Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69547
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผศ.ดร.นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์-
dc.contributor.authorธรางกูร สมทิพย์en_US
dc.date.accessioned2020-08-14T03:02:27Z-
dc.date.available2020-08-14T03:02:27Z-
dc.date.issued2020-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69547-
dc.description.abstractThis study was aimed to develop and evaluate the efficiency of Line@ Application using for drug – information question - answering systems in Jainad Narendra Hospital. The study was conducted in 2 phases. Phase I was a descriptive study by focus group discussion and brainstorming for remodeling a question - answering process. Drug information questions were included from the service statistics in 3 fiscal years by 5 purposive samples. Line@ Application was developed for automatic drug – answering services. Phase II was a quasi – experimental study. Line@ Application was applied for drug – information question - answering systems in real situation from 1 August 2019 to 30 October 2019. In service process aspect, we collected data for evaluate the efficiency of Line@ Application included the time to reply the answer, the number of process and the wrong answer by user tracking via the screen. For usability aspect, the ease of use, the useful information and satisfaction were collected from the online questionnaire responded by the samples. Phase I, we found drug – information question - answering system was remodeled by Line@ Application using for automatic drug – answering services based on keywords. The users had to use the pattern of keywords in “Drug name (space) Number of question type” to ask for the information. Ninety eight drug information questions were included in the database of Line@ Application. Sixty two questions was for dosage and administration, 21 questions was for Y-site compatibility and 15 questions was for stability and storage. Phase II study, Line@ Application was applied in Jainad Narendra Hospital. There were 51 questions asked for drug information in database of Line@ Application by input the keyword. And 32 online questionnaire were responded. For service process aspect, we found Line@ Application could reply the answer less than 1 minute (92.16%). So the waiting time was reduced from the previous 7 minutes too. It provided the correct answer from drug database (100%). In addition it reduced the over process for answer the question which selected in the database from 5 processes during the office hours and 8 processes during out of office hours to zero. For usability aspect, we found the sample groups were satisfied in Line@ Application (96.87%). They thought Line@ Application was easy to use (100%) and provided them the useful drug information (100%). The resulting showed Line@ Application was the efficiency tools for manage drug – information question - answering system in Jainad Narendra Hospital. The provider could manage the drug database systematically. The automatic drug – answering service by Line@ Application could response the user to access the drug informations as required. So it could improve the quality of drug information service in this hospital. Furthermore the automatic drug – answering service by Line@ Application could develop for use at the network level.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleประสิทธิภาพของไลน์แอดแอพพลิเคชั่น (Line@ Application) ในการจัดระบบบริการตอบคำถามทางยาในโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทรen_US
