Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69395
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAsst. Prof. Dr. Fongsaward S. Singharajwarapan-
dc.contributor.authorChanakan Wisessanen_US
dc.date.accessioned2020-08-07T01:04:02Z-
dc.date.available2020-08-07T01:04:02Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69395-
dc.description.abstractThis study focuses on groundwater temperature distribution and groundwater quality of 45 shallow wells at depth less than 10 meters, in Mueang Chiang Mai district. Groundwater temperature and groundwater quality are essential parameters in evaluating the suitability of heat pump installation application. In a heat pump system, groundwater is used as a heat carrier or heat sink to provide space cooling during hot season as air conditioning. Groundwater temperature must be constant and lower than atmospheric temperature. Groundwater quality is assessed using the values of hardness, alkalinity, total dissolved solid and pH to calculate the Langelier Saturation Index (LSI) and the Ryznar Stability Index (RSI) to make a qualitative determination of installing heat pump. The temperature measurements of 45 shallow wells illustrated range values of 26 - 28°C. The plots of temperature and depth as temperature-depth profiles, showed constant temperature at depth of more than 2 to 10 meters below ground surface. The analytical results of groundwater quality indicated soft water to very hard water. Based on the mean value of chemical parameters, the cations in the order of abundance were Ca2+ > Na+ > K+ > Mg2+ > Mn2+ > Fe, while the anions revealed order of abundance as HCO3- > Cl- > SO42-. The LSI and the RSI ranged from -3.23 to 0.37 and 6.85 to 12.46 which indicated groundwater of slightly scale forming to corrosion. This study identified shallow groundwater map for potential heat pump installation. The central toward western area were moderate potential for heat pump installation with a treatment of corrosive groundwater quality while eastern part was high potential for heat pump installation. Economic evaluation was calculated with sets of data, 25 degree Celsius room temperature and 28.8-36 degree Celsius outside air temperature. The groundwater heat pump system was approximately 11 - 28%, reducing energy power and electric energy cost.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleGroundwater Temperature Map for Potential Heat Pump in Mueang Chiang Mai District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.title.alternativeแผนที่อุณหภูมิของน้ำบาดาลสำหรับศักยภาพปั๊มความร้อน ในพื้นที่อำเภอ เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวของอุณหภูมิน้ำบาดาล และคุณภาพน้ำ ของน้ำบาดาลระดับตื้น จากบ่อวงหรือบ่อระดับตื้นที่ความลึกไม่เกิน 10 เมตร ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ อุณหภูมิน้ำบาดาล และคุณภาพน้ำบาดาล จัดเป็นปัจจัยสำคัญ ในการพิจารณาถึงความเหมาะสมของการนำน้ำบาดาลมาใช้ประโยชน์ สำหรับการประยุกต์เพื่อติดตั้งระบบปั๊มความร้อน น้ำบาดาลถือเป็นตัวกลางของระบบปั๊มความร้อน โดยการพาความร้อนออกไปหรือเป็นแหล่งทิ้งความร้อน เพื่อทำให้เกิดความเย็นภายในห้องช่วงฤดูร้อน ในลักษณะของเครื่องปรับอากาศ อุณหภูมิของน้ำบาดาลต้องมีค่าคงที่และมีค่าต่ำกว่าอุณหภูมิของอากาศ ส่วนคุณภาพน้ำบาดาลจะถูกประเมิน โดยการนำค่าความกระด้าง ค่าอัลคาไลนิตี้ ปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำ และค่าความเป็นกรดด่าง ไปคำนวณหาค่าดัชนี Langelier Saturation Index (LSI) และ Ryznar Stability Index (RSI) เพื่อหาความ เหมาะสมของน้ำบาดาลสำหรับการติดตั้งปั๊มความร้อน จากการวัดอุณหภูมิของน้ำบาดาลในบ่อระดับตื้น จำนวน 45 บ่อ พบว่า มีค่าอยู่ในช่วง 26 – 28 องศาเซลเซียส เมื่อนำค่าอุณหภูมิไปลงจุดเทียบกับความลึก ในลักษณะของโปรไฟล์อุณหภูมิ-ความลึก พบว่า อุณหภูมิน้ำบาดาลมีค่าคงที่ ณ ระดับความลึก 2 – 10 เมตรจากผิวดิน ส่วนการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางเคมีพบว่า น้ำบาดาลระดับตื้นมีความกระด้างตั้งแต่เป็นน้ำอ่อนจนถึงมีความกระด้างสูงมาก เมื่อพิจารณาพารามิเตอร์ทางเคมี พบว่า ไอออนบวกเรียงตามลำดับปริมาณที่พบมาก ได้แก่ Ca2+ > Na+ > K+ > Mg2+ > Mn2+ > Fe ในขณะที่ปริมาณไอออนลบ เรียงตามลำดับปริมาณที่พบมาก ได้แก่ HCO3- > Cl- > SO42- ตามลำดับ การคำนวณหาค่า LSI พบมีค่าอยู่ในช่วง -3.23 ถึง 0.37 และค่า RSI อยู่ในช่วง 6.85 ถึง 12.46 ซึ่งบ่งชี้ว่าน้ำมีโอกาสทำให้เกิดทั้งตะกรันและการกัดกร่อนภายในระบบปั๊มความร้อน การศึกษาครั้งนี้ สามารถจัดทำออกมาเป็น แผนที่น้ำบาดาลระดับตื้นสำหรับศักยภาพการติดตั้งปั๊มความร้อน พื้นที่บริเวณทางตอนกลาง และทางด้านตะวันตกของอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีศักยภาพปานกลางสำหรับใช้เป็นแหล่งระบายความร้อนแก่ระบบปั๊มความร้อน แต่ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนก่อนการนำมาใช้ ขณะที่ทางด้านตะวันออกของอำเภอเมืองเชียงใหม่ พื้นที่มีศักยภาพสูงสำหรับติดตั้งปั๊มความร้อน การคำนวณทางด้านเศรษฐศาสตร์จากชุดข้อมูล ที่ให้อุณหภูมิห้องเป็น 25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิอากาศมีค่าระหว่าง28.8 ถึง 36 องศาเซลเซียส แสดงให้เห็นว่า ปั๊มความร้อน ที่ใช้น้ำบาดาลเป็นแหล่งระบายความร้อน สามารถลดพลังงานและราคาค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 11 – 28%en_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf9.91 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.