Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69271
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภัทรินี ไตรสถิตย์-
dc.contributor.advisorสุคนธ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี-
dc.contributor.advisorGonzague Jourdain-
dc.contributor.authorประกิต ริยะเทนen_US
dc.date.accessioned2020-08-03T07:52:09Z-
dc.date.available2020-08-03T07:52:09Z-
dc.date.issued2015-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69271-
dc.description.abstractThis study can be claimed as the first report in Thailand which studies about incidence of type 2 diabetes in HIV-1 infected adult patients. This study aimed to estimate an incidence and identify risk factors of diabetes in HIV infected adult patients treated with antiretroviral therapy (ART) in “Observational cohort of HIV infected adults in the PHPT network hospitals in Thailand” (PHPT Cohort) study between 1st January 2000 and 31st December 2011. Patients who experienced diabetes and received any ART before enrollment were excluded from the analysis.We estimated the incidence rate from the number of new onset of HIV-infected adults who had diabetes per Person-Year of Follow-Up (PYFU) and identify the risk factor of diabetes using Cox proportional hazard which included time-updated variables in the model. The variables considered for this analysis included (1) characteristics and laboratory measurement results at ART initiation (i.e. gender, age, body mass index (BMI), HIV RNA, hepatitis B surface antigen, hepatitis C antibody, triglyceride, total cholesterol and calendar year of enrollment), (2) ART regimen which HIV infected adults received at least 5%, and (3) time-updated variables (i.e. BMI, CD4, cumulative duration of ART exposure) considered at the clinical visit which there were the results of blood glucose. As ART regimen might be switched depend on diagnosis of physicians, we separated the analysis into 3 parts to assess the effect of ART on the occurrence of diabetes in HIV-infected adults. First part, we assessed risk factors of diabetes from study variables at ART initiation and time-updated included CD4 and BMI. Second part, we assessed risk factors of diabetes from ART regimen and cumulative duration of treatment which adjusted for the significant variables in the part one. Third part, we assessed the risk of diabetes from patients who received long-term Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTI) based first-line ART (at least 2 years). Of 1,594 HIV-infected adults included in the analysis, 1,218 (76%) patients were female. Median age at ART initiation was 32.5 years (Interquartile range; 28.2-37.7). The number of new cases of diabetes during the study was 53 cases and the total person-year was 10,507 PYFU. The incidence rate of diabetes was 5.0 per 1,000 PYFU which less than other studies in United States of America (47.0 per 1,000 PYFU), Italy (20.6), France (14.1), and Taiwan (13.1). In the first part of analysis, the results of multiple analysis showed that age and triglyceride at ART initiation and time-updated BMI were the risk factors of diabetes in HIV-infected adults. In the second part, after adjusted with age and triglyceride at ART initiation and time-updated BMI, we found that receiving didanosine (ddI) + stavudine (d4T) regimen or zidovudine (ZDV) + lamivudine (3TC) + efavirenz (EFV) regimen and cumulative duration of receiving ZDV at least 1 year were the risk factors of diabetes, while receiving tenofovir (TDF) + 3TC + EFV regimen and cumulative duration of receiving TDF or emtricitabine (FTC) at least 1 year were associated with a decreased risk of diabetes. In the third part, a total of 520 HIV infected patients who received first-line ART at least 2 years, including TDF containing regimen, ZDV containing regimen, d4T containing regimen, and ddI + d4T regimen. We found that patients who received ddI + d4T or ZDV containing regimen had significantly higher risk of diabetes than patients who received TDF containing regimen. The results implied the importance of screening and diagnosis of diabetes before ART initiation. For the patients who exposed risk factors of diabetes (elderly, high triglyceride and BMI), the treatment should be included TDF in the regimen to reduce risk of diabetes in HIV infected adults.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโรคเบาหวานชนิดที่ 2en_US
dc.subjectเอชไอวี-1en_US
dc.subjectยาต้านไวรัสen_US
dc.titleอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี-1 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeIncidence and risk factors of type 2 diabetes mellitus in HIV-1 infected adult patients treated with antiretroviral therapy in Thailanden_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc616.462-
thailis.controlvocab.thashเบาหวาน-
thailis.controlvocab.thashโรคเอดส์ -- ผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashผู้ติดเชื้อเอชไอวี-
thailis.controlvocab.thashสารต้านไวรัส-
thailis.controlvocab.thashโรคเกิดจากไวรัส -- การรักษาด้วยยา-
thailis.controlvocab.thashสารต้านการติดเชื้อ-
