Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69344
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Dr. Panuwan Chantawannakul-
dc.contributor.advisorProf. Dr. Michael Burgett-
dc.contributor.advisorDr. Yaowaluk Chanbang-
dc.contributor.advisorDr. Lilia de Guzman-
dc.contributor.authorNinat Buawangpongen_US
dc.date.accessioned2020-08-06T01:43:19Z-
dc.date.available2020-08-06T01:43:19Z-
dc.date.issued2015-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69344-
dc.description.abstractApis mellifera was anthropogenically introduced to Southeast Asia with the goal of developing a commercial beekeeping industry based on this non-adapted species. Such regional approaches often neglect the potential problems of indigenous parasites and pathogens for the introduced species. Such has been the case when Asian honey bee brood mites quickly took 'advantage' of the presence of A. mellifera, a honey bee species adapted to temperate environments. Today the Asian honey bee brood parasites Varroa and Tropilaelaps are considered to be the most serious acarine pests for A. mellifera colonies in Thailand and throughout Southeast Asia. The giant honey bee (Apis dorsata) is the adapted host of Tropilaelaps spp. and the eastern honey bee (Apis cerana) is the indigenous host of two Varroa species. Some life history information concerning these brood parasites are available and much are based on studies utilizing A. mellifera hosts. However, none of these previous research efforts studied the host preference of T. mercedesae in its adapted host (A. dorsata), population fluctuation and reproduction of both mite genera in concurrently infested A. mellifera colonies, differential reproduction of Varroa haplotypes, and the impact of T. mercedesae on infested hosts. An examination of A. dorsata comb architecture showed a range of brood cell widths of 5.1-6.1 mm. This observation confirms that cells for rearing drone and worker brood are of a uniform size, which may explain why T. mercedesae has no host gender preference when infesting A. dorsata. The population dynamics of V. destructor and T. mercedesae was also monitored in concurrently infested A. mellifera colonies from September 2011 to September 2012 in Chiang Mai, Thailand. Of the 18,250 worker brood cells examined, 970 were observed to be parasitized; 76% by T. mercedesae and 24% by V. destructor. The results show a significant difference for the infestation rate between mite species and with date of observation. The concurrent infestation of a single brood host was extremely rare (<0.1%). In addition, these studies demonstrated a higher proportion of reproductive success for T. mercedesae (70%), compared to 50% for V. destructor. Although the overall infestation data for A. mellifera worker brood had T. mercedesae as the dominant mite species, the results for drone brood parasitism was the reverse where V. destructor was the more frequently encountered mite species. The fecundity of V. destructor