Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69373
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ไทพีศรีนิวัติ ภักดีกุล-
dc.contributor.authorภาณุพงษ์ สร้อยเพชรen_US
dc.date.accessioned2020-08-07T01:01:42Z-
dc.date.available2020-08-07T01:01:42Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69373-
dc.description.abstractThe aim of this research is to study the legal measures in preventing traffic accidents from drunk driving in Thailand and other countries. The research aims to analyze the obstacles and problems in enforcing legal measures to prevent traffic accidents from drunk driving. This research also provides recommendations to develop the legal measures on preventing traffic accidents from drunk driving. The research result shows that; 1) Legal measures in preventing traffic accidents from drunk driving in Thailand and other countries are similar. The researcher studied the Alcoholic Beverage Control Act of 2551 and found that there are many measures such as measures on drinking prohibition and advertisement prohibition. The studies also found that Thailand and other countries have similar measures. For instance, , Thailand and France have measures relating to drinking prohibition in restricted zone and measures on advertisement that must not target at children and teenagers. Moreover, Alcohol advertisement are not allowed on television and cinema. The research also found that Thailand and other countries have similar measure to prevent car accident from drunk driving. The measures are blood alcohol testing which are in 3 methods 1) such as breath alcohol testing, 2) urine alcohol testing and 3) blood alcohol testing. However, the alcohol concentration level for the testing are varied in those countries. Moreover, the research found that the United Kingdom does not have a term of imprisonment for drunk driving offences and that the United State of America has penalties for drunk in two types. The first type is a penalty for mature person and the second types is for juveniles who are under 21 years old. In USA, a measure for traffic accidents from drunk driving offense are probation measures such as social services or a service to victim from drunk driving accidents. 2) The research result shows that obstacles and problems in enforcing legal measures to prevent traffic accidents from drunk driving arise from the content of law and the enforcement of the law by officers. For example, there is not a clear determination regarding to the authority of officers for enforcing the law. The law also does not define methods in enforce it. These situations cause the problem on law enforcement for the officers. Moreover, some penalties do not sufficient to prohibit drunk driving behavior. For example in case of refusal take a blood alcohol concentration, the offenders will be fined only 1,000 baht. This create an ineffective enforcement as law offenders don not comply to the small penalty. In addition, the problem on law enforcement for the officers is that the officers do not regularly enforce the law because the officers rigorously enforce the law only during long holiday. As a result, the law enforcement is not continuous. 3) The recommendations from this research are that the law should be revised to create a clearer interpretation and enforcement for the officers. For example, the denying of the blood test for drunk driving should be revised by that “If any person rejects blood alcohol measurements drunk, that person must be assumed as a drunk driving offenders. Moreover, in the law enforcement for officers, there should be collaboration between government agencies regularly in order to continue the enforcement regularly not only during a long holiday. Moreover, criminal record should be checked making a court trails for drunk driving. The check of the record can help determine appropriate penalty for the offender.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการป้องกัน อุบัติเหตุบนท้องถนนจากการเมาแล้วขับen_US
