Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69367
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรศ.ดร. ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์-
dc.contributor.advisorรศ.ดร. คมสัน สุริยะ-
dc.contributor.authorศิวิมล ช่างเรือนงามen_US
dc.date.accessioned2020-08-07T01:01:09Z-
dc.date.available2020-08-07T01:01:09Z-
dc.date.issued2014-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69367-
dc.description.abstractThe objectives of this study were to study for factor affecting the decision making select to grow chemical rice, integrated pest management rice and organic rice of farmer in Suphanburi Province and problems and suggestions. Data were collected Suphanburi province five district to grow three production all 616 sample .Descriptive statistics multinomial logit model were the analytical tools. The study economics and social that most information farmers were males for 56 percentage with age of between 50-59 years old. Their educational level was primary.The household consisted of 4-6 persons 59.09 percentage and labor force at 2 persons .Their time work per day. The income 150,000 bath.Almost famers had twice of years and 21-30 years experience on rice cultivation. The land use for producing rice was between 1-20 raiand the motivation of grow rice was famer inherit. In term of the factor affecting decision making for various rice production of farmer at significance 90-99 percent found the factor of farmer opportunity to choice to most chemical rice was area have enough water for production rice 19.47 percent. Inferior to their finished grade senior high school 19.47 percent. Famers participate in the government of project 18.9 percent. The maintenance of organic rice be easy than rice production 11.23 percent. Production factor was chemical fertilizer availability 10.82 percent. The area cultivation have not chemical to properly 9.33 percent. The total annual income per household between 50,000-100,000 bath at 11.23 percent and Time of work per day about 2 hours at 8.09 percent. The factor of farmer opportunity to choice to most organic rice found chemical fertilizer cost than manure 27.92 percent. Inferior to convenient traveling to paddy field 27.37 percent.The danger of toxin get to practice agriculture 18.71 percent. The appropriate area grow rice 17.97 percent. Production rice was available market 17.41 percent.Chemical cause health 17 percent.The production rice consume in household 14.66 percent and the good quality seed use with agriculture 13.06 percent respectively. In addition problem and suggestion farm’s chemical, integrated pest management and organic rice production. Most problem of diseases, the spread of insects and pest. Second the farmer lack knowledge as correct with production rice and management of rice grower group were not strong. The problem of water management in the fields that management of water devious to want farmer, lack of water resource. The problem of productivity rice of price, depressed prices, Price was not fixed. Soil preparation and seed lack quality of problem including insufficient source of market of product.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกการปลูกข้าวในรูปแบบต่างๆ ของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรีen_US