thailis.manuscript.callnumberว 616.462 ป17111อ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้กล่าวได้ว่าเป็นการศึกษาแรกในประเทศไทยที่ศึกษาอุบัติการณ์โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี วัตถุประสงค์เพื่อประเมินอัตราอุบัติการณ์และระบุปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในโครงการ “การติดตามสังเกตการณ์กลุ่มผู้ใหญ่ ที่ติดเชื้อเอชไอวีที่รับบริการในโรงพยาบาลเครือข่ายของ PHPT ในประเทศไทย” (PHPT Cohort) ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 โดยผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เคยมีประวัติการเป็นโรคเบาหวานและเคยได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีมาก่อนเข้าร่วมโครงการได้ถูกคัดออกจากการศึกษา การวิเคราะห์ ผลการศึกษา ทำการคำนวณอัตราอุบัติการณ์โรคเบาหวานจากจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ต่อจำนวนคน-ปี (Person-Year of Follow-Up: PYFU) ประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานโดยวิธี Cox proportional hazard ร่วมกับการพิจารณาตัวแปรที่เปลี่ยนไปตามเวลา (Time-updated variable) เข้าไปในตัวแบบและศึกษาร่วมกับ (1) ตัวแปร ณ วันที่เริ่มรับยาต้านไวรัส เช่น เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย ปริมาณ CD4 ปริมาณไวรัส การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด B การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด C ไตรกรีเซอไรด์ คลอเรสเตอรอลและปีที่เริ่มต้นรับยาต้านไวรัส (2) ตัวแปรสูตรยาต้านไวรัสที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับ พิจารณาจากสูตรยาต้านไวรัสที่อย่างน้อยร้อยละ 5 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับ (3) ตัวแปรที่เปลี่ยนไป ตามเวลา พิจารณาร่วมกับวันที่มีข้อมูลกลูโคสในกระแสเลือด ประกอบด้วย ดัชนีมวลกาย ปริมาณ CD4 และระยะเวลาสะสมในการรับยาต้านไวรัสในแต่ละชนิด การรับยาต้านไวรัสของผู้ติดเชื้อเอชไอวีอาจมีการเปลี่ยนสูตรยาขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ตามความจำเป็นของผู้ติดเชื้อเอชไอวีแต่ละคน ดังนั้นเพื่อให้สามารถศึกษาผลของการรับยาต้านไวรัสต่อ การเกิดโรคเบาหวานในผู้ติดเชื้อเอชไอวีจึงแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานที่มาจากปัจจัยพื้นฐาน โดยศึกษาจากตัวแปรต่างๆ ณ วันที่เริ่มต้นรับยา ต้านไวรัสและตัวแปรที่เปลี่ยนไปตามเวลา ได้แก่ ปริมาณ CD4 และดัชนีมวลกาย ส่วนที่ 2 การประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานที่มาจากการรับยาต้านไวรัส โดยศึกษาจากตัวแปรสูตรยาต้านไวรัส ที่ได้รับและตัวแปรที่เปลี่ยนไปตามเวลา ได้แก่ ระยะเวลาสะสมในการรับยาต้านไวรัสเมื่อควบคุมให้ ตัวแปรที่มีนัยสำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวานที่ได้จากการส่วนที่ 1 มีค่าคงที่ และส่วนที่ 3 การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มที่รับยา Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTI) ในสูตรแรกติดต่อกันเป็นเวลานาน (ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปี) ผลการศึกษาจากผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 1,594 คน เป็นเพศหญิง 1,218 คน (76%) มัธยฐานอายุ ณ วันที่เริ่มต้นรับยาต้านไวรัสเท่ากับ 32.5 ปี (ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์; 28.2 - 37.7) ในระหว่างการศึกษาพบผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ 53 คน คำนวณจำนวนคน-ปีได้ 10,507 คน-ปี อัตราอุบัติการณ์โรคเบาหวานเท่ากับ 5.0 ต่อ 1,000 คน-ปี ซึ่งมีค่าน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา (47 ต่อ 1,000 คน-ปี) อิตาลี (20.6) ฝรั่งเศส (14.1) และไต้หวัน (13.1) ผลการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในส่วนที่ 1 จากการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงพหุ พบว่า อายุ ไตรกรีเซอไรด์ ณ วันที่เริ่มต้นรับยาต้านไวรัสและตัวแปรที่เปลี่ยนไปตามเวลา ได้แก่ ดัชนีมวลกาย เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานโดยผลการศึกษาที่ได้ในส่วนที่ 1 ถูกนำมาศึกษาต่อในการวิเคราะห์ส่วนที่ 2 ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่าเมื่อควบคุมให้ตัวแปรอายุ ไตรกรีเซอไรด์และดัชนีมวลกาย (ตัวแปรที่เปลี่ยนไปตามเวลา) มีค่าคงที่ การรับสูตรยา didanosine (ddI) + stavudine (d4T) หรือ zidovudine (ZDV) + lamivudine (3TC) + efavirenz (EFV) และตัวแปรที่เปลี่ยนไปตามเวลา คือ ระยะเวลาสะสมในการรับยา ZDV ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ในขณะที่การรับสูตรยา tenofovir (TDF) + 3TC + EFV และตัวแปรที่เปลี่ยนไปตามเวลา คือ ระยะเวลาสะสมในการรับยา TDF หรือ emtricitabine (FTC) ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้ และส่วนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รับยากลุ่ม NRTI ในสูตรแรกติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปีจำนวน 520 คน จำแนกเป็น กลุ่มที่รับสูตรยาที่มี TDF เป็นส่วนประกอบ กลุ่มที่รับสูตรยาที่มี ZDV เป็นส่วนประกอบ กลุ่มที่รับสูตรยาที่มี d4T เป็นส่วนประกอบและกลุ่มที่รับยาสูตรยา ddI + d4T ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่รับสูตรยา ddI + d4T หรือกลุ่มที่รับสูตรยาที่มี ZDV เป็นส่วนประกอบในสูตรแรกติดต่อกัน อย่างน้อย 2 ปี มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานสูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับสูตรยาที่มี TDF เป็นส่วนประกอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยง ที่จะเป็นโรคเบาหวานก่อนการเริ่มรับยาต้านไวรัส หากพบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน (เช่น มีอายุมาก มีค่าไตรกรีเซอไรด์หรือดัชนีมวลกายสูง) การพิจารณาสูตรยาต้านไวรัส ควรเลือกใช้สูตรยาที่มี TDF เป็นส่วนประกอบจะสามารถลดวามเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้มากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับสูตรยาที่มี TDF เป็นส่วนประกอบen_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf5.14 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.