Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69659
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ วังราษฎร์-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ บุญเชียง-
dc.contributor.authorณัฐพงศ์ อุทรen_US
dc.date.accessioned2020-08-19T08:48:36Z-
dc.date.available2020-08-19T08:48:36Z-
dc.date.issued2020-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69659-
dc.description.abstractThe objectives of this research were to develop a handbook and multimedia resources regarding basic drug use for patients with uncontrollable hypertension and to study the effect of using the handbook and multimedia resources on knowledge regarding drug use for patients with uncontrollable hypertension. Data collection consisted of general interviews and general information questionnaires for patients with uncontrollable hypertension, and an assessment of the effectiveness of the handbook and multimedia resources. The second phase studied the effects of using the handbook. The sample was patients with uncontrollable hypertension registered in Choeng Doi subdistrict, Doisaket district, Chiang Mai province. There were two groups: the experimental group (n=30) and the control group (n=30). The sample was selected based on purposive sampling. Data was collected twice. The first round of data collection was a pre-test. After that, patients with uncontrollable hypertension tried using the handbook and multimedia resources regarding basic drug use. A guide to use of the handbook was provided to the 30 people in the experimental group. They were asked to take this handbook with them and spend one month reading it. They were also taught how to use the multimedia resources on YouTube along with reading the handbook. After one month, data was collected again from the control and experimental groups using the post-test in order to compare the knowledge of the experimental group before and after using the handbook of basic drug use for hypertension, and compare the difference in knowledge between the control and experimental groups. The experimental group had a higher mean knowledge score after using the handbook than did the control group with a statistical significance level of < 0.001. Handbook use is suitable for patients with uncontrollable hypertension as the handbook has been developed with complete and comprehensive content. The results of the study can be used to solve drug use problems for patients with uncontrollable hypertension and to give patients the skills to manage drug use properly by themselves in order to reduce the problems and the severity of the disease.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectคู่มือen_US
dc.subjectสื่อออนไลน์en_US
dc.subjectการใช้ยาen_US
dc.subjectโรคความดันโลหิตสูงen_US
dc.titleการพัฒนาคู่มือและสื่อออนไลน์ในการใช้ยาเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้en_US
dc.title.alternativeThe Development Handbook and Multimedia of Basic Drug Use for Patients with Uncontrollable Hypertensionen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคู่มือและสื่อออนไลน์ในการใช้ยาเบื้องต้นสำหรับ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ และเพื่อศึกษาผลของการใช้ คู่มือและสื่อออนไลน์การใช้ยาเบื้องต้น ต่อความรู้ด้านการใช้ยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถ ควบคุมระดับความดันโลหิตที่ได้และประเมินประสิทธิภาพของการใช้คู่มือฯ ต่อความรู้ในการใช้ยา เบื้องต้น ในระยะที่สองเป็นการศึกษาผลของการใช้คู่มือและสื่อออนไลน์การใช้ยาเบื้องต้น กลุ่ม ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดัน โลหิตได้ ได้รับการขึ้นทะเบียนในศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ทำการ เก็บข้อมูล 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เป็นการทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) หลังจากนั้นดำเนินการทดลอง การใช้คู่มือฯ โดยการมอบคู่มือการใช้ยาเบื้องต้นในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูง กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็น กลุ่มทดลอง 30 คน โดยผู้วิจัยได้อธิบายให้กลุ่มตัวอย่างนำคู่มือฯ กลับไปอ่านเป็นระยะเวลา 1 เดือน พร้อมกับสอนวิธีการเข้าใช้สื่อออนไลน์ (YOUTUBE) ควบคู่กับการอ่านคู่มือฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ต่อเนื้อหาในคู่มือ พร้อมกับนัดการทำแบบทดสอบครั้งถัดไปของทั้งสองกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เป็นระยะเวลา 1 เดือน เพื่อดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลหลังจากทดลองการใช้คู่มือฯ (Post-test) โดย ใช้แบบทดสอบ เพื่อเปรียบเทียบความรู้ของกลุ่มทดลองก่อน และหลังการใช้คู่มือการใช้ยา เบื้องต้นในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับ ความดันโลหิตได้ และเปรียบเทียบผลการศึกษาความแตกต่างของความรู้ระหว่างกลุ่มควบคุมและ กลุ่มทดลอง ก่อนใช้คู่มือการใช้ยาเบื้องต้นในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูง ของผู้ป่วยโรคความดัน โลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ที่ได้รับและไม่ได้รับคู่มือการใช้ยาเบื้องต้นใน กลุ่มโรคความดันโลหิตสูง ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ หลังการใช้คู่มือฯ สูงกว่าก่อนการใช้คู่มือ และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.001 จึงสามารถกล่าวได้ว่า คู่มือ การใช้ยาเบื้องต้นในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูง มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับผู้ป่วยโรคความดัน โลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากได้พัฒนาให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนและครอบคลุม ผลการวิจัย ครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถ ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ เพื่อให้สามารถจัดการการใช้ยาด้วยตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อ ลดปัญหาและความรุนแรงของโรคได้en_US
Appears in Collections:GRAD-Health Sciences: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
582232022 ณัฐพงศ์ อุทร.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.