dc.title.alternativeLegal Measures to Prevent Traffic Accidents from Drunk Drivingen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการเมาแล้วขับของไทยและของต่างประเทศ และวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคของกฎหมายในการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการเมาแล้วขับ อีกทั้งเป็นการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการเมาแล้วขับ ผลการศึกษาพบว่า 1) มาตรการทางกฎหมายของไทยและต่างประเทศที่ใช้ในการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการเมาแล้วขับก่อนที่จะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจากพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ได้แก่ มาตรการเกี่ยวกับการห้ามจำหน่ายมาตรการเกี่ยวกับการห้ามบริโภค มาตรการเกี่ยวกับการโฆษณา ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในต่างประเทศได้มีมาตรการดังกล่าวเช่นเดียวกับประเทศไทย เช่นในประเทศฝรั่งเศสที่มีมาตรการการห้ามจำหน่าย เช่น ห้ามจำหน่ายสุราใกล้สถานีบริการมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมโฆษณาห้ามโฆษณาเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่เด็กและวัยรุ่นไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสุราทางโทรทัศน์และโรงภาพยนตร์ในส่วนของมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุบนท้องถนนขณะเมาแล้วขับ ในส่วนของมาตรการทางกฎหมายเพื่อการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการเมาแล้วขับต่างประเทศก็มีมาตรการคล้ายคลึงกับประเทศไทย ซึ่งมาตรการหลักคือมาตรการการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในร่างกาย ซึ่งวิธีการตรวจวัดก็จะมีอยู่ 3 วิธีหลักๆคือ การตรวจวัดจากลมหายใจ การตรวจวัดจากปัสสาวะ และการตรวจวัดจากเลือด ทั้งนี้มีความแตกต่างกันในเรื่องของการกำหนดระดับแอลกอฮอล์ในร่างกาย และเรื่องของบทลงโทษเช่น ประเทศอังกฤษไม่มีโทษจำคุกในคดีเมาแล้วขับ แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการแยกบทลงโทษในกรณีเมาแล้วขับเป็นสองกรณีคือ บทลงโทษในคดีเมาแล้วขับกรณีผู้ที่กระทำผิดบรรลุนิติภาวะแล้ว และบทลงโทษในคดีเมาแล้วขับกรณีผู้ที่กระผิดยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่เกิน 21 ปีบริบูรณ์) ในส่วนของมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการเมาแล้วขับภายหลังการกระทำความผิด คือ มาตรการในการคุมประพฤติผู้กระทำความผิด เช่นการให้ผู้กระทำความผิดมาทำงานบริการสังคม หรือช่วยเหลือผู้เสียหายจากคดีเมาแล้วขับ ซึ่งทั้งประเทศไทยและต่างประเทศมีความคล้ายคลึงกัน 2) จากการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคของกฎหมายในการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการเมาแล้วขับนั้นมีปัญหาจากการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งปัญหาดังกล่าวมาจากข้อบัญญัติกฎหมาย และจากเจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมาย เช่น ตัวบทกฎหมายมีการกำหนด วิธีการในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ชัดเจน อาทิกรณีการกักตัวไว้ทำการทดสอบกฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาและวิธีการเอาไว้อย่างชัดเจนทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างยากลำบาก และบทลงโทษไม่มีความรุนแรง เช่นกรณีการปฏิเสธการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในร่างกาย มีโทษปรับเพียง 1,000 บาท ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อบทลงโทษในส่วนของปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่มาจากเจ้าหน้าที่ มากไปกว่านั้นเจ้าหน้าที่ส่วนมากบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดเฉพาะช่วงเวลาเทศกาล ทำการบังคับใช้กฎหมายไม่มีความต่อเนื่องอีกทั้งเจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมายไม่มีความเป็นธรรม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน 3) ข้อเสนอแนะในการวิจัยในครั้งนี้ ในส่วนของข้อกฎหมายควรมีกำหนดวิธีการในการบังคับใช้กฎหมายให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ในกรณีการปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์ในเลือด ควรมีข้อสันนิษฐานว่า หากผู้ใดปฏิเสธการตรวจวัดให้ถือว่าเมา หลังจากได้ทำการสอบวิทยานิพนธ์นี้แล้ว และอยู่ในระหว่างการจัดพิมพ์ฉบับสมบูรณ์กฎหมายได้มีการออกตามนี้แล้วในส่วนของการปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ควรมีการร่วมมือระหว่างหน่วยงานในช่วงเวลาปกติ ไม่ใช่ร่วมมือกันเฉพาะช่วงเทศกาลควรมีการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมก่อนการฟ้องคดีเพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจในการเพิ่มโทษผู้กระทำความผิด และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่นั้น ควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เข้มงวด ให้เป็นไปตามเจตนารมของกฎหมายen_US
Appears in Collections:LAW: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.