dc.title.alternativeFactors Affecting the Decision Making for Various Rice Production of Farmers in Suphanburi Provinceen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการปลูกข้าวเคมี ข้าวแบบผสมผสาน และข้าวอินทรีย์ ของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี และศึกษาถึงปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีทั้งหมด 5 อำเภอ ที่ปลูกข้าวทั้งสามรูปแบบ มีจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 616 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการปลูกข้าวเคมี ข้าวแบบผสมผสาน และข้าวอินทรีย์ได้ใช้แบบจำลอง Multinomial logit model ผลการศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 50-59 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนระหว่าง 4-6 คนระยะเวลาออกไปทำนาต่อวัน รายได้ มากกว่า 150,000 บาทต่อปี จำนวนครั้งการปลูกข้าวต่อปี จำนวน 2 ครั้งต่อปีประสบการณ์การทำนา ระหว่าง 21-30 ปีแรงงานในครัวเรือน จำนวน 2 คน รองลงมา 3 คน พื้นที่เพาะปลูก ระหว่าง 1-20 ไร่ ภาระหนี้สินของเกษตรอยู่ระหว่าง 1-50,000 บาท โดยมีแหล่งเงินกู้เป็นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และแรงจูงใจในการทำนาส่วนใหญ่ทำนาต่อจากบรรพบุรุษและพื้นที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูก ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการปลูกข้าวเคมี และข้าวอินทรีย์ที่ระดับนัยสำคัญที่ร้อยละ90-99ปัจจัยที่เกษตรกรมีโอกาสเลือกปลูกข้าวเคมีมากที่สุดคือ พื้นที่ต้องมีน้ำเพียงพอต่อการปลูกข้าว ร้อยละ 30.56 รองลงมาเกษตรกรจบการศึกษาระดับมัธยมตอนปลาย ร้อยละ 19.47 เกษตรกรเข้าร่วมโครงการของรัฐบาล ร้อยละ 18.9 การดูแลรักษาข้าวอินทรีย์ง่ายกว่าข้าวทั่วไป ร้อยละ 11.23 ปุ๋ยเคมีที่ใช้ในการเพาะปลูกหาซื้อง่าย ร้อยละ 10.82 พื้นที่ปลูกข้าวต้องไม่ใช้สารเคมีมาก่อนถึงจะมีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกร้อยละ 9.33 เกษตรกรมีรายได้ระหว่าง 50,000-100,000 บาท ร้อยละ 9.17 และระยะออกไปทำนาต่อวันประมาณ 2 ชั่วโมง ร้อยละ 8.09 ตามลำดับ ปัจจัยที่เกษตรกรมีโอกาสเลือกปลูกข้าวอินทรีย์มากที่สุด ปุ๋ยเคมีที่ใช้ในการเพาะปลูกมีต้นทุนสูงกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ร้อยละ 27.92 รองลงมาการเดินทางไปทำนาด้วยความสะดวกสบาย เช่น การมีถนนตัดผ่านร้อยละ27.37 การได้รับอันตรายจากสารพิษในการเพาะปลูก ร้อยละ 18.71 พื้นที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าว ร้อยละ 17.97ผลผลิตข้าวต้องมีตลาดรองรับมีโรงสีหรือพ่อค้ามารับซื้อร้อยละ 17.41 สารเคมีส่งผลเสียต่อสุขภาพร้อยละ 17 ผลผลิตข้าวนำไปใช้ในการบริโภค ร้อยละ 14.66 และการเพาะปลูกต้องใช้เมล็ดที่มีคุณภาพที่ดี และเต็มเมล็ด ร้อยละ 13.06 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่ปลูกข้าวเคมี ข้าวแบบผสมผสานและข้าวอินทรีย์ ได้แก่ ปัญหา โรค แมลง ศัตรูข้าวในแปลงนา ประสบปัญหามากที่สุด อย่างเช่นโรคแมลงระบาด ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าววัชพืช รองลงมาปัญหาเรื่องความรู้เรื่องข้าว ขาดความรู้การผลิตที่ถูกต้อง ขาดองค์ความรู้ ขาดการรวมกลุ่มต่างคนต่างทำ ปัญหาปริมาณผลผลิตข้าว ผลผลิตตกต่ำ ปัญหาการเก็บรักษาข้าว โดยไม่มีเพื่อที่ในการเก็บรักษาข้าว ต้องขายผลผลิตทันที ปัญหาการจัดการน้ำในแปลงนาข้าว โดยที่การบริหารจัดการน้ำไม่ตรงกับความต้องการของเกษตรกร ขาดแคลนแหล่งน้ำ เกิดความแล้ง ปัญหาราคาผลผลิตโดยที่ราคาผลผลิตตกต่ำและราคาไม่คงที่ ปัญหาการเตรียมดินทำการเกษตร ดินเสื่อมคูณภาพ ปัญหาการเตรียมเมล็ดพันธุ์ครั้งต่อไป เมล็ดพันธุ์ขาดคุณภาพ มีสิ่งปลอมปน และปัญหาการส่งผลผลิตไปจำหน่าย มีตลาดรับซื้อไม่เพียงพอ เป็นปัญหาที่เกษตรพบน้อยที่สุดen_US
Appears in Collections:ECON: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.