Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69381
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์-
dc.contributor.authorชวณัฐ สุวรรณen_US
dc.date.accessioned2020-08-07T01:02:28Z-
dc.date.available2020-08-07T01:02:28Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69381-
dc.description.abstractThe research titled, “Application Management for Historical and Cultural Learning in the Klangwiang Chiang Mai Area”, aimed at studying historical context, physical characteristics of the area, cultural heritage, learning resources in Klangwiang Chiang Mai area, along with conditions and problems on Chiang Mai historical and cultural learning. These were analyzed and presented in the styles and methods of application management in order to increase efficiency in historical and cultural learning around Klangwiang Chiang Mai area. The researcher studied history and values towards various fields of studies on cultural heritage and learning resources in Klangwiang Chiang Mai area. The researcher studied through documents, interviews with arts and cultural specialists, population and tourists in Chiang Mai city. Moreover, conditions and problems of the medium for historical and cultural learning both inside and outside of the places were surveyed. Cultural heritage and learning resources can be classified in 4 groups from the results of the study; temples, ancient remains, museums, and monuments. All groups are valuable for collaborative learning in terms of history, culture, arts, and society. The researcher analyzed problems conditions of learning medium both inside and outside of the places and considered the results together with interview results and opinion from samples. The results were used as a guideline for creating learning processes through suitable application. The researcher studied samples of application for learning world’s important historical cities and application about tourism in Chiang Mai that are available today. Therefore, the researcher knew general usage patterns, along with advantages and disadvantages of those programs in order to use them as basic information to design and manage data of applications. The results from data management consisted of 1) Map: gathering information about places and showing the position of learning resources. 2) Route: preparing routes for visiting learning resources according to their types which are routes to temples, ancient remains, museums, monuments, and mixed types of important places of Klangwiang Chiang Mai area. Therefore, users can choose to study upon their interests and time. 3) More: applications are tools to help enhance efficiency of historical and cultural learning in real places. Furthermore, fewer budgets were used to produce this program than fixing old information signs which can communicate to only few people. In addition, they were left without cares, damaged, and look uninteresting. In conclusion, applications help encourage self-learning through technology which correspond to the present learning situations.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการจัดการสื่อโปรแกรมประยุกต์เพื่อการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของพื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeApplication Management for Historical and Cultural Learning In the Klangwiang Chiang Mai Areaen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการจัดการสื่อโปรแกรมประยุกต์เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของพื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่ เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ กายภาพของพื้นที่ มรดกวัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่ ตลอดจนสภาพการณ์และปัญหาของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ เพื่อนำมาวิเคราะห์และเสนอเป็นรูปแบบและวิธีการจัดการสื่อโปรแกรมประยุกต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในบริเวณพื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่ ผู้ศึกษาได้ศึกษาถึงประวัติความเป็นมาและคุณค่าต่อการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ของมรดกวัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่ ผ่านการศึกษาภาคเอกสารและการสัมภาษณ์นักวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม ประชาชนและนักท่องเที่ยวในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ อีกทั้งยังสำรวจสภาพการณ์และปัญหาของสื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจากทั้งภายในและภายนอกสถานที่เหล่านั้น ผลจากการศึกษาทำให้สามารถจำแนกประเภทของมรดกวัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้ได้เป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มวัดวาอาราม กลุ่มโบราณสถาน กลุ่มพิพิธภัณฑ์ และกลุ่มอนุสรณ์สถาน ซึ่งแหล่งเรียนรู้ในทั้ง 4 กลุ่มมีคุณค่าต่อการเรียนรู้ร่วมกันในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศิลปกรรม และสังคม ผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์สภาพปัญหาของสื่อการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานที่ โดยนำผลที่ได้มาทำการพิจารณาร่วมกับผลการสัมภาษณ์และสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่ เพื่อนำผลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่าน “สื่อโปรแกรมประยุกต์ (Application)” ที่มีความเหมาะสม โดยผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาตัวอย่างของสื่อโปรแกรมประยุกต์เพื่อการเรียนรู้เมืองประวัติศาสตร์ที่สำคัญของโลก และสื่อโปรแกรมประยุกต์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเมืองเชียงใหม่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ทราบถึงรูปแบบการใช้งานโดยทั่วไป ตลอดจนข้อดีและข้อเสียของโปรแกรมเหล่านั้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการออกแบบและจัดการข้อมูลของสื่อโปรแกรมประยุกต์เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของพื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่ โดยผลของการจัดทำข้อมูลประกอบด้วย 1) ข้อมูลด้านแผนที่ (Map) เป็นการรวบรวมข้อมูลของสถานที่และแสดงตำแหน่งของแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในพื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่ 2) ข้อมูลด้านเส้นทาง (Route) เป็นจัดทำเส้นทางชมแหล่งเรียนรู้ โดยแบ่งตามประเภทของแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ เส้นทางการเรียนรู้กลุ่มวัดวาอาราม, เส้นทางการเรียนรู้กลุ่มโบราณสถาน, เส้นทางการเรียนรู้กลุ่มพิพิธภัณฑ์, เส้นทางการเรียนรู้กลุ่มอนุสรณ์สถาน และเส้นทางการเรียนรู้สถานที่สำคัญของพื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่แบบคละประเภท เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจและระยะเวลาที่มี และ 3) ข้อมูลเสริมอื่นๆ (More) สื่อโปรแกรมประยุกต์เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ในสถานที่จริงมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยใช้งบประมาณในการจัดทำน้อยกว่าการซ่อมบำรุงป้ายข้อมูลแบบเดิมที่สื่อสารกับผู้คนได้น้อย เพราะขาดการดูแลชำรุดทรุดโทรม และขาดความน่าสนใจ นอกจากนี้สื่อโปรแกรมประยุกต์นี้ยังมีส่วนช่วยส่งเสริมให้ผู้คนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการใช้เทคโนโลยีอันเป็นรูปแบบที่สอดรับกับสภาพการณ์การเรียนรู้ในยุคปัจจุบันen_US
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf7.74 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.