dc.title.alternativeEfficiency of Line@ Application Towards Drug - Information Question – Answering System at Jainad Narendra Hospitalen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของ Line@ Application สำหรับกระบวนการตอบคำถามทางยาของศูนย์ข้อมูลยา งานบริการเภสัชสนเทศ โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ใช้การอภิปรายกลุ่มและระดมสมองจากแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลที่คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน ร่วมกันออกแบบกระบวนการให้บริการตอบคำถามทางยา และคัดเลือกข้อมูลยาจากข้อคำถามที่ได้รับในช่วง 3 ปีงบประมาณย้อนหลัง เพื่อนำมาสร้างฐานข้อมูลยาที่จะใช้ในการศึกษา และพัฒนาบัญชี Line@ Application สำหรับให้บริการตอบคำถามทางยาด้วยคุณสมบัติการตอบกลับแบบอัตโนมัติตามคำสำคัญ ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงกึ่งทดลอง โดยนำบัญชี Line@ Application ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ให้บริการตอบคำถามทางยาในสถานการณ์จริง ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เก็บข้อมูลระยะเวลาที่ใช้ในการตอบคำถาม จำนวนขั้นตอนและจำนวนคำตอบที่ผิดพลาดในการให้บริการ จากการตามรอยการใช้งานของแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลกลุ่มตัวอย่าง ผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน เพื่อประเมินประสิทธิภาพด้านกระบวนการให้บริการ ร่วมกับการเก็บข้อมูลด้านความง่ายต่อการใช้งาน การนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจ จากการตอบแบบสอบถามออนไลน์โดยสมัครใจของกลุ่มตัวอย่างหลังใช้บริการ เพื่อประเมินประสิทธิภาพด้านผู้รับบริการ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ในระยะที่ 1 สามารถปรับกระบวนการตอบคำถามทางยาด้วยการประยุกต์ใช้ Line@ Application เพื่อให้บริการตอบคำถามทางยาแบบอัตโนมัติตามคำสำคัญ ผู้รับบริการต้องทำการสอบถามโดยใช้รูปแบบคำสำคัญ “ชื่อยา (เว้นวรรค) หมายเลขประเภทคำถาม” ในฐานข้อมูลยาของ Line@ Application ประกอบด้วยชุดข้อมูลคำถาม-คำตอบที่ถูกคัดเลือกไว้ จำนวน 98 ชุดข้อมูล แบ่งเป็น ประเภทคำถามขนาดและการบริหารยา จำนวน 62 ชุดข้อมูล ความเข้ากันได้ของยาฉีดเมื่อบริหารยาร่วมกันทาง Y-site จำนวน 21 ชุดข้อมูล และความคงตัวและการเก็บรักษายา จำนวน 15 ชุดข้อมูล ในระยะที่ 2 หลังนำ Line@ Application มาใช้ให้บริการตอบคำถามทางยาในโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร พบว่ามีการสอบถามข้อมูลยาที่อยู่ในฐานข้อมูลจำนวน 51 คำถาม โดยมีการตอบกลับแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 ฉบับ ด้านกระบวนการให้บริการ พบว่า ระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติตามคำสำคัญของ Line@ Application สามารถตอบคำถามทางยาได้ในเวลาไม่เกิน 1 นาที (ร้อยละ 92.16) ทำให้ผู้รับบริการมีระยะเวลารอคอยคำตอบลดลงจากเดิมที่ใช้เวลาเฉลี่ย 7 นาที ให้คำตอบได้ถูกต้องตรงกับชุดข้อมูลที่จัดเตรียมไว้ในฐานข้อมูล (ร้อยละ 100) และลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนของเภสัชกรที่เกิดในกระบวนการตอบคำถามทางยาแบบเดิมจำนวน 5 ขั้นตอนในวันและเวลาราชการ และจำนวน 8 ขั้นตอนช่วงนอกเวลาราชการและวันหยุด โดยไม่พบขั้นตอนที่ต้องใช้เภสัชกรในการตอบข้อคำถามที่ถูกจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าในฐานข้อมูลยาของ Line@ Application ส่วนด้านการใช้งานของผู้รับบริการ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน Line@ Application (ร้อยละ 96.87) โดยระบุว่าเครื่องมือมีความง่ายต่อการใช้งาน (ร้อยละ 100) และได้รับข้อมูลยาที่มีความน่าเชื่อถือไปใช้ในการปฏิบัติงาน (ร้อยละ 100) ผลการศึกษาทั้ง 2 ระยะ แสดงให้เห็นว่าระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติตามคำสำคัญของ Line@ Application สามารถให้บริการตอบคำถามทางยาในข้อคำถามที่มีการจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าในฐานข้อมูลยาของ Line@ Application ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ให้บริการดูแลจัดการฐานข้อมูลยาได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น ผู้รับบริการเข้าถึงข้อมูลยาได้ตลอดเวลา ส่งผลให้เพิ่มคุณภาพบริการตอบคำถามทางยาในโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร และสามารถพัฒนาเป็นเครื่องมือสำหรับให้บริการตอบคำถามทางยาที่เชื่อมต่อในระดับเครือข่ายต่อไปen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601031004 ธรางกูร สมทิพย์.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.