Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69358
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorSaisamorn Lumyong-
dc.contributor.advisorChartchai Khanongnuch-
dc.contributor.advisorMatti Leisola-
dc.contributor.authorNiwat Chawacharten_US
dc.date.accessioned2020-08-06T08:15:39Z-
dc.date.available2020-08-06T08:15:39Z-
dc.date.issued2013-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69358-
dc.description.abstractXylanase production of thermophilic fungus Thermoascus aurantiacus SL16W was studied to optimize the maximum enzyme production in solid substrate medium. Main carbon source, organic nitrogen source and inorganic nitrogen source were screened to find out each source affected to maximum xylanase production. Corncob, soybean meal and ammonium dihydrogen phosphate were selected to study the most suitable composition for xylanase production using central composite design (CCD). Maximum xylanase produced by T. aurantiacus SL16W was 5,287 U/g substrate using 1.27 g corncob, 1.32 g soybean meal and 0.04 g of NH4H2PO4 after 10 day of cultivation at 45 °C while the predicted value from response surface equation was 5,112 U/g substrate. Difference carbon sources were varied in liquid medium experiment to find out effects of xylanase induction using Glucose, lactose, D-arabinose, L-arabinose, D-psicose, D-ribose and D-xylose were tested as additional carbon sources by addition into the medium 0.05% (w/v). L-arabinose was gave the most highest xylanase activity in liquid culture. T. auantiacus SL16W was produced xylanase 6,377 U/g substate when 2.5% (w/w) of L-arabinose was added in solid medium. Xylanase from solid substrate cultivation of T. aurantiacus SL16W was purified by ammonium sulphate precipitation, DEAE-Sephadex A-50 ion-exchange chromatography, Sephacyl S-100 HR gel filtration and Hi Trap Q XL ion exchange chromatography, respectively. The enzyme was purified 9.14 folds with the specific activity of 1,384 U/mg protein. Thermoascus aurantiacus SL16W xylanase was monomeric protein with molecular weight of 33 kDa by SDS-PAGE The optimum pH and temperature were 5.0 and 75 °C, respectively. The purified xylanase was stable at pH 6.0 and temperature range 75 °C for at least 1 h incubation. The Km and Vmax value were 1.1% (w/v) and 0.793 μmole/min, respectively. at 1 mM concentration of HgSO4 and KMnO4 strongly inhibit xylanase activity, while CaCl2, KCl and NaCl were tended to increase enzyme activity. Amino acid sequences of T. aurantiacus SL16W xylanase was analyzed and showed 303 amino acids. 3D protein structure of T. aurantiacus SL16W xylanase was constructed by computer modeling method and contained 2 loops, 8 alpha helixes and 2 beta pleats. Disulphite bond was detected 1 bridge at position 255 and 261.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectThermoascus aurantiacus SL16W XYLANASEen_US
dc.subjectProductionen_US
dc.titleProduction and characterization of Thermoascus aurantiacus SL16W XYLANASEen_US
dc.title.alternativeการผลิคและคุณลักษณะของเอนไซม์ไซลาเนสจากเชื้อรา Thermoascus aurantiacus SL16Wen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc572.7-