and T. mercedesae (in vivo) as measured in older worker brood, displayed no statistically significant difference (1.7 ±0.1 and1.5 ± 0.1 progeny per foundress, respectively). However, when both mite species were deliberately introduced into a single host, the fecundity of V. destructor (2.2 ± 0.1) was significantly higher than that for T. mercedesae (1.5 ± 0.1). The proportion of reproductive foundress mites (R) was also similar for both mite species under in vitro conditions. An in vitro exchange of Varroa spp. between A. cerana and A. mellifera showed that the Korea (K1) haplotype of V. destructor successfully reproduced in worker brood of both A. mellifera and A. cerana but at a higher rate in A. mellifera brood (45% vs. 9%). In contrast, the Northern Thai (NThai) haplotype of V. jacobsoni reproduced in worker brood of A. cerana (16.5%) only but not in A. mellifera. Although the proportion of NThai that reproduced was considered low, it was still higher than the reproductive success of K1 in A. cerana brood. Keywords: Varroa destructor, Varroa jacobsoni, Tropilaelaps mercedesae, Apis dorsata, Apis cerana, Apis mellifera, Prevalence, Seasonal abundance, Mite reproduction, Varroa haplotypes, Honey bee mitesen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titlePrevalence and Reproduction of Varroa and Tropilaelaps in Three Species of Honey Bees in Chiang Mai, Thailanden_US
dc.title.alternativeความแพร่หลายและการแพร่พันธุ์ของไรวาร์รัวและทรอปิลีแลปส์ในผึ้งสามชนิดในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทยen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractมนุษย์ได้ขนย้ายผึ้งพันธุ์ซึ่งเป็นผึ้งต่างถิ่นเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงผึ้งในภูมิภาคนี้ ศัตรูและโรคประจำถิ่นเป็นปัญหาที่ถูกละเลยเมื่อผึ้งต่างถิ่นได้เข้ามาในพื้นที่ ไรศัตรูผึ้งซึ่งเคยอยู่ในผึ้งพื้นถิ่นนี้จึงเข้าระบาดใช้ประโยชน์ในผึ้งต่างถิ่น และยังปรับตัวใหม่ภายใต้สภาวะอากาศเขตร้อนได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันไรที่เข้าทำลายตัวอ่อนของผึ้ง คือ ไรวาร์รัว และไรทรอปปิเลแลปส์เป็นปรสิตศัตรูผึ้งที่เข้าทำลายรังผึ้งพันธุ์ได้ในระดับวิกฤตที่สุดในประเทศไทย รวมไปถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผึ้งหลวงถือเป็นแมลงอาศัยดั้งเดิมของไรทรอปปิเลแลปส์ และผึ้งโพรงถือเป็นแมลงอาศัยดั้งเดิมของไรวาร์รัวทั้งสองชนิด เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในไทยเองยังคงต่อสู้กับปัญหาที่เกิดจากไรปรสิตภายนอกสองกลุ่มนี้มาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังไม่มีการศึกษาพลวัตประชาการของไรวาร์รัว และไรทรอปปิเลแลปส์ หรือการศึกษาการเปรียบเทียบผลกระทบระหว่างไรสองชนิด ซึ่งเป็นไรปรสิตที่เข้าทำลายตัวอ่อนของผึ้งพันธุ์ในภาคเหนือของประเทศไทยอย่างจริงจัง งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองเพื่อสืบค้นการร่วมเข้าทำลายของไรทั้งสองชนิด รวมถึงการวิเคราะห์พลวัตประชากรของไรวาร์รัว เดสตรัคเตอร์ และไรทรอปปิเลแลสป์ เมอเซเดสซี เมื่อไรทั้งสองชนิดนี้เข้าทำลายผึ้งพันธุ์พร้อมกัน งานวิจัยนี้ได้เก็บข้อมูลแนวโน้มเปอร์เซ็นต์การเข้าทำลายของไรวาร์รัว เดสตรัคเตอร์ และไรทรอปปิเลแลสป์ เมอเซเดสซี ตลอดระยะเวลาการทดลองตั้งแต่เดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2554 จนถึงเดือน กันยายน ปี พ.