Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69552
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผศ.ดร.เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์-
dc.contributor.advisorผศ.ดร.ชุลีกร สอนสุวิทย์-
dc.contributor.authorนงลักษณ์ ขันอ่อนen_US
dc.date.accessioned2020-08-14T03:02:51Z-
dc.date.available2020-08-14T03:02:51Z-
dc.date.issued2020-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69552-
dc.description.abstractThis quasi-experimental research was designed to study the effect of training program by multidisciplinary team on knowledge and practice of patients and caregivers for infection prevention in peritoneal dialysis patients, incidence of infections associated with peritoneal dialysis and drug therapy problems in continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD). The study samples were 64 CAPD who received Jainad Narendra Hospital inclusion criteria, the experimental group received training program by multidisciplinary team on knowledge and practice for infection. The control group received usual care for 12 weeks in research. The instruments used were demographic questionnaire, Self-care knowledge questionnaire for CAPD, Self-assessment form for the practice of peritoneal dialysis procedure to prevent infection, Poster 5 steps don't forget to prevent infection from peritoneal dialysis. Participatory training equipment, including video viewing, images, and modeling or aprons in training, phone calls and review of infection prevention. Data were analyzed using descriptive statistics and inferential statistics. The study results revealed that the mean score of knowledge related to infection prevention in CAPD patients after receiving a training program by a multidisciplinary team were higher than the control group. Statistical significance (p < 0.001). The mean score of correct practice related to infection prevention in CAPD patients after receiving the training program by the multidisciplinary team were higher than the control group. Statistical significance (p < 0.001). Drug therapy problems in CAPD patients after receiving training programs by multidisciplinary team experimental group lower than the control group. There were 1 infections in experimental group and 3 infections in the control group. The comparison of incidence of infections associated with peritoneal dialysis in the control and experimental groups did not difference significantly (p = 0.615). The study findings show that the training program by multidisciplinary team on knowledge and practice of patients and caregivers in the prevention of infections in CAPD patients. Able to increase knowledge related to correct practice of patients and caregivers, reduce drug therapy problems, resulting in a reduction of the incidence of infection. It should be applied to decrease infection rates in CAPD patients.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectTraining program by multidisciplinary teamen_US
dc.subjectInfection in peritoneal dialysis patientsen_US
dc.subjectPatients with Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysisen_US
dc.subjectDrug therapy problems; DTPsen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการฝึกอบรมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยและผู้ดูแลในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทรen_US
dc.title.alternativeEffects of Training Program by Multidisciplinary Team on Knowledge and Practice of Patients and Caregivers for Infection Prevention in Peritoneal Dialysis Patients in Jainad Narendra Hospitalen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกอบรมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยและผู้ดูแลในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง อุบัติการณ์การติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการล้างไตทางช่องท้อง และศึกษาปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มารับบริการที่โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 64 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกอบรมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยและผู้ดูแลในการป้องกันการติดเชื้อ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือในการศึกษาประกอบด้วย แบบวัดความรู้ในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง แบบการประเมินตนเองด้านการปฏิบัติตัวตามขั้นตอนการล้างไตทางช่องท้องเพื่อป้องกันการติดเชื้อ โปสเตอร์ 5 ขั้นตอนอย่าลืมการป้องกันการติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้อง อุปกรณ์การฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ การร่วมดูวีดีโอ รูปภาพ การใช้หุ่นจำลอง หรือผ้ากันเปื้อนในการฝึกอบรม การโทรศัพท์ติดตามและทบทวนการป้องกันการติดเชื้อ การจัดกิจกรรม CAPD สัญจรและการเยี่ยมบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องภายหลังได้รับโปรแกรมการฝึกอบรมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องภายหลังได้รับโปรแกรมการฝึกอบรมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องภายหลังได้รับโปรแกรมการฝึกอบรมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองพบการติดเชื้อ 1 ราย กลุ่มควบคุมพบการติดเชื้อ 3 รายอุบัติการณ์การติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการล้างไตทางช่องท้องกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีสัดส่วนของการติดเชื้อไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.615) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการการฝึกอบรมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยและผู้ดูแลในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสามารถเพิ่มความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของผู้ป่วยและผู้ดูแลได้ ลดปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ส่งผลให้อุบัติการณ์การติดเชื้อลดลง จึงควรนำวิธีการนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อลดการติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601031005 นงลักษณ์ ขันอ่อน.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.