยู่ใน ระดับต่ำเมื่อมีการพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การสนับสนุนทางสังคมทุกด้านอยู่ในระดับต่ำยกเว้นด้าน ความรักใคร่ผูกพันที่อยู่ในระดับปานกลาง 4. คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลวัยสูงอายุที่ให้การดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองทั้งโดยรวม และ รายด้าน อยู่ในระดับต่ำ 5. การพึ่งพาของผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง และภาระการดูแลของผู้ดูแลวัยสูงอายุที่ให้การดูแล ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลวัยสูงอายุที่ให้การดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง (r = - 0.70, r= - 0.88, p<.01) ในขณะที่การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับคุณภาพชีวิต (r = 0.94, p<.01) การพึ่งพามีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาระการดูแล (r =0.84, p<.01) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาระการดูแล (r = - 0.94, p<.01) ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า การพึ่งพาของผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ภาระการดูแล และการสนับสนุน ทางสังคมมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลวัยสูงอายุ The elderly with stroke to depend on caregiver for living, which caregiver Burden affect to the caregivers quality of life. The purpose of this research study was to describe dependency among elderly stroke patients. The paper also documented caregiver burden, social support and quality of life among older caregivers. The sample consisted of 90 elderly primary caregivers of elderly stroke patients attending the Neurological Medicine and Surgery Clinic and the Out Patient Department at Chiang Mai Neurological Hospital from May 2013 to July 2013. The participants were purposively selected based on the inclusion criteria. The research instruments used included the Demographic Data Record Form, the Dependency Evaluating Form which included the Barthel ADL Index, the Chula ADL Index, the Burden Scale, Social Support Scale and the WHOQOL- BREF-THAI Version. All instruments had a reliability coefficient of more than .80. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation coefficient. The research study revealed that: 1. The level of dependency in basic activities and instrumental activities of daily living of most elderly stroke patients was at a high level. 2. The overall burden, subjective burden, and objective burden of elderly caregivers were at high levels. 3. Overall social support and four sub-dimensions of social support were at low levels, while the attachment sub-dimension was at a moderate level. 4. Overall quality of life and all sub-dimensions among elderly caregivers were at low levels. 5. Dependency of elderly stroke patients and the burden on elderly caregivers had a negative correlation to quality of life (r = - 0.70 and - 0.88, p<.01), whereas social support has a positive correlation to the caregiver’s quality of life ( r = 0.94, p<.01). Dependency of elderly stroke patients had a positive association with caregiver’s burden (r = 0.84, p<.01) but social support had a negative association with caregiver’s burden (r = - 0.94, p<.01) The research findings dependency of elderly stroke patients, the burden and the socialsupport had correlation to quality of life
Description: วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57306/47519
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69787
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.