ศ. 2555 ในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย จากตัวอย่าง 18,250 ตัวอ่อนผึ้งงานของผึ้งพันธุ์ที่ได้นำมาตรวจสอบนั้น จำนวน 970 ตัวอ่อนจากตัวอ่อนที่นำมาตรวจสอบทั้งหมดถูกไรเข้าทำลาย จากตัวอ่อนที่ถูกเข้าทำลายพบ 76% ถูกทรอปปิเลแลสป์ เมอเซเดสซีเข้าทำลาย และ 24% ถูกไรวาร์รัว เดสตรัคเตอร์เข้าทำลาย ผลการทดลองแสดงให้เห็นความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างปริมาณการระบาดของไรทั้งสองชนิด (F = 42.75, P<0.00001) และช่วงระยะเวลาของการทดลอง (F = 5.80, P<0.0001) ยังพบการเข้าทำลายของไรทั้งสองชนิดในตัวอ่อนผึ้งตัวเดียวนั้นน้อยมาก (<0.1%) นอกจากนั้นการทำลองนี้ยังพิสูจน์พบว่าสัดส่วนการสัมฤทธิ์ผลในการแพร่พันธุ์ของไรทรอปปิเลแลสป์ เมอเซเดสซี (70%) มากกว่าไรวาร์รัว เดสตรัคเตอร์ (50%) แม้ว่าข้อมูลการเข้ารุกรานของไรในผึ้งงานของผึ้งพันธุ์จะพบว่าไรทรอปปิเลแลสป์ เมอเซเดสซีเป็นไรปรสิตที่มีการรุกรานมากกว่า แต่ไรวาร์รัว เดสตรัคเตอร์กลับเป็นไรปรสิตชนิดที่มีการรุกรานมากกว่าในผึ้งตัวผู้ของผึ้งพันธุ์ ในขณะที่การทดลองวิเคราะห์ปริมาณการเข้าทำลายของไรทรอปปิเลแลสป์ เมอเซเดสซี ของผึ้งอาศัยดั้งเดิมหรือผึ้งหลวงนั้น ผลการทดลองไม่ได้แสดงให้เห็นว่าไรชนิดเลือกที่จะเข้าทำลายเพศใดเพศหนึ่งของผึ้งหลวงแต่อย่างใด ประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของไรวาร์รัว เดสตรัคเตอร์ และไรทรอปปิเลแลสป์ เมอเซเดสซี ภายใต้การทดลองในสภาวะตามธรรมชาติของดักแด้ผึ้งงานที่มีอายุมากแสดงผลความแตกต่างทางนัยสำคัญระหว่างไรทั้งสองชนิด (1.7 ± 0.1 และ 1.5 ± 0.1 ตัวอ่อนไรต่อแม่ของไร เรียงตามลำดับ) (t = 5.31, P<0.0001) ภายใต้การทดลองในที่ถูกควบคุม พบว่าการร่วมเข้าทำลายของไรทั้งสองชนิดในผึ้งงานผึ้งพันธุ์อาศัยเพียงตัวเดียว ประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของไรวาร์รัว เดสตรัคเตอร์ (2.2 ± 0.1) มีมากกว่าไรทรอปปิเลแลสป์ เมอเซเดสซี (1.5 ± 0.1) (t = 5.31, P<0.0001) ส่วนสัดส่วนการสัมฤทธิ์ผลการแพร่พันธุ์ระหว่างไรสองชนิด ภายใต้การทดลองในที่ถูกควบคุม พบว่าการร่วมเข้าทำลายของไรทั้งสองชนิดในผึ้งงานผึ้งพันธุ์อาศัยเพียงตัวเดียวนั้นเท่ากัน (z = 1.84, P<0.01) การทดลองการเข้าทำลายตัวอ่อนข้ามสายพันธุ์ของไรวาร์รัว โดยนำจากผึ้งโพรงไปเข้าทำลายผึ้งพันธุ์ และนำไรวาร์รัวจากผึ้งพันธุ์เข้าทำลายในผึ้งโพรง พบว่าไรวาร์รัว เดสตรัคเตอร์ K1 haplotype สามารถแพร่กระจายเผ่าพันธุ์ได้ในผึ้งงานของผึ้งโพรง (อัตราความแพร่หลาย 9%) เมื่อเปรียบเทียบกับในผึ้งงานของผึ้งพันธุ์พบอัตราความแพร่หลาย 45% จากจำนวนตัวอย่างผึ้งตัวผู้ของผึ้งพันธุ์ที่มีค่อนข้างน้อยในการทดลองยังคงพบว่าไรวาร์รัว เดสตรัคเตอร์ K1 haplotype สามารถแพร่กระจายเผ่าพันธุ์ในผึ้งตัวผู้ของผึ้งโพรงในอัตราที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับผึ้งตัวผู้ของผึ้งพันธุ์เช่นเดียวกัน ส่วนไรวาร์รัว จาคอบโซไน Northern Thai haplotype ไม่สามารถแพร่กระจายเผ่าพันธุ์ได้ในผึ้งงานของผึ้งพันธุ์แต่เข้าทำลายผึ้งงานของผึ้งโพรงได้ในอัตราที่ค่อนข้างน้อย คำสำคัญ: ไรวาร์รัว เดสตรัคเตอร์, ไรวาร์รัว จาคอบโซไน, ไรทรอปปิเลแลสป์ เมอเซเดสซี, ผึ้งหลวง, ผึ้งโพรง, ผึ้งพันธุ์, การแพร่ระบาด, การเพิ่มจำนวนตามฤดูกาล, การแพร่ระบาดของไร, ไรผึ้งen_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.88 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.