thailis.controlvocab.thashEnzymes-
thailis.controlvocab.thashFungi-
thailis.manuscript.callnumberTh 572.7 N735P-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractทำการศึกษาการผลิตเอนไซม์ไซลาเนสจากเชื้อราทนร้อน Thermoascus aurantiacus SL16W โดยวิธีการเลี้ยงเชื้อในอาหารแข็ง มีการคัดเลือกแหล่งคาร์บอนหลัก แหล่งอินทรีย์ไนโตรเจน และ แหล่งอนินทรีย์ไนโตรเจน ที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารแข็งเพื่อให้ได้แหล่งของสารอาหารที่ให้ปริมาณเอนไซม์สูงสุด พบว่า การใช้ซังข้าวโพด กากถั่วเหลือง และ แอมโมเนียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต เป็นส่วนประกอบของอาหารแข็งมีผลต่อการผลิตเอนไซม์ไซลาเนสในปริมาณสูง จากการนำส่วนผสมทั้งสามมาหาปริมาณที่เหมาะสมด้วยวิธีการออกแบบการทดลองแบบ central composite design (CCD) สามารถผลิตเอนไซม์ไซลาเนสได้ปริมาณสูงที่สุดคือ 5,287 ยูนิตต่อกรัมของอาหารเลี้ยงเชื้อ เมื่อใช้อาหารแข็งที่ประกอบด้วย ซังข้าวโพด 1.27 กรัม กากถั่วเหลือง 1.32 กรัม และแอมโมเนียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต 0.04 กรัม ทำการเลี้ยงที่อุณหภูมิ 45 °C เป็นเวลา 10 วัน ในขณะที่จากการคำนวณคาดการณ์ของสมการกราฟ response surface คาดไว้ว่าจะสามารถผลิตเอนไซม์ไซลาเนสได้ 5,112 ยูนิตต่อกรัมของอาหารเลี้ยงเชื้อ หลังจากทำการทดลองแหล่งคาร์บอนในอาหารเหลว ซึ่งประกอบไปด้วยแหล่งคาร์บอนที่ต่างชนิดกัน พบว่า การใช้น้ำตาล L-arabinose เป็นแหล่งคาร์บอน ให้ผลในการผลิตเอนไซม์ไซลาเนสได้ในปริมาณมาก จึงได้นำน้ำตาล L-arabinose มาทดสอบการชักนำให้สร้างเอนไซม์ไซลาเนสในการเลี้ยงเชื้อในสภาวะอาหารแข็ง และพบว่าเชื้อรา T. aurantiacus SL16W สามารถผลิตเอนไซม์ไซลาเนสในสภาวะการเลี้ยงเชื้อในอาหารแข็งที่มีการเติมน้ำตาล L-arabinose 2.5% โดยน้ำหนัก ได้สูงที่สุดคือ 6,337 ยูนิตต่อกรัมของอาหารเลี้ยงเชื้อ เมื่อนำเอนไซม์ไซลาเนสที่ผลิตด้วยการเลี้ยงเชื้อรา T. aurantiacus SL16W ในอาหารแข็งมาทำให้บริสุทธิ์ด้วยการตกตะกอนด้วยเกลือแอมโมเนียมซัลเฟต โครมาโตกราฟีแบบแลกเปลี่ยนประจุ และเจลฟิลเตรชั่น ทำให้ได้เอนไซม์ไซลาเนสที่มีความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น 9.14 เท่า มีค่ากิจกรรมจำเพาะ 1,384 ยูนติต่อมิลลิกรัมโปรตีน เอนไซม์มีขนาดมวลโมเลกุล 33 กิโลดาลตัน มีค่าความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมต่อการทำงานคือ 5.0 อุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำงานอยู่ที่ 75 °C เอนไซม์มีความคงตัวในสภาวะความเป็นกรดด่างที่ 6.0 และมีความคงตัว ณ อุณหภูมิ 75 °C เป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง มีค่า Km และ Vmax เท่ากับ 1.1% และ 0.793 ไมโครโมลต่อนาที เมื่อทำการทดสอบกับสารละลายไอออนต่างๆ ที่มีความเข้มข้น 1 มิลลิโมลา เอนไซม์ถูกยับยั้งการทำงานอย่างรุนแรงด้วยปรอทซัลเฟต และโพแทสซียมเปอร์แมงกาเนต และมีแนวโน้มที่จะมีค่ากิจกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อมีไอออนของแคลเซียมคลอไรด์ โพแทสเซียมคลอไรด์ และโซเดียมคลอไรด์ เอนไซม์ไซลาเนสจากเชื้อรา T. aurantiacus SL16W ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนจำนวน 303 ลำดับ และจากการนำลำดับของกรดอะมิโนไปสร้างเป็นโครงสร้าง 3 มิติ พบว่าประกอบไปด้วยโครงสร้างแบบลูป จำนวน 2 ลูป อัลฟาเฮลิกซ์ 8 เกลียว และ เบต้าพลีท 2 แผ่น มีพันธะไดซัลไฟด์ 1 พันธะที่ตำแหน่งกรดอะมิโนที่ 255 และ 261en_US
Appears in Collections:GRAD-Sciences and Technology: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf6.41 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.